ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอสามชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสามชัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sam Chai
คำขวัญ: 
ลำพันชาดล้ำค่า แพรวาขึ้นชื่อ เลื่องลือลำปาว
ตำนานยาวสันถ้วยแตก แมกไม้ภูพาน ผักหวานด่านเม็ก
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอสามชัย
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอสามชัย
พิกัด: 16°51′48″N 103°32′18″E / 16.86333°N 103.53833°E / 16.86333; 103.53833
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด550.853 ตร.กม. (212.686 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด25,421 คน
 • ความหนาแน่น46.15 คน/ตร.กม. (119.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46180
รหัสภูมิศาสตร์4615
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสามชัย หมู่ที่ 4 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สามชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอสหัสขันธ์ทั้งหมด ก่อนที่จะย้ายมาขึ้นกับอำเภอคำม่วงในปี พ.ศ. 2515[1][2] ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอคำม่วง[3] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 8 กันยายน 2550[4]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ที่มาของชื่ออำเภอสามชัยมาจากการที่บริเวณที่ตั้งของอำเภอเป็นทางสามแยก ในอดีตมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้นในบริเวณทางสามแยก ผลการปะทะมีผู้เสียชีวิตหลายราย ชาวบ้านจึงเรียกว่า "สามแยกอันตราย" และต่อมามีชาวบ้านไปตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและเรียกกันว่าบ้านสามแยก และชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สามแยก" ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อใหม่เป็น "สามชัย"ในการจัดตั้งชื่อกิ่งอำเภอ เพื่อความเป็นชื่อที่เป็นสิริมงคลในปัจจุบัน[5]

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอสามชัยเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอคำม่วง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาโดยตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามชัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[3] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสามชัย ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอสามชัยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอสามชัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สำราญ (Samran) 12 หมู่บ้าน
2. สำราญใต้ (Samran Tai) 20 หมู่บ้าน
3. คำสร้างเที่ยง (Kham Sang Thiang) 7 หมู่บ้าน
4. หนองช้าง (Nong Chang) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอสามชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำราญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำราญใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำราญใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำสร้างเที่ยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำสร้างเที่ยงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองช้างทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคำม่วง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (144 ง): (ฉบับพิเศษ) 5. September 28, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. September 8, 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสามชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 54. March 22, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  5. ประวัติอำเภอ จากเว็บไซต์สำนักงานเกษตรอำเภอสามชัย