อำเภอสมเด็จ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสมเด็จ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Somdet
คำขวัญ: 
สมเด็จนามมงคล งามเลิศล้นแก่งพฤๅชัย
น้ำตกใสแก้งกะอาม ธรรมชาติงามลำถ้ำผาลี่
ฝีมือดีคือเนื้อทุบ งามเหวหุบผาเสวย น่าชมเชยหมอลำซิ่ง
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอสมเด็จ
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอสมเด็จ
พิกัด: 16°42′16″N 103°45′0″E / 16.70444°N 103.75000°E / 16.70444; 103.75000
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด454.1 ตร.กม. (175.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด61,841 คน
 • ความหนาแน่น136.18 คน/ตร.กม. (352.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46150
รหัสภูมิศาสตร์4613
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสมเด็จ ถนนถีนานนท์ ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สมเด็จ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอสหัสขันธ์ทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอสหัสขันธ์ในวันที่ 11 สิงหาคม 2507[1] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512[2]

ประวัติ

ในรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระยามหาอำมาตย์(ป้อม)และพระมหาสงคราม ไปตั้งกองอยู่เมืองนครพนม ให้ข้ามไปเกลี้ยกล่อมญาติพี่น้องแถบเมืองมหาไชย เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ได้ผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง โดยครัวพระคำแดงจำนวน ๙๓๓คน มาตั้งหมู่บ้านบึงกระดาน ในปีพ.ศ.๒๓๗๙ รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกหมู่บ้านบึงกระดาน ขึ้นเป็นเมืองแซงบาดาล

ในปีพ.ศ.๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๕ ได้ยกเลิกตำแหน่งระบบการปกครองเดิม โดยพระศรสุวรรณ(โคตร)ได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง(๒๔๔๒)

ในปี ๒๔๔๙จึงเริ่มมีอำเภอเกิดขึ้นอำเภอแซงบาดาล มีขุนบาดาล นิคมเขต(ฮวด)เป็นนายอำเภอ

ต่อมาทางราชการเห็นว่าอำเภอแซงบาดาลมีประชากรน้อย จึงยุบอำเภอแซงบาดาล และโอนตำบลทั้งหมดในอำเภอแซงบาดาลเดิมไปขึ้นกับอำเภอสหัสขันธ์

เมื่อปี พ.ศ. 2485 สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสโส) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสน์ จังหวัดพระนคร ประธานสังฆมนตรีฝ่ายธรรมยุติ ได้จาริกมาตรวจเยี่ยม กิจการคณะสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากอำเภอสหัสขันธ์ เพื่อไป อำเภอกฉินารายณ์ ได้มาหยุดฉันภัตตราหารเพลที่ " บ้านหนองกุง " ได้พิจารณาเห็นภูมิประเทศและทราบนโยบายของทางราชการว่า จะมีการตัดถนนจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปจังหวัดสกลนคร ซึ่งเส้นทางดังกล่าวจะมาตัดกันเป็นสี่แพร่งในเขตหมู่บ้านหนองกุงและได้ให้ความเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้ต่อไปจะเจริญรุ่งเรืองเป็นบ้านเมืองในอนาคตจึงได้ประทานนามเมืองหนองกุงเสียใหม่ว่า " บ้านหนองกุงสมเด็จ " ตามสมณศักดิ์ของท่าน

ในปี พ.ศ. 2490 - 2492 ได้มีการสำรวจ เส้นทางที่ตัดถนนจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ไป จังหวัดสกลนคร และมีกรเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเส้นทางสายจาก อำเภอสหัสขันธ์ ไปอำเภอกุฉินารายณ์ เสียใหม่ในบางตอนที่ยังคดเคี้ยวให้เหมาะสมและสะดวกยิ่งขึ้น จึงเกิดเป็นทางสี่แพร่ง(สี่แยก) ขึ้น ผู้ควบคุมงานบุกเบิกทางได้มาตั้งที่พักแรมอยู่บริเวณทางสี่แพร่ง เพื่อสะดวก แก่การแบ่งคนไปทำงานตามเส้นทางต่างๆ จากนั้นก็มีผู้อพยพครอบครัวย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะชาวร้อยเอ็ดมารวมตัวกันตั้งบ้านเรือนอยู่จึงเรียกว่า " คุ้มร้อยเอ็ด " พื้นที่ทางสี่แพร่งตัดกันขึ้นอยู่กับ บ้านหนองแวง ทางราชการเรียกว่า " บ้านสี่แยกหนองแวง " ตั้งแต่ ขอตั้งเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกว่า " บ้านสี่แยก "

ในปี พ.ศ. 2495 บ้านสี่่แยกหนองแวง มีผู้อพยพเข้ามาอยู่แน่นหนามากขึ้น สมควรตั้งเป็นหมู่บ้านได้ ทางราชการจึงได้ขอแยกบ้านสี่แยกหนองแวง ออกจาก บ้านหนองแวง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เรียกว่า " บ้านสี่แยก " ขึ้นตรงต่อตำบลหมูม่น อำเภอสหัสขันธ์

จนถึง พ.ศ. 2496 ขุนศรีราชาชสุรากร นายอำเภอสหัสขันธ์ ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ตำบลหมูม่น มีอาณาเขตกว้างขวางมากสมควร แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลหมูม่น และ ตำบลสมเด็จ โดยใช้นามที่สมเด็จมหาวีระวงศ์

