อองก๋วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อองก๋วน (หวาง กวาน)
王觀
เสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง)
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม ค.ศ. 260 (260) – พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 260 (260)
กษัตริย์โจฮวน
ก่อนหน้าอองซอง
ถัดไปหวาง เสียง
รองหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการฝ่ายซ้าย
(尚書左僕射 ช่างชูจั่วผูเช่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 254 (254) – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 260 (260)
กษัตริย์โจมอ
ที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก
(光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 254 (254) – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 260 (260)
กษัตริย์โจมอ
นายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. 254 (254)
กษัตริย์โจฮอง
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. 254 (254)
กษัตริย์โจฮอง
เสนาบดีกรมราชรถ (太僕 ไท่ผู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 249 (249)
กษัตริย์โจฮอง
เสนาบดีกรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 239 (239)
กษัตริย์โจยอย
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจยอย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอ-ยฺวิ่นเฉิง มณฑลชานตง
เสียชีวิตพฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 260[1]
บุตรหวาง คุย (王悝)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเหว่ย์ไถ (偉臺)
สมัญญานามซู่โหว (肅侯)
บรรดาศักดิ์หยางเซียงโหว (陽鄉侯)

อองก๋วน (เสียชีวิต พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 260)[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง กวาน (จีน: 王觀; พินอิน: Wáng Guān) ชื่อรอง เหว่ย์ไถ (จีน: 偉臺; พินอิน: Wěitái) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เริ่มชีวิตในฐานะเด็กกำพร้าผู้สร้างชื่อเสียงให้ตนเองในฐานะข้าราชการท้องถิ่นผู้ซื่อสัตย์ ต่อมากลายเป็นพรรคพวกของตระกูลสุมาในการยึดอำนาจจากตระกูลโจและขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด แม้ว่าอองก๋วนได้ลาออกจากราชการภายหลังเหตุการณ์ที่จักรพรรดิโจมอถูกปลงพระชนม์[2][3]

ประวัติช่วงต้น[แก้]

อองก๋วนเป็นชาวอำเภอหลิ่นชิว (廩丘) ในเมืองตองกุ๋น (東郡 ตงจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลชานตงในปัจจุบัน อองก๋วนกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุยังน้อย และเติบโตมาด้วยฐานะยากจน[4] แต่ก็กลายมาเป็นผู้มีพลังและทะเยอทะยาน[5][3]

ในปี ค.ศ. 210[3] โจโฉผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีเรียกตัวอองก๋วนมารับราชการเป็นผู้ช่วยเขียนในสำนักของอัครมหาเสนาบดี ภายหลังอองก๋วนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ (縣令 เซี่ยนลิ่ง) ของอำเภอเกาถาง (高唐), หยางเฉฺวียน (陽泉), จ้าน () และเริ่น () อองก๋วนได้รับการยกย่องว่าปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดีในแต่ละตำแหน่งที่ได้รับ[6]

การรับราชการกับจักรพรรดิวุยก๊ก[แก้]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 220 โจโฉเสียชีวิต โจผีบุตรชายคนโตสุดที่ยังมีชีวิตอยู่ของโจโฉได้สืบทอดตำแหน่งของโจโฉ [7][8] และในวันที่ 11 ธันวาคม พระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกทรงสละราชบัลลังก์ โจผีขึ้นเป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งของราชวงศ์วุย[8] อองก๋วนถูกเรียกตัวไปยังนครหลวงเงียบกุ๋น (鄴 เย่) เพื่อมารับตำแหน่งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง)[9] ต่อมามีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักตุลาการ (廷尉監 ถิงเว่ย์เจียน) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองลำหยง (南陽 หนานหยาง) และเมืองตุ้นก้วน (涿 จัว)[10] ที่เมืองตุ้นก้วนมีปัญหาพิเศษเกี่ยวกับการจู่โจมจากชนเผ่าเซียนเปย์ที่อยู่ใกล้เคียง อองก๋วนจึงมีคำสั่งให้ตระกูลใหญ่รวมกลุ่มกันเป็นกองทหารรักษาการณ์และสร้างป้อมปราการ ขณะเดียวกันอองก๋วนก็ส่งหนังสือไปยังราชสำนักขอให้ช่วยส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะกระตือรือร้นทำตามคำสั่งของอองก๋วน แต่อองก๋วนก็ไม่กำหนดเวลาเส้นตาย และเพราะไม่มีแรงกดดัน ผู้คนจึงร่วมมือกันสร้างกำแพงเสร็จอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าทันทีที่สร้างเสร็จ การจู่โจมจากชนเผ่าเซียนเปย์ก็ยุติลง[11]

โจผีสวรรคตในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 226 พระโอรสโจยอยได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิในวันเดียวกันนั้น[12][8] โจยอยมีรับสั่งให้จัดระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ความไม่สงบในแต่ละเมือง[13] พื้นที่ที่ถูกระบุว่ามีสถานการณ์ที่ร้ายแรงจะทำให้ความต้องการแรงงานและภาษีจากพื้นที่นั้น ๆ ลดลง[14] แต่หัวหน้าของพื้นที่นั้น ๆ จะต้องส่งสมาชิกครอบครัวมาเป็นตัวประกันเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน[15] เจ้าหน้าที่ต้องการกำหนดให้ตุ้นก้วนเป็นเมืองที่มีระดับความรุนแรงของสถานการณ์ต่ำ[16] เพราะอองก๋วนมีบุตรชายเพียงคนเดียวซึ่งยังอยู่ในวัยเด็ก แต่อองก๋วนปฏิเสธ[14] และส่งบุตรชายของตนไปเป็นตัวประกัน[17]

ในระหว่างการเสด็จเยือนฮูโต๋ของโจยอยครั้งหนึ่ง[12] อองก๋วนถูกเรียกตัวมายังนครหลง มารับราชการในฝ่ายตรวจการโดยมีอำนาจคุมเรือนจำ[18] เวลานั้นแม้ว่าโจยอยทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น แต่อองก๋วนก็ไม่ทูลเยินยอประจบพระองค์[19] สุมาอี้ผู้มีตำแหน่งเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) ได้ช่วยส่งเสริมอองก๋วนในหน้าที่ราชการ[20] อองก๋วนจึงได้รับราชการในสำนักราชเลขาธิการ แล้วได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) กำกับเมืองนครหลวง จากนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเก้าเสนาบดีในตำแหน่งเสนาบดีกรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่) รับผิดชอบด้านการเงินของราชวงศ์

การรับราชการในช่วงที่ตระกูลสุมาเป็นผู้สำเร็จราชการ[แก้]

ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 239 โจยอยสวรรคต โจฮองพระโอรสบุญธรรมได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ สุมาอี้และโจซองผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่สุมาอี้และโจซองไม่ลงรอยกัน โจซองกดดันให้สุมาอี้ลาออกจากราชการ[12][21] อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่าอองก๋วนได้ต่อต้านการใช้อำนาจในทางมิชอบของโจซอง เมื่อโจซองต้องการไม้ไว้ใช้ส่วนตัว อองก๋วนจึงเข้าไปที่สำนักไม้เพื่ออายัดไม้ไว้ และบังคับใช้กฎหมายหลายครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้โจซองเข้าถึงคลังของสำนักต่าง ๆ ของราชสำนัก โจซองรู้สึกไม่พอใจอองก๋วนด้วยเหตุดังกล่าว จึงลดตำแหน่งอองก๋วนลงเป็นเสนาบดีกรมราชรถ (太僕 ไท่ผู)[22] อย่างไรก็ตาม บันทึกเรื่องราวดังกล่าวนี้เป็นที่รู้กันว่าให้ความมุ่งร้ายโจซอง[23] และอาจมีสาเหตุอื่นที่โจซองโยกย้ายพรรคพวกของสุมาอี้ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีอื่น

สุมาอี้ก่อการรัฐประหารโค่นอำนาจโจซองในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 อองก๋วนได้เข้าร่วมก่อรัฐประหารโดยได้ขึ้นเป็นขุนพลชั่วคราว กุมตำแหน่งผู้บัญชาการทหารส่วนกลาง (中領軍 จงหลิ่งจฺวิน) ซึ่งเป็นตำแหน่งของโจอี้ (曹羲 เฉา ซี) น้องชายของโจซอง และเข้ากุมอำนาจบัญชาการกองกำลังของโจอี้[24] ภายหลังจากโจซองถูกประหารชีวิตในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน สุมาอี้จัดให้อองก๋วนได้บรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) และได้รับการแต่งตั้งเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) และนายกองทหารม้าคุ้มกัน (駙馬都尉 ฟู่หม่าตูเว่ย์)[25]

