สุมาเจียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุมาเจียว (ซือหม่า เจา)
司馬昭
ภาพวาดสุมาเจียว (ทางขวา) ในยุคราชวงศ์ชิง
จีนอ๋อง / อ๋องแห่งจิ้น (晉王 จิ้นหวาง)
ดำรงตำแหน่ง2 พฤษภาคม ค.ศ. 264 – 6 กันยายน ค.ศ. 265
ถัดไปสุมาเอี๋ยน
ก๋งแห่งจิ้น (晉公 จิ้นกง)
ดำรงตำแหน่ง9 ธันวาคม ค.ศ. 263[1][2][3][4] – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 264
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก
ดำรงตำแหน่ง23 มีนาคม ค.ศ. 255 – 6 กันยายน ค.ศ. 265
ก่อนหน้าสุมาสู
ถัดไปสุมาเอี๋ยน
ประสูติค.ศ. 211
สวรรคต6 กันยายน ค.ศ. 265(265-09-06) (53–54 ปี)[5]
นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
คู่อภิเษกหวาง ยฺเหวียนจี
พระราชบุตรสุมาเอี๋ยน
สุมาฮิว
ซือหม่า เจี้ยน
ซือหม่า จี
ซือหม่า เหยียนจั้ว
องค์หญิงจิงเจ้า
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: ซือหม่า/สุมา (司馬)
ชื่อตัว: เจา/เจียว (昭)
ชื่อรอง: จื่อช่าง (子上)
พระนามหลังสวรรคต
จักรพรรดิเหวินตี้ (文帝)
วัดประจำรัชกาล
ไท่จู่ (太祖)
ราชวงศ์ราชตระกูลสุมา (ซือหม่า)
พระราชบิดาสุมาอี้
พระราชมารดาจาง ชุนหฺวา

สุมาเจียว (ค.ศ. 211 – 6 กันยายน ค.ศ. 265[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า เจา (จีน: 司馬昭; พินอิน: Sīmǎ Zhāo; เกี่ยวกับเสียงนี้ การออกเสียง ) ชื่อรอง จื่อช่าง (จีน: 子上; พินอิน: Zǐshàng) เป็นขุนพล ขุนนาง และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

สุมาเจียวยังสามารถกุมอำนาจราชสำนักวุยก๊กหลังสุมาอี้ผู้บิดาเคยยึดอำนาจมาได้และสุมาสูพี่ชายสืบทอดอำนาจถัดมา สุมาเจียวทำการการกำจัดฝ่ายตรงข้ามภายในซึ่งแสดงท่าทีต่อต้านหรือก่อการกบฏได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ. 263 สุมาเจียวตัดสินใจฉวยโอกาสส่งทัพบุกรัฐจ๊กก๊กทางตะวันตกในช่วงที่จ๊กก๊กกำลังอ่ออแอ ในที่สุดก็สามารถบังคับให้เล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กยอมจำนน จ๊กก๊กล่มสลายกลายเป็นส่วนหนึ่งในอาณาเขตของวุยก๊ก หลังเสร็จสิ้นการทัพ สุมาเจียวได้ขึ้นเป็นก๋งแห่งจิ้น (晉公 จิ้นกง) และได้รับเครื่องยศเก้าประการ ต่อมาในปี ค.ศ. 264 ได้ขึ้นเป็นจีนอ๋องหรืออ๋องแห่งจิ้น (晉王 จิ้นหวาง) ทำให้สุมาเจียวเข้าใกล้การช่วงชิงบัลลังก์ แต่สุมาเจียวก็ไม่ได้ครองบัลลังก์เพราะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 265 ผลงานในการทหารและความสำเร็จในการกุมอำนาจทางการเมืองของสุมาเจียวมีส่วนช่วยในแผนการโค่นล้มวุยก๊กโดยสุมาเอี๋ยนผู้เป็นบุตรชาย สุมาเอี๋ยนชิงบัลลังก์วุยก๊กและสถาปนาราชวงศ์จิ้นโดยสุมาเอี๋ยนขึ้นเป็นจัพกรพรรดิเมื่อปี ค.ศ. 266 หลังการสถาปนาราชวงศ์จิ้น สุมาเอี๋ยนพระราชทานสมัญญานามให้สุมาเจียวผู้เป็นพระบิดาให้ขึ้นเป็นจักรพรรดิจิ้นเหวินตี้ (晉文帝) มีนามวัดว่าไท่จู่ (太祖)

มีสำนวนจีนที่เกี่ยวข้องกับสุมาเจียวกล่าวว่า “ความคิดสุมาเจียว คนเดินถนนยังรู้” (司馬昭之心, 路人皆知) มีความหมายว่าเจตนาซ่อนเร้นของคนผู้หนึ่ง (ในกรณีนี้คือการแย่งชิงบัลลังก์) เป็นที่รู้กันดีจนเหมือนไม่ได้ซ่อนเร้นจริง ๆ มาจากคำตรัสของโจมอ จักรพรรดิลำดับที่ 4 ของวุยก๊กผู้พยายามก่อการกำเริบเพื่อชิงพระราชอำนาจคืนจากสุมาเจียวแต่ไม่สำเร็จ

ประวัติช่วงต้น[แก้]

สุมาเจียวเกิดในปี ค.ศ. 211 เป็นบุตรชายคนที่สองของสุมาอี้และภรรยาจาง ชุนหฺวา (張春華) มีอายุน้อยกว่าสุมาสู[b] เนื่องด้วยสุมาอี้ผู้บิดาเป็นขุนนางคนสำคัญของวุยก๊ก สุมาเจียวจึงได้ขึ้นมามีตำแหน่งขุนนางที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากความสำเร็จของสุมาอี้ในการปราบขุนศึกกองซุนเอี๋ยน สุมาเจียวจึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นซินเฉิงเซียงโหว (新城鄉侯)[c] ในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 238 ราวปี ค.ศ. 240 สุมาเจียวได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลราชองครักษ์แห่งนิคมการเกษตร (典農中郎將 เตี่ยนหนงจงหลางเจี้ยง) อีกหนึ่งปีต่อในปี ค.ศ. 241 สุมาเจียวได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 244 สุมาเจียวเข้าร่วมในการทัพของโจซองรบกับจ๊กก๊ก สุมาเจียวมีผลงานในขับไล่ทัพจ๊กก๊กที่ยกเข้าปล้นค่ายตอนกลางคืน แม้ว่าการทัพของโจซองในท้ายที่สุดจะล้มเหลว แต่สุมาเจียวก็ได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นขุุนนางที่ปรึกษา (議郎 อี้หลาง) (โดยทั่วไปถือว่าตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งลอย สุมาเจียวอยู่ในตำแหน่งนี้มากกว่า 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นโจซองและพรรพพวกที่แต่งตั้งให้สุมาเจียวเพื่อป้องกันไม่ให้มีความก้าวหน้าทางการเมืองขึ้นไปอีก)[8]