ในเวลาต่อมามีประชาชนอพยพมาจากแหล่งอื่น เข้ามาอาศัยทำมาหากินในพื้นที่แห่งนี้เป็นจำนวนมากทั้งคนไทยและคนต่างด้าว และมีอาคารร้านค้ามากขึ้นจึงได้ตั้งเป็นสุขภิบาล ในปี พ.ศ. 2504 เรียกว่า " สุขาภิบาลสี่แยก " และเนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้มีความหนาแน่นมากขึ้นอย่างรวดเร็วเชื่อว่าจะเจริญต่อไปได้ในภายภาคหน้าทางราชการจึงได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอขึ้น กระทรวงมหาดไทย จึงประกาศแยกตำบลสมเด็จ ตำบลหมูม่น ตำบลแซงบาดาล ออกจากอำเภอสหัสขันธ์ และยกฐานะขึ้นเป็น " กิ่งอำเภอสมเด็จ " เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2507 อยู่ในความปกครองของอำเภอสหัสขันธ์ โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่บ้านสี่แยก ตำบลสมเด็จ

ปี พ.ศ. 2512 ทางราชการพิจารณา เห็นว่า " กิ่งอำเภอสมเด็จ " มีความเจริญและมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยทำมาหากินมากขึ้น สมควรยกฐานะเป็นอำเภอได้จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยมีพระสมเด็ดจมหาวีระวงศ์ ( พิมมพ์ ธัมมธโธ ) เจ้าอาวาสวัดพระ ศรีธาตุ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ขณะนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดและเจิมป้ายอำเภอ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสมเด็จตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสมเด็จแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 94 หมู่บ้าน

1. สมเด็จ (Somdet) 10 หมู่บ้าน 5. หมูม่น (Mu Mon) 11 หมู่บ้าน
2. หนองแวง (Nong Waeng) 16 หมู่บ้าน 6. ผาเสวย (Pha Sawoei) 11 หมู่บ้าน
3. แซงบาดาล (Saeng Badan) 15 หมู่บ้าน 7. ศรีสมเด็จ (Si Somdet) 8 หมู่บ้าน
4. มหาไชย (Maha Chai) 10 หมู่บ้าน 8. ลำห้วยหลัว (Lam Huai Lua) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสมเด็จประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสมเด็จ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสมเด็จ
  • เทศบาลตำบลลำห้วยหลัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำห้วยหลัวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลมหาไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาไชยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลผาเสวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาเสวยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแซงบาดาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแซงบาดาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมเด็จ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมูม่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสมเด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสมเด็จทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • น้ำตกแก้งกะอาม บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเส้นทางกาฬสินธุ์-สกลนครทางหลวงหมายเลข 213 ประมาณ 55 กม. มีทางลูกรังแยกซ้ายไปอีก 300 เมตร มีแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว มีลานหินกว้างเหมาะแก่การพักผ่อน เป็นน้ำตกที่กำลังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ทางหลวงแผ่นดิน
  • ผาเสวย อยู่บนเทือกเขาภูพาน เขตบ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17 กม. หรืออยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 58 กม. เส้นทางสายสมเด็จ-สกลนคร เดิมชาวบ้านเรียกว่า "ผารังแร้ง" เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จผ่าน และเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับนั้นว่า "ผาเสวย" ลักษณะตั้งอยู่บนเหวลึก หน้าผาสูงชันชาวบ้านเรียกว่า "เหวหำหด" บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพและเป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี และมีอีกสาม แห่งคือผาลี้อยู่ในตำบลมหาชัยลักษนะเหมือนแ กร์นแคนยอนย่อสว่นและอีกที้คือแก่งพฤชัยลักษณอางเก็บน้ำขนาดใหญ่มีน้ำตลอดปีสวยงามมากและที้สุดท้ายที่จะแนะนำคืออางเก็บน้ำหว้ยสังเคียบลักษณะเป็นอางเก็บนำขนาดใหญ่มีภูเขาล้อมลอบมีบริการอาหารเครื่องดื่มแต่ละร้านจะมีแพไม้ไผ่ใว้บริการราคาอาหารไม่แพงและตรงกลางแม่น้ำมีพระพุทธรูปและมีสพานข้ามไปกลาบไหว้และในเกาะกลางน้ำที้มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่เขาจะแกะรูปปั่นเจ้าเมืองต่างๆๆในจังหวัดกาฬสินธ์หนาไปสักการะอย่างยิ่ง

การศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม
  • โรงเรียนเมืองสมเด็จ
  • โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ
  • โรงเรียนบ้านหนองบัวโดน"วรนาถรประชานุกูล"
  • โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์
  • โรงเรียนเอกปัญญา
  • วิทยาลัยสมเด็จเทคโนโลยีพานิชยการ
  • โรงเรียนคุรุมิตรประสิทธิ์ศิลป์
  • โรงเรียนบ้านโนนสะอาด
  • โรงเรียนชุมชนบ้านบอนวิทยา

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่การปกครองอำเภอสหัสขันธ์ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (74 ง): 2102. August 11, 1964. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอสมเด็จ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแท่น อำเภอดอนตูม อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอป่าติ้ว พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (16 ก): 225–228. February 25, 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.