กองซุนเอี๋ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองซุนเอี๋ยน (กงซุน เยฺวียน)
公孫淵
ภาพวาดกองซุนเอี๋ยนจากนวนิยายภาพสามก๊ก (ค.ศ. 1957)
เอียนอ๋อง (燕王 เยียนหวาง)
ครองราชย์ค.ศ. 237– ป. กันยายน ค.ศ. 238
เจ้าเมืองเลียวตั๋ง (遼東太守 เลียวตงไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 228 (228) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจยอย
ก่อนหน้ากองซุนก๋ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
มณฑลเหลียวหนิง
เสียชีวิตป. กันยายน ค.ศ. 238
มณฑลเหลียวหนิง
บุตรกองซุนสิว
บุพการี
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนพล, นักการเมือง, ขุนศึก
ชื่อรองเหวินอี้ (文懿)

กองซุนเอี๋ยน (เสียชีวิต ป. กันยายน ค.ศ. 238[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า กงซุน เยฺวียน (จีนตัวย่อ: 公孙渊; จีนตัวเต็ม: 公孫淵; พินอิน: Gōngsūn Yuān; เวด-ไจลส์: Kungsun Yüan ;การออกเสียง) ชื่อรอง เหวินอี้ (จีน: 文懿; พินอิน: Wényì) เป็นขุนพล ขุนนาง และขุนศึกผู้มีชีวิตในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน กองซุนเอี๋ยนก่อกบฏต่อวุยก๊กในปี ค.ศ. 237 และสถาปนาตนเป็น "เอียนอ๋อง" (燕王 เยียนหวาง) หรืออ๋องแห่งรัฐเอียน ในปี ค.ศ. 238 สุมาอี้ขุนพลวุยก๊กนำทัพไปยังเลียวตั๋งและพิชิตรัฐเอียนได้สำเร็จ จับตัวกองซุนเอี๋ยนประหารชีวิต

ประวัติ[แก้]

กองซุนเอี๋ยนเป็นบุตรชายของกองซุนของ ขุนศึกผู้ปกครองเมืองเลียวตั๋ง (遼東郡 เหลียวตงจฺวิ้น), เสฺวียนถู (玄菟郡 เสฺวียนถูจฺวิ้น), เล่อล่าง (樂浪郡 เล่อล่างจฺวิ้น) และไต้ฟาง (帶方郡 ไต้ฟางจฺวิ้น) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก กองซุนของกลายเป็นขุนนางผู้ปกครองรัฐประเทศราชของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก เมื่อกองซุนของเสียชีวิต กงซุน หฺว่าง (公孙晃) และกองซุนของที่เป็นบุตรชายของกองซุนของต่างก็ยังอายุน้อยเกินไปที่สืบทอดอำนาจจากกองซุนของ กองซุนก๋งน้องชายของกองซุนของจึงรับช่วงต่อแทน[4] ในปี ค.ศ. 228 กองซุนเอี๋ยนที่เติบโตขึ้นได้ยึดอำนาจจากกองซุนก๋งผู้อาและให้จับตัวกองซุนก๋งไปขังคุก

แม้ว่ากองซุนเอี๋ยนจะเป็นผู้ปกครองรัฐประเทศราชของรัฐวุยก๊ก แต่กองซุนเอี๋ยนก็คิดจะเปลี่ยนไปเข้าด้วยง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก ท้ายที่สุดกองซุนเอี๋ยนกลับมาเข้าด้วยวุยก๊กเพราะแรงกดดันจากโจยอยจักรพรรดิวุยก๊ก กองซุนเอี๋ยนสังหารคณะทูตของง่อก๊ก แต่ทูตบางคนได้หนีไปอาณาจักรโคกูรยอ ซุนกวนจักรพรรดิง่อก๊กพยายามสร้างความเป็นพันธมิตรกับโคกูรยอเพื่อเปิดการโจมตีกองซุนเอี๋ยน แต่ในที่สุดโคกูรยอก็เข้าสนับสนุนวุยก๊กในการรบกับกองซุนเอี๋ยน

ในปี ค.ศ. 237 โจยอยจักรพรรดิแห่งวุยก๊กทรงกังวลในเรื่องอิทธิพลของกองซุนเอี๋ยนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จึงส่งขุนพลบู๊ขิวเขียมให้นำทัพชาวจีนฮั่น ชนเผ่าออหวนและเซียนเปย์ไปโจมตีกองซุนเอี๋ยน แต่เกิดน้ำท่วมทำให้การทัพถูกยกเลิกไป กองซุนเอี๋ยนสถาปนาตนเป็น "เอียนอ๋อง" (燕王 เยียนหวาง) และติดต่อเป็นพันธมิตรกับง่อก๊กใหม่ ในปีถัดมาสุมาอี้และบู๊ขิวเขียมขุนพลวุยก๊กนำทัพเข้ารบกับกองซุนเอี๋ยน กองซุนเอี๋ยนพ่ายแพ้และถูกสังหาร ขณะที่ตระกูลของกองซุนเอี๋ยนก็ถูกกวาดล้าง ด้วยเหตุนี้เลียวตั๋งและอาณาบริเวณที่เป็นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีในปัจจุบันจึงกลายเป็นอาณาเขตของวุยก๊ก

พงศาวลี[แก้]

 
 
 
 
เจี้ยนอี้โหว (建义侯)
กงซุน เหยียน (公孙延)
(แต่งตั้งย้อนหลัง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หย่งหนิงเซียงโหว (永寧鄉侯)
กงซุน ตู้ (公孙度)
?-190-204
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เซียงผิงโหว (襄平侯)
กองซุนของ (公孙康 กงซุน คาง)
?-204-?
 
ผิงกัวโหว (平郭侯)
กองซุนก๋ง (公孙恭 กงซุน กง)
?-?-228-?
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กงซุน หฺว่าง (公孙晃)
 
เอียนอ๋อง (燕王 เยียนหวาง)
กองซุนเอี๋ยน (公孙渊 กงซุน เยฺวียน)
?-228-238
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองซุนสิว (公孙脩 กงซุน ซิว)
?-238

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. พระราชประวัติโจยอยในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าสุมาอี้นำทัพล้อมเซียงเป๋งในวันปิ่งอิ๋น (丙寅) ของเดือน 8 ศักราชจิ่งชูปีที่ 2[1] อย่างไรก็ตาม เดือนนั้นไม่มีวันปิ่งอิ๋น วันปิ่งอิ๋นถัดมาอยู่ในเดือน 9 ของปีเดียวกัน และเทียบได้กับวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 238[2] ในปฏิทินจูเลียน จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 74 ระบุว่าเซียงเป๋งถูกตีแตกในวันเหรินอู่ (任午) ของเดือน 8 ปีนั้น[3] อย่างไรก็ตาม เดือนนั้นไม่มีวันเหรินอู่ วันเหรินอู่ถัดมาก็อยู่ในเดือน 9 เช่นกัน และเทียบได้กับวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 238 ในปฏิทินจูเลียน

อ้างอิง[แก้]

  1. (丙寅,司馬宣王圍公孫淵於襄平,大破之,傳淵首于京都,海東諸郡平。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
  2. "中央研究院 兩千年中西曆轉換". sinocal.sinica.edu.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. (任午,襄平潰,淵與子修將數百騎突圍東南走,大兵急擊之,斬淵父子於梁水之上。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 74.
  4. (康死,子晃、淵等皆小,眾立恭為遼東太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.

บรรณานุกรม[แก้]