การรับราชการจนถึงปี ค.ศ. 255[แก้]

อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง[แก้]

การมีส่วนร่วมของสุมาเจียวในการก่อรัฐประกาศของสุมาอี้โค่นอำนาจโจซองในปี ค.ศ. 249 ไม่เป็นที่แน่ชัด ในจดหมายเหตุราชวงศ์จิ้นระบุว่าแผนที่สุมาอี้และสุมาสูคิดการกันนั้นไม่ได้บอกสุมาเจียวจนกระทั่งดำเนินการไปแล้ว ทัศนะนี้นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วย ยืนยันว่าสุมาเจียวจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการวางแผนการ ภายหลังการก่อรัฐประหารประสบความสำเร็จ สุมาอี้ได้อำนาจทางการเมืองสูงสุดในวุยก๊ก และตัวสุมาเจียวก็ได้รับศักดินาเพิ่มเติม 1,000 ครัวเรือนและกลายเป็นผู้มีสถานะสำคัญ ในปี ค.ศ. 251 เมื่อสุมาอี้ปราบปราบกบฏหวาง หลิง (王淩) สุมาเจียวทำหน้าที่เป็นรองแม่ทัพและได้รับบำเหน็จเป็นศักดินาเพิ่มเติมอีก 300 ครัวเรือน และได้บรรดาศักดิ์ระดับโหวสำหรับบุตรชายคนเล็กคือสุมาฮิว ในช่วงไม่กี่ปีถัดมา สุมาเจียวมีส่วนร่วมในการบัญชาทัพต่อต้านการบุกของเกียงอุยแม่ทัพจ๊กก๊ก

ยุทธการที่ตังหิน[แก้]

ในปี ค.ศ. 253 ทัพวุยก๊กนำโดยสุมาเจียวยกไปทางตะวันออกเพื่อรบกับง่อก๊กที่ยกล่วงชายแดนโดยการสร้างเขือนที่ทะเลสาบและนำกำลังทหารมาตั้งมั่นในดินแดนที่เป็นของวุยก๊ก เหล่านายทหารของวุยก๊กเห็นว่าพวกตนอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยและมีจำนวนทหารที่มากกว่าจึงประมาทและเอาแต่เมาสุรา เลยพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วต่อทัพง่อก๊กที่นำโดยเตงฮองและลีกี บีบให้ทัพวุยก๊กต้องถอยหนี หลังจากความพ่ายแพ้ในยุทธการที่ตังหิน สุมาเจียวถามนายกองหวาง อี๋ (王仪) เป็นการส่วนตัวว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในความพ่ายแพ้ในยุทธการนี้ หวาง อี๋ตอบว่า "ความรับผิดชอบตกเป็นของแม่ทัพ" สุมาเจียวโต้กลับว่า "นายกองหมายว่าให้ข้าแบกความรับผิดชอบหรือ" จากนั้นจึงให้สั่งประหารชีวิตหวาง อี้ สุมาสูผู้สำเร็จราชการและพี่ชายของสุมาเจียวได้รับฎีกาจากเหล่าเสนาบดีเสนอให้อองซอง บู๊ขิวเขียม อ้าวจุ๋น และคนอื่น ๆ ทั้งหมดที่มีส่วนร่วมในการทัพให้ถูกลดขั้นจากความพ่ายแพ้ แต่สุมาสูกล่าวว่า "เป็นเพราะข้าไม่ฟังคำของกงซิว[d] (公休) จึงตกอยู่ในสภาพการณ์เช่นนี้ เป็นข้าที่สมควรถูกตำหนิ จะโทษเหล่าขุนพลได้อย่างไร"[9] จากนั้นจึงเลื่อนขั้นให้กับเหล่าขุนพลที่มีส่วนร่วมในยุทธการ แต่ลดขั้นสุมาเจียวโดยการถอดบรรดาศักดิ์ออก[10]

สืบทอดอำนาจจากสุมาสู[แก้]

ในปี ค.ศ. 254 ระหว่างที่สุมาเจียวอยู่ที่นครหลวงลกเอี๋ยง เหล่าขุนนางที่ปรึกษาทูลเสนอกับจักรพรรดิโจฮองว่าให้จู่โจมและสังหารสุมาเจียวเพื่อชิงกำลังทหารมาและใช้กำลังทหารนั้นในการจัดการกับสุมาสู โจฮองทรงวิตกกังวลจึงไม่ได้ทำตามคำทูลเสนอ แต่แผนการรั่วไหลรู้ไปถึงสุมาสู สุมาเจียวจึงร่วมกับสุมาสูพี่ชายในการปลดจักรพรรดิโจฮองออกและตั้งโจมอขึ้่นเป็นจักรพรรดิแทน หลังการปลดจักรพรรดิ ขุนพลบู๊ขิวเขียมและบุนขิมก่อกบฏในปี ค.ศ. 255 และถูกสุมาสูปราบลงได้

อย่างไรก็ตาม สุมาสูกำลังป่วยเป็นโรคตาซึ่งมีอาการรุนแรงขึ้นหลังการทัพ สุมาสูเสียชีวิตหลายจากนั้นไม่ถึงหนึ่งเดือนในวันที่ 23 มีนาคม[11] เวลานั้นสุมาเจียวอยู่กับพี่ชายที่ฮูโต๋ จักรพรรดิโจมอวัย 14 พรรษาพยายามจะฟื้นฟูพระราชอำนาจคืนมา จึงออกพระราชโองการภายใต้เหตุที่ว่าสุมาสูเพิ่งปราบกบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม และดินแดนทางตะวันออกเฉียงยังไม่สงบโดยสมบูรณ์ จึงมีรับสั่งให้สุมาเจียวยังคงอยู่ที่ฮูโต๋ และให้เปาต้านผู้ช่วยของสุมาสูกลับไปยังลกเอี๋ยงพร้อมกับทัพหลัก อย่างไรก็ตาม สุมาเจียวทำตามคำแนะนำของเปาต้านและจงโฮยกลับมายังลกเอี๋ยงอันเป็นการขัดพระราชโองการ[12] และยังสามารถกุมอำนาจราชสำนักไว้ได้[13] นับแต่นั้นมาสุมาเจียวก็ไม่ยอมปล่อยให้โจมอหรือกวยทายเฮาอยู่เหนือการควบคุม

ในฐานะผู้กุมอำนาจสูงสุด[แก้]

การรวมอำนาจ[แก้]

กบฏฉิวฉุนครั้งที่ 3[แก้]

