จังหวัดขุขันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดขุขันธ์
จังหวัด
พ.ศ. 2306 – 2481
ยุคทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์
• ยกขึ้นเป็นเมือง
พ.ศ. 2306
• เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด
พ.ศ. 2459
• เปลี่ยนชื่อ
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
ถัดไป
จังหวัดศรีสะเกษ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

เมืองขุขันธ์ ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นอำเภอต่าง ๆ หลายอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน โดยก่อนปี พ.ศ 2481 ใช้นามว่า อำเภอห้วยเหนือ ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์

ในปี พ.ศ. 2306 ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตรงกับรัชสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศหรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น เมืองขุขันธ์ ให้มีเจ้าเมืองปกครอง มาจนถึงปลายปี พ.ศ. 2449 ได้มีการย้ายที่ทำการศาลากลางเมืองขุขันธ์ไปตั้งอยู่ที่อำเภอกลางศรีสะเกษ และยังคงใช้นามว่า ศาลากลางเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2459 เมืองขุขันธ์ จึงมีนามว่า จังหวัดขุขันธ์ พ.ศ. 2481 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนาม จังหวัดขุขันธ์ เป็นนามจังหวัดศรีสะเกษ ประกาศในราชกิจานุเบกษาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เล่มที่ 55 หน้า 658

เขตการปกครอง[แก้]

เขตการปกครองของจังหวัดขุขันธ์ในอดีตมี 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ซึ่งรายชื่อดังต่อไปนี้สะกดชื่อตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2456[1] และ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ได้แก่[2]

ลำดับ ชื่อเมือง พื้นที่โดยประมาณ (ตร.กม.)
1 อำเภอเมืองขุขันธ์ (อำเภอห้วยเหนือ) 2,888.684
2 อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ (อำเภอกลางศีร์ษะเกษ, อำเภอศีร์ษะเกษ) 1,288.27
3 อำเภอราษีไสล (อำเภอคง) 636.7
4 อำเภอกันทรารักษ์ (อำเภอน้ำอ้อม) 2,027.684
5 กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (กิ่งอำเภอโพนงาม) 1,402.0
6 อำเภออุทุมพรพิไสย (อำเภอปจิมศีร์ษะเกษ) 859.012
7 อำเภอกันทรารมย์ (อำเภออุไทยศีร์ษะเกษ) 1,178.853
8 อำเภอเดชอุดม 3,576.375

รวมจังหวัดขุขันธ์มีพื้นที่ประมาณ 13,857.578 ตร.กม.

อ้างอิง[แก้]

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). Royal Gazette. 30 (0 ง): 1536–1537. 12 ตุลาคม 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2016-06-14.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 34–63. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]