ฮวนเกี๋ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮวนเกี๋ยน (ฝาน เจี้ยน)
樊建
ขุนนางกรมวัง (給事中 จี่ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 หรือภายหลัง (263 หรือภายหลัง) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
ทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 หรือภายหลัง (263 หรือภายหลัง) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
ที่ปรึกษาการทหารของอัครมหาเสนาบดี
(相國參軍 เซียงกั๋วชานจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 หรือภายหลัง (263 หรือภายหลัง) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครเจ่าหยาง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองฉางยฺเหวียน (長元)

ฮวนเกี๋ยน[a], อ้วนเคียน[b], อวนเกี๋ยน[c], อ้วนเกี๋ยน[d] หรือ ฮวนเกี้ยน[e] (มีบทบาทในช่วงทศวรรษ 250 – ค.ศ.263) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ฝาน เจี้ยน (จีน: 樊建; พินอิน: Fán Jiàn) ชื่อรอง ฉางยฺเหวียน (จีน: 長元; พินอิน: Chángyuán) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในช่วงปลายยุคสามก๊กของจีน ฮวนเกี๋ยนรับราชการต่อมาในฐานะขุนนางของรัฐวุยก๊กซึ่งพิชิตจ๊กก๊กได้ในปี ค.ศ. 263

ประวัติ[แก้]

ฮวนเกี๋ยนเป็นชาวเมืองงีหยง (義陽郡 อี้หยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณนครเจ่าหยาง มณฑลหูเป่ย์ ฮวนเกี๋ยนรับราชการเป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักจ๊กก๊กคือขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) ฮวนเกี๋ยนเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของราชสำนักจ๊กก๊กในทศวรรษ 250 และ 260 ร่วมกับจูกัดเจี๋ยมและตังควด ฮวนเกี๋ยนพยายามจะยับยั้งอิทธิพลของฮุยโฮขันทีในวังซึ่งเล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กทรงโปรดแต่ไม่สำเร็จ หลังจ๊กก๊กล่มสลายในปี ค.ศ. 263 ฮวนเกี๋ยนรับราชการต่อมากับวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก และเดินทางไปยังลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊ก ฮวนเกี๋ยนเริ่มราชการเป็นที่ปรึกษาการทหารของอัครมหาเสนาบดี (相國參軍 เซียงกั๋วชานจฺวิน) และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติมเป็นทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ) ราชสำนักวุยก๊กส่งฮวนเกี๋ยนกลับไปยังดินแดนจ๊กก๊กเดิมเพื่อปลอบโยนราษฎร ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นขุนนางกรมวัง (給事中 จี่ชื่อจง)

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 87[1]
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 67[2]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70[3]
  4. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 75[4] และตอนที่ 77[5]
  5. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ("ครั้นอยู่ประมาณสองวันพอกาอุ้นยกกองทัพมาถึง ก็ปราบปรามอาณาประชาราษฎรทั้งปวงให้สงบเปนปรกติแล้ว ก็ตั้งให้อุยก๋วนเปนใหญ่รักษาเมืองเสฉวนอยู่ จึงเอาตัวพระเจ้าเล่าเสี้ยนกับฮวนเกี๋ยนเตียวเสียวเจียวจิ๋วขับเจ้งห้าคนนี้ไปเมืองวุยก๊ก") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.
  2. ("แล้วขงเบ้งก็พาจูล่งเข้าไปถวายบังคมลาพระเจ้าเล่าเสี้ยน แล้วออกไปจัดกองทัพอยู่นอกเมือง จึงตั้งให้จูล่งอุยเอี๋ยนสองคนเปนนายกองทัพ อองเป๋งกับเตียวเอ๊กคุมทหารเปนปีกซ้ายขวา เจียวอ้วนคุมทหารเปนสารวัดตรวจตรา ปีฮุยต๋งเคียด อ้วนเคียนสามคนนี้เปนที่ปรึกษา แลทหารในกองทัพห้าสิบหมื่น") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.
  3. ("แล้วขงเบ้งก็ถวายบังคมลามาที่อยู่ จึงจัดแจงนายทหารสามสิบคน อุยเอี๋ยน เตียวเอ๊ก อองเป๋ง ลิอิ๋น ลิหงี ม้าต้าย เลียวฮัว ม้าตง เตียวหงี เล่าตำ เปงจี๋ ม้าเจ๊ก อ้วนหลิม งออี้ โกเสียง งอปัน เอียวหงี เล่าเป๋า เคาอิ้น เตงหำ เล่าปิ้น กัวหยง ออจี้ เงี้ยมอ้าน เหียนสิบ ตอหงี ตอกี๋ เซงฮู ฮวนกี๋ อวนเกี๋ยน ตังควด กวนหิน เตียวเปา จะยกไปตีเมืองฮูโต๋") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.
  4. ("ครั้นอยู่มาสองวันขงเบ้งจึงให้หาตังควดกับอ้วนเกี๋ยนสองคนเข้ามาบอกว่า บัดนี้เราป่วยหนักจะว่ากล่าวบังคับกิจการสืบไปมิได้ เราจะเลิกทัพกลับไปเมืองเสฉวนเถิด แต่ทว่าอย่าให้เอิกเกริกไป รู้ถึงสุมาอี้จะยกทหารติดตามเราจะไปมิสดวก ท่านจงบอกทหารทั้งปวงให้ตระเตรียมตัวให้พร้อม สั่งแล้วเวลาคํ่าก็ให้ทหารเลิกทัพลอดลัดมาเมืองฮันต๋ง") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.
  5. ("อ้วนเกี๋ยนจึงถามว่า เหตุใดท่านจึงรู้ว่าแต้บุ๋นทำกลอุบายมาลวงท่าน") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.
  6. ("โหรคนหนึ่งชื่อว่าฮวนเกี้ยนจึงว่า ท่านยกทัพไปครั้งก่อนได้ชัยชนะมีเกียรติยศปรากฎไว้ ทหารวุยก๊กเกรงกลัวได้เปนศักดิ์ศรีแก่เมืองเสฉวนอยู่แล้ว ท่านจะยกไปอีกครั้งนี้ถ้าเพลี่ยงพลํ้าเสียทีก็จะพลอยให้เกียรติยศครั้งก่อนนั้นเสียไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.

บรรณานุกรม[แก้]