เคาจู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคาจู (สฺวี่ ฉือ)
許慈
จางวางวังจักรพรรดินี (大長秋 ต้าฉางชิง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุตรสฺวี่ ซฺวิน
อาชีพขุนนาง, บัณฑิต
ชื่อรองเหรินตู่ (仁篤)

เคาจู[1] (มีบทบาทในช่วงศตวรรษที่ 3) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า สฺวี่ ฉือ (จีน: 許慈; พินอิน: Xǔ Cí) ชื่อรอง เหรินตู่ (จีน: 仁篤; พินอิน: Réndǔ) เป็นขุนนางและบัณฑิตของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2][3]

ประวัติ[แก้]

เคาจูเป็นชาวเมืองลำหยง (南陽郡 หนานหยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณนครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน เคาจู้เกิดในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและศึกษาเล่าเรียนกับหลิว ซี (劉熈) เคาจูเชี่ยวชาญเรื่องคำสอนของเต้เหี้ยนบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ, คัมภีร์อี้จิง, ชูจิง, อี๋หลี่, หลี่จิง, โจวหลี่, เหมาชือจว้าน และหลุน-ยฺหวี่ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 196 และ ค.ศ. 220 เคาจูได้พบกับเคาเจ้งและคนอื่น ๆ ในมณฑลเกาจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลกวางตุ้ง และตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และภายหลังก็ติดตามพวกเขาไปยังมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน)[4]

คำวิจารณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ("ขงเบ้งจึงใช้ให้เคาจูเบงกองไปปลูกโรงอภิเษกสำเร็จแล้ว ก็เตรียมเครื่องอภิเษกทั้งปวงตามอย่างกษัตริย์") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 9, 2023.
  2. de Crespigny (2007), p. 902.
  3. Farmer, J. Michael. The Talent of Shu: Qiao Zhou and the Intellectual World of Earl Medieval Sichuan (ภาษาอังกฤษ). Albany: State University of New York Press. p. 26. ISBN 978-0-7914-7163-0.
  4. (許慈字仁篤,南陽人也。師事劉熈,善鄭氏學,治易、尚書、三禮、毛詩、論語。建安中,與許靖等俱自交州入蜀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.

บรรณานุกรม[แก้]