ในปี ค.ศ. 254 โจฮองทรงเจริญพระชันษาขึ้นและทรงวางแผนจะโค่นล้มสุมาสูบุตรชายของสุมาอี้ซึ่งกุมอำนาจเหนือพระองค์อยู่ในเวลานั้น แต่แผนการของพระองค์ล้มเหลว แล้วโจฮองก็ถูกปลดจากตำแหน่งจักรพรรดิและถูกจำคุกในวันที่ 17 ตุลาคม[21][26] สุมาสูและเหล่าเสนาบดีจึงกล่าวโทษโจฮองในเรื่องความผิดปกติเรื่องเพศจึงไม่คู่ควรแก่การครองบัลลังก์ ตามแบบอย่างการของปลดหลิว เฮ่อ (劉賀) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยอองก๋วนเป็นคนหนึ่งที่ร่วมลงนามในหนังสือกล่าวโทษนี้[27] เมื่อโจมอจักรพรรดิผู้เยาว์ขึ้นครองราชย์ อองก๋วนได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นจงเซียงถิงโหว (中鄉亭侯) และได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) และรองหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการฝ่ายซ้าย (尚書左僕射 ช่างชูจั่วผูเช่อ)[28][29]

ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 260 โจมอพยายามกู้พระราชอำนาจของพระองค์จากสุมาเจียวน้องชายของสุมาสูซึ่งกุมอำนาจเหนือพระองค์อยู่ในเวลานั้น แต่โจมอถูกผู้ภักดีต่อตระกูลสุมาปลงพระชนม์บนถนน[30][31] ในวันที่ 27 มิถุนายน โจฮวนจักรพรรดิวุยก๊กลำดับสุดท้ายขึ้นครองราชย์[32][21] ในวันที่ 7 กรกฎาคม[21] อองก๋วนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหยางเซียงโหว (陽鄉侯) ได้รับศักดินาเพิ่มเติม 1,000 ครัวเรือนจากที่เดิมมี 2,500 ครัวเรือน[33] และได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) คือขึ้นเป็นหนึ่งในสามตำแหน่งเสนาบดีสูงสุด (ซันกง) อย่างไรก็ตาม ชื่อของอองก๋วนไม่ปรากฏในฎีกาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวรรคตของโจมอ และอองก๋วนพยายามปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่งของตน สุมาเจียวไม่ยอมรับการปฏิเสธของอองก๋วนแล้วส่งผู้แทนไปหาอองก๋วนเพื่อแต่งตั้ง อองก๋วนยอมรับตำแหน่งแต่ก็ลาออกโดยแขวนตราประจำตำแหน่งและกลับไปอยู่บ้าน[34]

การเสียชีวิตและสิ่งตกทอด[แก้]

อองก๋วนเสียชีวิตที่บ้านในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 260[21] อองก๋วนสั่งให้ฝังศพของตนอยู่ใส่ในโลงศพเรียบ ๆ หลุมศพไม่มีเนินดินและไม่ใส่สมบัติใด ๆ ลงไป[35] สมัญญานามของคือซู่โหว (肅侯) บุตรชายของอองก๋วนชื่อหวาง คุย (王悝) ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ของอองก๋วน ภายหลังจากจ๊กก๊กล่มสลายและสุมาเจียวได้ขึ้นเป็นอ๋องในปี ค.ศ. 264 ได้รื้อฟื้นห้าบรรดาศักดิ์ของราชวงศ์โจว[36] โดยหวาง คุยได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นจื่อ (子) เพื่อเป็นเกียรติแก่อองก๋วนผู้บิดา[37]