ในช่วงไม่กี่ปีถัดมา สุมาเจียวรวบอำนาจยิ่งขึ้น ทำให้จักรพรรดิโจมอและกวยทายเฮาเหลืออำนาจเพียงเล็กน้อย จากนั้นสุมาเจียวสร้างเรื่องในหลายโอกาสที่ถูกมองว่าเป็นการอาจเอื้อมคิดช่วงชิงราชบัลลังก์วุยก๊ก ในปี ค.ศ. 256 สุมาเจียวบังคับจักรพรรดิให้พระราชทานเอกสิทธิ์ในการสวมฉลองพระองค์ มงกุฎ และฉลองพระบาท จากนั้นสุมาเจียวจึงทดสอบความภักดีของเหล่าขุนพลโดยการให้เหล่าคนสนิทไปบอกใบ้ถึงเจตนาของตนให้เหล่าขุนพลทั่วแผ่นดินได้รับรู้ ในปี ค.ศ. 257 สุมาเจียวส่งกาอุ้นไปตรวจสอบเจตนาของจูกัดเอี๋ยน จูกัดเอี๋ยนตำหนิกาอุ้นอย่างรุนแรง[14] ทำให้สุมาเจียวมีคำสั่งเรียกตัวจูกัดเอี๋ยนกลับนครหลวงโดยอ้างว่าจะเลื่อนตำแหน่งให้ จูกัดเอี๋ยนปฏิเสธคำสั่งและเริ่มต้นก่อกบฏ โดยยอมสวามิภักดิ์ต่อง่อก๊กเพื่อให้ช่วยคุ้มครอง[15] สุมาเจียวนำกำลังทหารรุดหน้าไปยังฐานที่มั่นของจูกัดเอี๋ยนที่ฉิวฉุนอย่างรวดเร็วและเข้าล้อมไว้ ในที่สุดก็ยึดฉิวฉุนได้ในปี ค.ศ. 258 หลังตัดโอกาสที่ง่อก๊กจะยกกำลังมาช่วย สุมาเจียวให้สังหารจูกัดเอี๋ยนและครอบครัว แต่สุมาเจียวก็ปฏิบัติอย่างเอื้อเฟื้อต่อผู้เกี่ยวข้องกับการกบฏหลายคน เช่นราษฎรทั่วไปและทหารง่อก๊กที่ถูกส่งมาเป็นกำลังเสริม แม้ว่าจะมีผู้แนะนำให้ลงโทษราษฎรและสังหารทหารทั้งหมดก็ตาม [16] ซึ่งสุมาเจียวได้โต้ตอบไปว่า "คนแต่โบราณใช้กำลังทหารเพื่อคุ้มครองรัฐเป็นดีที่สุด ดังนั้นสังหารเฉพาะผู้นำเสียก็เพียงพอแล้ว ควรให้ทหารได้หนีกลับไปเถิด พวกเขาจะได้รายงานถึงความยิ่งใหญ่ของรัฐภาคกลาง" ความเมตตากรุณานี้ทำให้ตระกูลสุมาถูกมองในเชิงบวกมากยิ่งขึ้นจากเหล่าราษฎร หลังการเสียชีวิตของจูกัดเอี๋ยน ก็ไม่มีใครกล้าต่อต้านสุมาเจียวอีกในช่วงอีกไม่กี่ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 258 สุมาเจียวบังคับจักรพรรดิโจมอให้พระราชทานเครื่องยศเก้าประการ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการของรัฐ และบรรดาศักดิ์ก๋งแห่งจิ้น (晉公 จิ้นกง) อันเป็นอีกขั้นที่ทำให้สุมาเจียวเข้าใกล้การช่วงชิงบัลลังก์ จากนั้นสุมาเจียวจึงปฏิเสธการรับเกียรติเหล่านี้ต่อหน้าสาธารณชนเก้าครั้ง[17]

การสวรรคตของจักรพรรดิโจมอและการควบคุมราชสำนักวุยก๊กอย่างเบ็ดเสร็จ[แก้]

ราวเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 260 สุมาเจียวบีบบังคับจักรรพรดิโจมออีกครั้งให้ออกพระราชโองการพระราชทานเครื่องยศเก้าประการและการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งสุมาเจียวก็ปฏิเสธอีกครั้ง[18] ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้โจมอทรงกริ้วหนัก พระองค์จึงปรึกษากับขุนนางคนสนิทคืออองซิม อองเก๋ง และอองเหงียบ โจมอตรัสกับขุนนางทั้งสามว่าแม้พระองค์จะทรงตระหนักดีว่ามีโอกาสสำเร็จน้อย แต่พระองค์จะทรงก่อการแข็งข้อต่อสุมาเจียว[19] พระองค์พกพระแสงดาบ นำทหารราชองครักษ์ยกไปจวนของสุมาเจียว สุมาเตี้ยมน้องชายของสุมาเจียวพยายามจะต้านทาน แต่เมื่อข้าราชบริพารของโจมอตะโกนเสียงดัง กองกำลังของสุมาเตี้ยมก็แตกหนีไป จากนั้นกาอุ้นมาถึงและเข้าสกัดกองทหารราชองครักษ์ โจมอเข้าต่อสู้ด้วยพระองค์เอง กองกำลังของกาอุ้นไม่กล้าโจมตีจักรพรรดิก็แตกหนีไปเช่นกัน[20] นายทหารคนหนึ่งในบังคับบัญชาของกาอุ้นชื่อเซงเจ (成濟 เฉิง จี้) ถามกาอุ้นว่าควรทำอย่างไร กาอุ้นบอกให้ปกป้องอำนาจของตระกูลสุมาโดยไม่ต้องคิดถึงผลที่ตามมา เซงเจจึงใช้หอกปลงพระชนม์โจมอ[21] เหตุการณ์นี้สร้างความยุ่งยากให้สุมาเจียวอย่างมาก[22]

ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิโจมอ สาธารณชนเรียกร้องให้ประหารชีวิตกาอุ้น แต่สิ่งที่สุมาเจียวกระทำเป็นอย่างแรกคือบังคับกวยทายเฮาให้ลดฐานะย้อนหลังให้โจมอลงมามีสถานะเป็นสามัญชน และมีคำสั่งให้ทำพิธีศพของโจมอเยี่ยงสามัญชน[23] สุมาเจียวยังให้ประหารชีวิตอองเก๋งและครอบครัว วัดถัดมาหลังสุมาเจียวถูกสุมาหูผู้เป็นอาวิงวอน สุมาเจียวจึงกลับให้กวยทายเฮามีรับสั่งให้เลื่อนขั้นโจมอกลับมาอยู่ในฐานะก๋ง (公 กง) และทำพิธีศพอย่างอ๋อง[24] จากนั้นสุมาเจียวจึงเชิญโจฮวนผู้เป็นฉางเต้าเซียงกง (常道鄉公) และเป็นหลานชายของโจโฉให้มายังนครหลวงเพื่อตั้งให้เป็นจักรพรรดิ ในเวลานี้กวยทายเฮาไร้อำนาจที่จะตรัสประการใดต่อไปได้[25] ท่ามกลางเหตุการณ์เหล่านี้ สุมาเจียวยังคงปฏิเสธกับรับเครื่องยศเก้าประการและการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการของรัฐและบรรดาศักดิ์ก๋งแห่งจิ้น[26] หลายวันต่อมา สุมาเจียวกล่าวโทษเซงเจและน้องชายในข้อหากบฏ และสั่งให้ประหารชีวิตเซงเจและครอบครัวเพื่อบรรเทาความโกรธของสาธารณชน ในขณะที่ไว้ชีวิตกาอุ้น[27] ไม่มีใครกล้าก่อการต่อต้านสุมาเจียวแม้หลังการสวรรคตของจักรพรรดิโจมอ เนื่องจากเวลานั้นสุมาเจียวกลายเป็นผู้กุมอำนาจราชสำนักอย่างแท้จริงแล้ว ในวันที่ 27 มิถุนายน โจฮอวนเข้านครลกเอี๋ยงและขึ้นเป็นจักรพรรดิ[28] สองวันต่อมา สุมาเจียวบังคับจักรพรรดิโจฮวนพระราชทานเครื่องยศเก้าประการและการเลื่อนขั้นขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการของรัฐกับบรรดาศักดิ์ก๋งแห่งจิ้น ซึ่งสุมาเจียวก็ยังคงปฏิเสธอยู่[29] เช่นเดียวกับเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ในเดือนตุลาคม[30][31]

การพิชิตจ๊กก๊ก[แก้]

ในปี ค.ศ. 262 เนื่องด้วยเกียงอุยเข้าโจมตีชายแดนมาอย่างต่อเนื่อง สุมาเจียวจึงคิดจะจ้างมือสังหารไปลอบสังหารเกียงอุย แต่แผนนี้ถูกคัดค้านโดยซุนโจยที่ปรึกษา[32] ด้านจงโฮยเชื่อว่าเกียงอุยสูญเสียกำลังทหารไปมากแล้ว จึงเป็นเวลาเหมาะที่จะทำลายจ๊กก๊กในครั้งเดียว[33] สุมาเจียวจึงตั้งจงโฮย จูกัดสู และเตงงายให้คุมทัพบุกจ๊กก๊ก (แม้ว่าเตงงายจะคัดค้านการทัพในตอนแรกก็ตาม) ทั้งหมดเคลื่อนทัพในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 263[34]

จงโฮย จูกัดสู และเตงงายเผชิญหน้ากับการรบต้านเล็กน้อยจากทัพจ๊กก๊ก ซึ่งฝ่ายจ๊ํกก๊กมีกลยุทธ์จะดึงทัพวุยก๊กเข้ามาแล้วเข้าปิดล้อมโจมตี แต่ผลกลับตรงกันข้ามเพราะทัพวุยก๊กเคลื่อนพลได้รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยยกผ่านเมืองชายแดนของจ๊กก๊กตรงไปยังจุดยุทธศาสตร์สำคัญคือด่านแฮเบงก๋วน (陽安關 หยางอานกวาน; ปัจจุบันอยู่ในเมืองฮั่นจง มณฑลฉ่านซี) และเข้ายึดไว้ ในที่สุดจูกัดสูก็ถูกปลดออกจากการคุมทัพและถูกส่งกลับในฐานะนักโทษ เตงงายต้องการควบรวมกำลังทหารของตนเข้ากับของจูกัดสูจึงเข้าพบจงโฮย ฝ่ายจงโฮยต้องการถือสิทธิ์ขาดทางการทหาร จึงส่งคำประกาศที่กล่าวถึงความขี้ขลาดของจูกัดสู ภายหลังกำลังทหารของจูกัดสูจึงควบรวมกับกองกำลังของจงโฮย[35] ด้านเกียงอุยสามารถรวบรวมกำลังขึ้นใหม่และสกัดทัพวุยก๊กไม่ให้รุกคืบได้[36] กระทั่งเตงงายนำกองกำลังเคลื่อนผ่านด่านภูเขาคับขันไปจนถึงอิวกั๋ง เอาชนะจูกัดเจี๋ยม[37] และมุ่งตรงไปยังเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊ก เล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กประหลาดพระทัยกับการรุดหน้าเข้ามาอย่างรวดเร็วของเตงงาย และทรงเชื่อว่าเกียงอุยจะไม่สามารถกลับมาเร็วพอที่จะป้องกันนครหลวงจากเตงงาย เล่าเสี้ยนจึงยอมจำนนต่อวุยก๊ก[38] ก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 263 สุมาเจียวปฏิเสธเครื่องยศเก้าประการและการเลื่อนตำแหน่งอีกครั้ง[39] แต่ในช่วงการทัพ เมื่อคำนึงความสำเร็จล่าสุดนี้แล้ว ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 263 จักรพรรดิโจฮวนตั้งให้สุมาเจียวเป็นก๋งแห่งจิ้น พระราชทานเครื่องยศเก้าประการและตำแหน่งผู้สำเร็จราชการของรัฐ และสุมาเจียวก็ยอมรับในที่สุด[40]

กบฏจงโฮย[แก้]

อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายอีกครั้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการล่มสลายของจ๊กก๊ก เตงงายภูมิใจในความสำเร็จของตนและส่งหนังสือถึงสุมาเจียวที่มีเนื้อความแสดงออกซึ่งความหยิ่งทรนง ทำให้สุมาเจียวเกิดความระแวง ฝ่ายจงโฮยก็มีแผนจะก่อกบฏจึงปลอมแปลงจดหมายเพื่อทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสุมาเจียวและเตงงายจนเกินกว่าจะกู้คืน[41] สุมาเจียวจึงมีคำสั่งให้จงโฮยจับตัวเตงงาย แม้ว่าตัวสุมาเจียวก็ระแวงจงโฮยเช่นกัน แต่กระนั้นสุมาเจียวก็นำทัพของตนเองไปประจำอยู่ที่เตียงฮัน[42] จงโฮยยึดกองกำลังของเตงงายควบรวมเข้ากับกองกำลังของตน จากนั้นด้วยการยุยงของเกียงอุยที่เป็นผู้ช่วย (แต่เจตนาที่แท้จริงของเกียงอุคือการสังหารจงโฮยและกอบกู้จ๊กก๊กในท้ายที่สุด)[43] จงโฮยจึงก่อการกบฏในปี ค.ศ. 264[44] แต่กองกำลังของตัวจงโฮยกลับหันมาต่อต้านจงโฮย และสังหารทั้งจงโฮยและเกียงอุย[45] สุมาเจียวนิรโทษกรรมให้กับทุกคนในจ๊กก๊ก

