กง ลู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กง ลู่
龔祿
เจ้าเมืองอวดจุ้น
(越嶲太守 เยฺว่ซี/เยฺว่ฉุ่ยไท่โฉฺ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
225
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 195[1]
นครหนานชง มณฑลเสฉวน
เสียชีวิตค.ศ. 225 (30 ปี)[1]
ภาคใต้ของมณฑลเสฉวน
บุพการี
  • กง เฉิน (บิดา)
ญาติกง เหิง (น้องชาย)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเต๋อซฺวี่ (德緒)

กง ลู่ (ค.ศ. 195–225; จีน: 龔祿; พินอิน: Gōng Lù) ชื่อรอง เต๋อซฺวี่ (จีน: 德緒; พินอิน: Déxù) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2]

ประวัติ[แก้]

กง ลู่เป็นชาวอำเภออานฮ่าน (安漢縣 อานฮ่านเซี่ยน) เมืองปาเส (巴西郡 ปาซีจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครหนานชง มณฑลเสฉวน[3] บิดาชื่อกง เฉิน (龔諶) รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง (功曹 กงเฉา) ในเมืองปาเส ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 211 ถึง ค.ศ. 214[4] ขุนศึกเล่าปี่โจมตีมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เพื่อจะยึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋วจากเล่าเจี้ยงผู้เป็นเจ้ามณฑล ในช่วงเวลานั้น กง เฉินยอมจำนนต่อเตียวหุยขุนศึกของเล่าปี่และช่วยเหลือเตียวหุยในการยึดเมืองปาเสให้กับเล่าปี่[5][6]

ในปี ค.ศ. 214[7] หลังจากเล่าปี่ยึดมณฑลเอ๊กจิ๋วได้สำเร็จและกลายเป็นเจ้ามณฑล ได้แต่งตั้งให้กง เฉินผู้บิดาของกง ลู่ให้เป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉฺ่ว) ของเมืองเฉียนเว่ย์ (犍為郡 เฉียนเว่ย์จฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครเหมย์ชาน มณฑลเสฉวน)[8] ในขณะเดียวกันก็แต่งตั้งให้กง ลู่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事 ฉงชื่อ) และขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง) ในเมืองปากุ๋น[9][6]

เมื่อกง ลู่ย้ายไปยังเมืองปากุ๋น กง ลู่พร้อมด้วยบัณฑิตอีกคนชื่อเหยา โจฺ้ว (姚伷) ก็ขึ้นมามีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม ทั้งยังมีตำแหน่งและเบี้ยหวัดสูง แต่ทั้งคู่ก็ชื่นชมเตียวหงีซึ่งมีสถานะต่ำกว่าตนเพราะนับถือความสามารถของเตียวหงี และทั้งคู่ก็กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของเตียวหงี[10]

ในปี ค.ศ. 225 กง ลู่ขึ้นเป็นเจ้าเมืองอวดจุ้น (越巂郡 เยฺว่ซีจฺวิ้น/เยฺว่ฉุ่ยจฺวิ้น; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้นครซีชาง มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) ในปีเดียวกัน กง ลู่เข้าร่วมกับจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กในการทัพปราบกบฏและชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ในภูมิภาคหนานจงทางใต้ของจ๊กก๊ก กง ลู่ถูกสังหารในที่รบขณะอายุ 31 ปี (โดยการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1][2]

น้องชายของกง ลู่ชื่อกง เหิง (龔衡) รับราชการเป็นนายทหารของจ๊กก๊ก[11]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 (建興三年,為越嶲太守,隨丞相亮南征,為蠻夷所害,時年三十一。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  2. 2.0 2.1 de Crespigny (2007), p. 264.
  3. ([龔]德緒名祿,巴西安漢人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  4. Sima (1084), vols. 66-67.
  5. (巴西功曹龔諆[諶?]迎[張]飛。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 5.
  6. 6.0 6.1 de Crespigny (2007), pp. 263–264.
  7. Sima (1084), vol. 66.
  8. (越嶲太守龔祿字徳緒,安漢人,父諶,犍為太守,見巴紀。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 12.
  9. (先主定益州,為郡從事牙門將。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  10. (時郡內士人龔祿、姚伷位二千石,當世有聲名,皆與嶷友善。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 43.
  11. (弟衡,景耀中為領軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.

บรรณานุกรม[แก้]

  • ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
  • ฉาง ฉฺวี (ศตวรรษที่ 4). พงศาวดารหฺวาหยาง (หฺวาหยางกั๋วจื้อ).
  • เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
  • ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.