อองก๋วนได้รับการยกย่องจากผลงานการปกครองระหว่างดำรงตำแหน่งนอกนครหลวง[6] ความตั้งใจของอองก๋วนที่ส่งบุตรชายที่ยังเด็กเพียงคนเดียวของตนไปเป็นตัวประกันเพื่อช่วยเมืองตุ้นก้วนได้กลายเป็นแบบอย่างของผู้มีจิตสาธารณะ[17] อองก๋วนในฐานะผู้เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ได้สร้างแรงบันดาลใจในคนอื่น ๆ ผ่านการทำงานอย่างหนักและซื่อสัตย์ของตน[38] ในปี ค.ศ. 256 หลู ยฺวี่ (盧毓) พยายามปฏิเสธการรับเลื่อนตำแหน่งเป็นเสนาบดีชั้นซันกงโดยเสนอคนอื่น ๆ ให้ดำรงตำแหน่งแทนแต่ไม่สำเร็จ อองก๋วนเป็นหนึ่งในคนที่หลู ยฺวี่เสนอชื่อ[39]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ([景元元年夏六月]癸亥,以尚書右僕射王觀為司空,冬十月,觀薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  3. 3.0 3.1 3.2 De Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23–220 AD (ภาษาอังกฤษ). Boston: Brill. p. 813. ISBN 978-90-04-15605-0.
  4. Ebery, Patricia (1986). "The economic and social history of Later Han". ใน Twitchett, Dennis; Fairbank, Jonathon (บ.ก.). The Cambridge History of China Volume 1: The Ch'in and Han Empires, 221 B.C.-A.D. 220 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 635–636. ISBN 9781139054737.
  5. (王觀字偉臺,東郡廩丘人也。少孤貧勵志,太祖召為丞相文學掾) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  6. 6.0 6.1 (太祖召為丞相文學掾,出為高唐、陽泉、酇、任令,所在稱治。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  7. จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
  8. 8.0 8.1 8.2 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 2.
  9. Bielenstein, Hans (1980). The Bureaucracy of Han Times (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 149. ISBN 978-0-521-22510-6.
  10. (文帝踐阼,入為尚書郎、廷尉監) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  11. (涿北接鮮卑,數有寇盜,觀令邊民十家已上,屯居,築京候。時或有不願者,觀乃假遣朝吏,使歸助子弟,不與期會,但敕事訖各還。於是吏民相率不督自勸,旬日之中,一時俱成。守禦有備,寇鈔以息。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  12. 12.0 12.1 12.2 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
  13. (明帝即位,下詔書使郡縣條為劇、中、平者) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  14. 14.0 14.1 (觀曰:「夫君者,所以為民也。今郡在外劇,則於役條當有降差。豈可為太守之私而負一郡之民乎?」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  15. (主者曰:「若郡為外劇,恐於明府有任子。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  16. (主者曰:「若郡為外劇,恐於明府有任子。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  17. 17.0 17.1 遂言為外劇郡,後送任子詣鄴。時觀但有一子而又幼弱。其公心如此。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  18. (明帝幸許昌,召觀為治書侍御史,典行臺獄) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  19. (時多有倉卒喜怒,而觀不阿意順指) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  20. (太尉司馬宣王請觀為從事中郎,遷為尚書,出為河南尹,徙少府) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  22. (大將軍曹爽使材官張達斫家屋材,及諸私用之物,觀聞知,皆錄奪以沒官。少府統三尚方御府內藏玩弄之寶,爽等奢放,多有干求,憚觀守法,乃徙為太僕。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  23. De Crespigny, Rafe (2003). "The Three Kingdoms and Western Jin A History of China in the Third Century A.D." Australian National University Open Research Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-15. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  24. Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 8. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
  25. (司馬宣王誅爽,使觀行中領軍,據爽弟羲營,賜爵關內侯,復為尚書,加駙馬都尉。)จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  26. Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 15–19. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
  27. อรรถาธิบายจากเว่ย์ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  28. Comprehensive Mirror in Aid of Governance (Zizhi Tongjian Guangmu) Book 77. pp. 癸亥,以尚書左僕射王觀為司空。.
  29. (高貴鄉公即位,封中鄉亭侯。頃之,加光祿大夫,轉為右僕射。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  30. Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 30–31. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
  31. อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิว, เว่ย์ชื่อชุนชิว และเว่ย์มั่วจฺว้านในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  32. Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 34–35. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
  33. (常道鄉公即位,進封陽鄉侯,增邑千戶,并前二千五百戶) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  34. (遷司空,固辭,不許,遣使即第拜授。就官數日,上送印綬,輒自輿歸里舍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  35. (薨于家,遺令藏足容棺,不設明器,不封不樹) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  36. Leban, Carl; Dein, Albert (2010). "The Accession of Sima Yan, AD 265: Legitimation by Ritual Replication". Early Medieval China Journal. 2010 (16): 40. doi:10.1179/152991010X12863647122280.
  37. (諡曰肅侯。子悝嗣。咸熙中,開建五等,以觀著勳前朝,改封悝膠東子。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  38. (觀治身清素,帥下以儉,僚屬承風,莫不自勵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 24.
  39. (正元三年,疾病,遜位。遷為司空,固推驃騎將軍王昶、光祿大夫王觀、司隸校尉王祥) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.

บรรณานุกรม[แก้]