เสียชีวิต[แก้]

หลังกบฏจงโฮยถูกปราบ สุมาเจียวได้รับฐานันดรศักดิ์เป็นจีนอ๋องหรืออ๋องแห่งจิ้น (晉王 จิ้นหวาง) ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 264[46] อันเป็นก้าวสุดท้ายสู่การช่วงชิงบัลลังก์ สุมาเจียวตั้งเป้าหมายที่จะแก้ไขกฎหมายและระบบราชการให้สอดคล้องกับอาณาจักรที่สุมาเจียวต้องการให้อยากให้เป็น เช่น การฟื้นฟูตำแหน่งศักดินาห้าตำแหน่งในราชวงศ์โจว[47] (ระบบที่เลิกใช้ไปตั้งแต่ถูกยกเลิกโดยราชวงศ์ฉิน) และยังมอบสมัญญานามย้อนหลังให้สุมาอี้ผู้บิดาและสุมาสูผู้พี่ชายให้เป็นจักรพรรดิจิ้นเซฺวียนตี้ (晉宣帝) และจิ้นจิ่งตี้ (晉景王) ตามลำดับ[48] สุมาเจียวยังทำข้อตกลงสงบศึกกับง่อก๊ก[49] เพื่อป้องกันการแทรกแซงในแผนการชิงบัลลังก์ของสุมาเจียว[50]

ต่อมาในปีเดียวกัน สุมาเจียวพิจารณาว่าจะตั้งให้ใครเป็นทายาท สุมาเจียวคิดจะตั้งสุมาฮิวบุตรชายคนเล็กผู้มีความสามารถ ซึ่งสุมาสูรับไปเป็นบุตรบุญธรรมเพราะสุมาสูไม่มีบุตรชายเป็นของตนเอง ภายใต้เหตุผลที่ว่าสุมาสูมีความสำเร็จอย่างสูงในการสืบทอดและรักษาอำนาจของตระกูลสุมา การสืบทอดอำนาจก็ควรกลับไปหาสุมาฮิวผู้บุตรชาย แต่ที่ปรึกษาส่วนใหญ่เสนอให้ตั้งสุมาเอี๋ยนบุตรชายคนโตของสุมาเจียวแทน ในที่สุดสุมาเจียวจึงตัดสินใจตั้งให้สุมาเจียวเป็นทายาท[51]

ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 สุมาเจียวเสียชีวิต[52] ก่อนที่จะได้ช่วงชิงบัลลังก์ แม้ว่าจะได้รับการทำพิธีศพด้วยเกียรติอย่างจักรพรรดิในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 265 ในอีก 5 เดือนต่อมา สุมาเอี๋ยนซึ่งสืบทอดอำนาจจากบิดา[53] บังคับโจฮวนจักรพรรดิวุยก๊กให้สละราชบัลลังก์ให้กับตน เป็นการสิ้นสุดของวุยก๊กและเป็นการสถาปนาราชวงศ์จิ้น ภายหลังสุมาเอี๋ยนพระราชทานสมัญญานามให้สุมาเจียวผู้เป็นพระบิดาเป็นจักรพรรดิจิ้นเหวินตี้ (晉文帝)

ครอบครัว[แก้]

ภรรยาและบุตรธิดา:

  • จักรพรรดินีเหวินหมิง แห่งตระกูลหวางหรืออองแห่งตองไฮ (文明皇后 東海王氏 เหวินหมิงหฺวางโฮ่ว ตงไห่หวางชื่อ; ค.ศ. 217–268) ชื่อตัว ยฺเหวียนจี (元姬)
    • เจ้าหญิงจิงเจ้า (京兆公主 จิงเจ้ากงจู่)
      • แต่งงานกับเจิน เต๋อ แห่งเสเป๋ง (西平 甄德 ซีผิง เจิน เต๋อ) และมีบุตรชายหนึ่งคน
    • สุมาเอี๋ยน จักรพรรดิอู่ (武皇帝 司馬炎 อู่หฺวางตี้ ซือหม่า เยียน; ค.ศ. 236–290) บุตรชายคนแรก
    • สุมาฮิว อ๋องแห่งฉีเซี่ยน (齊獻王 司馬攸 ฉีเซี่ยนหวาง ซือหม่า โยว; 248–283) บุตรชายคนที่ 2
    • ซือหม่า เจ้า อ๋องอายแห่งเฉิงหยาง (城陽哀王 司馬兆 เฉิงหยางอายหวาง ซือหม่า เจ้า) บุตรชายคนที่ 3
    • ซือหม่า ติ้งกั๋ว อ๋องเต้าฮุ่ยแห่งเลียวตั๋ง (遼東悼惠王 司馬定國 เหลียวตงเต้าฮุ่ยหวาง ซือหม่า ติ้งกั๋ว) บุตรชายคนที่ 4
    • ซือหมา กว่างเต๋อ อ๋องชางแห่งก๋งฮาน (廣漢殤王 司馬廣德 กว่างฮั่นชางหวาง ซือหม่า กว่างเต๋อ) บุตรชายคนที่ 5
  • ซิวหฺวา แห่งตระกูลหลี่หรือลิ (修華 李氏 ซิวหฺวา หลี่ชื่อ) ชื่อตัว เหยี่ยน (琰)
  • ซิวหรง แห่งตระกูลหวางหรืออง (修容 王氏 ซิวหรง หวางชื่อ) ชื่อตัว เซฺวียน (宣)
  • ซิวอี๋ แห่งตระกูลสฺวีหรือซิ (修儀 徐氏 ซิวอี๋ สฺวีชื่อ) ชื่อตัว เหยี่ยน (琰)
  • เจี๋ยยฺหวี แห่งตระกูลอู๋หรืองอ (婕妤 吳氏 เจี๋ยยฺหวี อู๋ชื่อ) ชื่อตัว ชู (淑)
  • ชงหฺวา แห่งตระกูลเจ้าหรือเตียว (充華 趙氏 ชงหฺวา เจ้าชื่อ) ชื่อตัว ถิ่ง (珽)
  • ภรรยาไม่ทราบชื่อ
    • ซือหม่า เจี้ยน อ๋องผิงแห่งเล่ออาน (樂安平王 司馬鑒 เล่ออานผิงหวาง ซือหม่า เจี้ยน; เสียชีวิต 297) บุตรชายคนที่ 6
    • ซือหม่า จี อ๋องแห่่งเอียน (燕王 司馬機 เยียนหวาง ซือหม่า จี) บุตรชายคนที่ 7
    • ซือหม่า หย่งจั้ว (司馬永祚) บุตรชายคนที่ 8
    • ซือหม่า เหยียนจั้ว อ๋องแห่งเล่อผิง (樂平王 司馬延祚 เล่อผิงหวาง ซือหม่า เหยียนจั้ว) บุตรชายคนที่ 9
    • เจ้าหญิงฉางชาน แต่งงานกับหวาง จี้ (王濟)

บรรพบุรุษ[แก้]

ซือหม่า เลี่ยง
ซือหม่า จฺวิ้น (ค.ศ. 113–197)
สุมาหอง (ค.ศ. 149–219)
สุมาอี้ (ค.ศ. 179–251)
สุมาเจียว (ค.ศ. 211–265)
จาง วาง
จาง ชุนหฺวา (ค.ศ. 189–247)
ชานชื่อแห่งโห้ลาย

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. วันซินเม่า เดือน 8 ศักราชเสียนซีปีที่ 2[6]
  2. ชีวประวัติสุมาเจียวในจดหมายเหตุราชวงศ์จิ้นบันทึกว่าสุมาเจียวเป็นน้องชายแท้ ๆ ของสุมาสู[7] ในหมู่บุตรชายของสุมาอี้ มีเพียงสุมาสู (บุตรชายคนโต) ซือหม่า เลี่ยง (บุตรชายคนที่ 4) และซือหม่า หลุน (บุตรชายคนที่ 9) ที่มีบันทึกลำดับการเกิดอย่างชัดเจนในจดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น
  3. อรรถธิบายของฝาน เสฺวียนหลิงที่ 4.5 ของศักราชเจียผิงปีที่ 5; ซินเฉิง (新城) หรือซินเสียเป็นสถานที่ที่สุมาอี้ได้รับชนะต่อกบฏเบ้งตัด สถานที่จึงอาจจะมีความสำคัญเป็นพิเศษต่อตระกูลสุมา
  4. ชื่อรองของจูกัดเอี๋ยน

อ้างอิง[แก้]


  1. Because the campaign against Shu was going well, Sima Zhao was once more offered the position of Chancellor of the State [xiangguo], as well as the title Duke of Jin and the Nine Awards. This time, Sima Zhao accepted these honors.

    Zizhi Tongjian, Sima Guang


  2. Because the generals attacking Shu had reported their victories in succession, in an edict the Emperor again commanded that the da jiangjun Sima Zhao should have his rank, enfeoffment and gifts advanced, all as in the former edict; Sima Zhao accepted the appointment.

    Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang


  3. In winter, in the tenth month, on the day jiayin (December 9), the Emperor again commanded in an edict that the da jiangjun should have his rank, enfeoffment, and gifts advanced, all as in the former edict.

    Sanguozhi, Chronicle of the Prince of Chenliu


  4. In winter, in the tenth month, the Son of Heaven, because the various feudal lords reported their victories in succession, reiterated his former command, saying, '...[the text of the edict]...' Ducal and other ministers, and generals all betook themselves to the headquarters of the da jiangjun to convey the Imperial wishes, but Wendi declined out of modesty. The sigong Zheng Chong at the head of the myriad officials advised him to accept, saying, '...[the text of the petition]...' Thereupon Wendi accepted the appointment.

    Jin Shu, Chronicle of Wendi

  5. Declercq, Dominik (1998). "Chapter 5". Writing Against the State: Political Rhetorics in Third and Fourth Century China. BRILL. p. 176. ISBN 9004103767. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015. Hardly was this rebellion crushed than Sima Shi died (in March 255); and his brother Sima Zhao took command...
  6. (咸熙二年秋八月辛卯,帝崩于露寝,时年五十五。) จิ้นชู เล่มที่ 2
  7. (文皇帝讳昭,字子上,景帝之母弟也。) จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น เล่ม 2.
  8. Fang’s note 14 of Zhengshi 9;

    the title Gentleman Consultant [yilang] was typically used as a “placeholder”. It indicated that the court intended to grant the Gentleman Consultant an important position as soon as one became available. In the meantime, the Gentleman Consultant could participate in the court’s discussions and provide advice. While this position was often an honor, it could also be used to slow the advancement of one’s political rivals. Given that Sima Zhao remained a Gentleman Consultant for more than five years, this appointment was most likely an attempt by He Yan, Cao Shuang, and their party to curb his advancement.


  9. Wang Chang and Guanqiu Jian, learning that the eastern army had been defeated, set fire to their respective camps and fled. At Court, it was proposed to demote the generals concerned. The da jiangjun Sima Shi said, "It is because I did not listen to Gongxiu that we have come to this plight. In this I am culpable; how can the generals be at fault?" Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  10. And he absolved them all. At that time, Sima Shi's younger brother, the andong jiangjun, Sima Zhao was Superintendent of the Army (chien-chun); he only deprived Sima Zhao of his enfeoffment. He appointed Zhuge Dan (zhennan jiangjun) and Commander-in-chief (dudu) of Yuzhou and Guanqiu Jian (zhennan jiangjun) and Commander-in-chief of Yangzhou. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  11. The wei jiangjun Sima Zhao went from Luoyang to inquire after Sima Shi's health. Sima Shi ordered him to take command of all the forces. On the day xinhai (March 23), Sima Shi died at Xuchang. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  12. The zhongshu shilang, Zhong Hui, had been in the suite of Sima Shi, taking charge of confidential matters. The Emperor, in a personal edict, commanded the shangshu Fu Jia (傅嘏) that, the southeast having recently been conquered, the wei jiangjun Sima Zhao was to station himself for the time being at Xuchang, to serve as internal and external support, and Fu Jia should return with the various troops. Zhong Hui consulted Fu Jia and had Fu Jia send up a memorial to the throne that they were starting together with Sima Zhao. They returned and encamped south of the Luoshui Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  13. Second month. On the day tingsi (march 29), the Emperor appointed Sima Zhao to be da jiangjun and lu shangshu shi. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  14. Jia Chong saw Zhuge Dan and discussed the politics of the day, on which occasion he said, “The worthy gentleman of Luoyang all desire the Emperor to abdicate in favor of a new Ruling House. This is what you yourself are aware of. What is your opinion on this point?” In a raised voice, Zhuge Dan said, “Are you not the son of Jia Kui, the Governor of Yuzhou? For two generations, your family has been receiving favors from the Wei; how is it possible that you wish to have the dynasty turned over to someone else? Should there be any such extraordinary happening in Luoyang, I shall die for the cause.” Jia Chong kept silent. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  15. On the day jiazi (May 24), the Emperor appointed Zhuge Dan as sigong and summoned him to the capital. Having received the Imperial edict, Zhuge Dan became all the more afraid. Suspecting that the cishi of Yangzhou, Yue Lin, was disloyal to him, he killed Yue Lin (樂綝). He levied the government troops who had been engaged in husbandry in the military agricultural colonies in the various prefectures and districts in Huainan and Huaibei, some ten odd myriads of men, as well as those men in Yangzhou who had recently joined him and were able to bear arms, forty or fifty thousand men; he collected provisions, sufficient for a year, and thus planned to defend his position by closing all the city gates. He sent his changshi Wu Gang with his youngest son Zhuge Jing (諸葛靚) to the Wu to call himself a vassal and request help; he also requested them to make hostages of the sons and younger brothers of his yamen generals. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  16. Some of Sima Zhao’s advisers suggested that he massacre the people of Huainan because they had rebelled on numerous occasions. Sima Zhao declined this suggestion. Instead, he allowed the Wu soldiers to return home while he relocated many of the people of Huainan to the commanderies near the capital where they could make less trouble. He rewarded those generals who had surrendered and pardoned those who had rebelled. Zizhi Tongjian, Sima Guang.


  17. Summer fifth month (June 18-July 17). The Emperor appointed Sima Zhao to be xiangguo and enfeoffed him as Duke of Jin with an appanage of eight prefectures, conferring on him the Nine Gifts. Sima Zhao declined these honors nine times in all, after which the Emperor desisted. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  18. Summer, fourth month (April 28-May 27). The Emperor issued an edict to his officials that his former command should be obeyed: he again advanced the rank of the da jiangjun Sima Zhao to that of xiangguo and enfeoffed him as Duke of Jin, conferring on him the nine gifts. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  19. Observing that his power was on the wane day after day, the Emperor was unable to bear his vexation. In the fifth month, on the day jichou (June 2), he summoned the shizhong Wang Chen, the shangshu Wang Jing, and the sanji changshi Wang Ye, and spoke to them, “Sima Zhao's design is known to men walking on the street. I cannot sit still and suffer the disgrace of being dethroned by him. Today I intend to go out myself together with you and attack him.” Wang Jing said, “Of old, Duke Zhao of Lu was not able to bear the Ji; he was defeated and fled, thus being deprived of his throne. He became the laughing-stock of the whole world. At present, power has been lying in his House for a long time: within the Court and in the four quarters of the Empire, all are serving him with the utmost loyalty, even unto death, without paying attention to whether he is loyal or disloyal to the throne. This has not been going on for just a single day. Furthermore, the palace guard is depleted, their arms and weapons are few and weak. What does your Majesty rely on that you would act thus all of a sudden? Is it not like aggravating one's ailment, though one is bent on removing it? The disaster cannot be gauged; you ought to be prudent and cautious.” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  20. In the end, the Emperor unsheathed his sword, mounted his carriage and, leading the palace guards and menial servants of the palace, came out beating drums and clamoring. Sima Zhao's younger brother, the tunji jiaoyu Sima Zhou, met with the Emperor at the East Zhiche Men (Gate for Stopping Carriages). The attendants yelled at him. Sima Zhou and his men rushed off. The zhonghu jun Jia Chong was entering the palace from the outside; he met the Emperor and fought with him beneath the Southern Tower Gate. The Emperor himself wielded his sword; his horde wanted to retreat. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  21. The younger brother of the jidu Cheng Cui, the taizi sheren Cheng Ji asked Jia Chong, “The situation is urgent. What shall we do?” Jia Chong said, “His Excellency Sima Zhao has been supporting you people just in anticipation of today. Whatever you do today, you will not be held responsible.” Cheng Ji then drew out his spear and stepped forward to stab the Emperor, who met his death beneath his carriage. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  22. Hearing of this, Sima Zhao was greatly astonished and threw himself on the ground saying, “What will the world say of me?” The taifu Sima Fu hastened on the scene and, taking the Emperor's leg as a pillow, mourned him sorrowfully, saying, “It is my fault that Your Majesty is dead.” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  23. The Empress Dowager issued a command indicting the iniquities of the Duke of Gaoguixiang and degrading him to the rank of a commoner, to be interred with ceremonies befitting the common people; she also ordered the arrest of Wang Jing and the members of his family, who were to be turned over to the tingyu. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  24. On the day gengyin, the taifu Sima Fu and others memorialized the throne, requesting that the Duke of Gaoguixiang be interred with the ceremonies befitting a feudal prince; the Empress Dowager granted it. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  25. The Empress Dowager had the zhonghujun Sima Yan fetch the Duke of Changdaoxiang, Cao Huang, a son of the Prince of Yan, Cao Yu, from Ye, to make him an heir to Mingdi. Sima Yan was a son of Sima Zhao. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  26. On the day guimao (June 16), Sima Zhao earnestly declined to accept the appointment of xiangguo, Duke of Jin, and the bestowal of the Nine Gifts. The Empress Dowager in an edict granted her permission. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  27. On the day wushen, Sima Zhao sent up a memorial that Cheng Ji and his elder brother Cheng Cui had committed high treason, and that they and the members of their families should be exterminated. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  28. On the day jiayin (June 27), the Duke of Changdaoxiang entered Luoyang. On this day he ascended the Imperial Throne. He was fifteen years old. A general amnesty was granted and the reign title altered from Ganlu to Jingyuan. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  29. On the day bingchen (June 29), the Emperor in an edict advanced Sima Zhao's rank and conferred on him the Nine Gifts as before. Sima Zhao earnestly declined to accept the appointment, and so the Emperor desisted. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  30. Autumn, eighth month. on the day jiayin (October 20), the Emperor again advanced Sima Zhao's enfeoffment and rank, but he declined. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  31. From SGZ, Chronicle of the Prince of Chenliu, where it reads: “In the eighth month, on the day wuyin (September 14), Cao Gan, the Prince of Zhao, died. On the day jiayin, the Emperor again advanced the enfeoffment of the da jiangjun to that of Duke of Jin and conferred on him the rank of xiangguo, giving him the Nine Gifts, all as in his former edict. But he declined earnestly, whereupon the Emperor desisted.” The day jiayin does not exist in the eighth month of this year; it is the tenth day of the ninth month (October 20). Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  32. Sima Zhao was vexed because Jiang Wei had been time and time again making incursions into his territory. Lu Yi, a stableman, requested permission to go to Shu as an assassin. The congshi zhonglang Xun Xu said, “As Prime Minister of the Empire, Your Excellency ought to punish the rebels by fair means. But you would employ an assassin to eliminate the rebels; this is not the way to extend your example to the land within the four seas.” Sima Zhao approved. Xun Xu was a great-grandson of Xun Shuang. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  33. Sima Zhao wanted to send a large force to attack Han; most of the Court Officials disapproved, but the sili jiaoyu Zhong Hui alone advised him to do so. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  34. The Emperor, by an edict, mobilized the various troops on a large scale to attack Han. He sent the zhengxi jiangjun Deng Ai at the head of more than thirty thousand men to proceed from Didao towards Gansong and Dazhong to engage Jiang Wei. He sent the cishi of Yongzhou, Zhuge Xu, at the head of more than thirty thousand men to proceed from Qishan towards Wujie and Qiaotou to cut off Jiang Wei's retreat, and Zhong Hui at the head of some ten odd myriads of men to proceed from Yegu, Luogu and Ziwugu, towards Hanzhong. He appointed the tingyu Wei Guan to carry the Tally and serve as Superintendent of the troops of Deng Ai and Zhong Hui, acting as chenxi junsi. Wei Guan was a son of Wei Ji. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  35. Deng Ai advanced to Yinping. He chose picked troops and wanted to proceed, with Zhuge Xu, from Jiangyou to Chengdu. Zhuge Xu thought to himself that the original instructions he had received were to intercept Jiang Wei, and that going westwards was not mentioned in the Imperial edict. He therefore withdrew with his troops to Boshui, where he joined Zhong Hui. Zhong Hui sent the jiangjun Tian Chang and others to march from the west of Jiange towards Jiangyou. Tian Chang had not gone a hundred li when he destroyed three detachments of the Shu lying in ambush. Deng Ai made Tian Chang speed ahead; and so they marched forward, carrying all before them. Zhong Hui and Zhuge Xu moved their troops towards Jiange. Wanting to monopolize the military situation, Zhong Hui secretly memorialized the throne that Zhuge Xu was fainthearted and would not advance; he had him recalled in a cage-cart; his troops all went over to Zhong Hui's command. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  36. Jiang Wei maneuvered and guarded the defiles. Zhong Hui attacked him, but could not defeat him. As provisions had to be transported from afar and through difficult terrain, and as the army lacked food, he (Zhong Hui) wanted to retreat. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  37. Deng Ai sent his son Deng Zhong, Lord of Huitangting, with his men to attack Zhuge Zhan's right wing, and the sima Shi Zuan with his men to attack his left wing. Deng Zhong and Shi Zuan did not succeed in the battle. They both returned and said, “The rebels could not be beaten.” In anger, Deng Ai said, “To be or not to be depends on this one stroke. How dare you say they cannot be beaten?” He then ordered that Deng Zhong and Shi Zuan be beheaded. Deng Zhong and Shi Zuan galloped off and fought again, scoring a great victory over him. They killed Zhuge Zhan as well as Huang Chong. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  38. The Sovereign of Han still wished to enter the southern territory and so hesitated. Qiao Zhou sent up a memorial, “There are some who advise your Majesty that since the northern troops have penetrated far into our territory, you should go southwards. I, a stupid official, disapprove it as unsafe. Why do I think so? The distant barbarian land in the south formerly did not make a practice of bringing any tribute, but often revolted. Since the chengxiang Zhuge Liang pressed them hard with his troops, they in their necessity have been submissive to us. If you go now to the South, they will have to ward off the enemy externally and be responsible for your maintenance internally—their expenditures will be heavy; while there are no other resources to draw upon, the barbarian tribes will have to be drained; it is certain that they will revolt.”. Thereupon, the Sovereign of Han sent the shizhong Zhang Shao and others to carry his Imperial Seal and to surrender to Deng Ai on his behalf. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  39. In spring, in the second month (February 25-March 26), the Emperor again advanced Sima Zhao's enfeoffment and rank as before, but he again declined. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  40. From the following two sources. SGZ, Chronicle of the Prince of Chenliu: “In winter, in the tenth month, on the day jiayin (December 9), the Emperor again commanded in an edict that the da jiangjun should have his rank, enfeoffment, and gifts advanced, all as in the former edict.” Jin Shu, Chronicle of Wendi, gives a more detailed account: “In winter, in the tenth month, the Son of Heaven, because the various feudal lords reported their victories in succession, reiterated his former command, saying, '...[the text of the edict]...' Ducal and other ministers, and generals all betook themselves to the headquarters of the da jiangjun to convey the Imperial wishes, but Wendi declined out of modesty. The sigong Zheng Chong at the head of the myriad officials advised him to accept, saying, '...[the text of the petition]...' Thereupon Wendi accepted the appointment.” Thus he finally became xiangguo and Duke of Jin. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  41. Zhong Hui was a skillful imitator of other persons' calligraphy. When he was at Jiange, he intercepted Deng Ai's memorials and reports; he altered the diction and made his language wantonly arrogant, mostly boastful of his own achievements. He also destroyed the replies of the Duke of Jin; he forged new replies and made Deng Ai doubtful of his position. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  42. Zhong Hui received this letter with astonishment and addressed his intimates, “As for arresting Deng Ai, the xiangguo knows well that I can manage it singlehanded. Now he comes with an altogether large force; it must be that he has some suspicion of my intention. I must execute my plot speedily; if I succeed I shall obtain the Empire; if I fail, I may retire to Shu-Han, where I can still become another Liu Bei. Since the Huainan rebellion, I have never committed a single mistake in strategy. What else am I going to do with myself?” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  43. Jiang Wei wanted Zhong Hui to kill all the generals from the north, planning that he would afterwards kill Zhong Hui and massacre all the Wei troops, thus to restore the throne to the Sovereign of Han. He sent a secret letter to Liu Shan, “I wish that your Majesty would put up with a few days' disgrace. I am planning to restore the fallen dynasty, and make the obscured sun and moon shine again.” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  44. On the day dingchou (March 1), Zhong Hui summoned all the hujun, prefects (junshou), yamen and chitu and other higher officials, as well as the former officials of Shu to observe mourning for the Empress Dowager in the palace of Shu. He produced a false posthumous edict of the Empress Dowager ordering Zhong Hui to raise arms and dismiss Sima Zhao. He showed it to all those who were in the assembly and let them discuss it. He wrote down their agreement and gave official appointments; he had those in his confidence replace those who commanded the troops at that time. All the officials he had invited to observe the mourning he interned in the various government buildings of Yizhou. He also closed all the palace gates and city gates, and had troops guard those places strictly. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  45. Astonished, Zhong Hui said to Jiang Wei, “The troops are coming with some sinister intention. What shall we do?” Jiang Wei said, “There is nothing else to do but strike at them.” Zhong Hui sent his troops to kill the yamen and prefects he had until then held in confinement. Those within, however, piled up desks to blockade the doors. The troops attempted to hew the doors down, but could not break them open. Meanwhile, those outside the city gates scaled the walls with ladders, set fire to the walls and, in disorder, rushed in like a mass of ants. Arrows poured down like raindrops. The yamen and Prefects climbed to the roofs of the houses and came out; they then joined their own troops. Leading his attendants, Jiang Wei fought, killing five or six men by his own hand. The mass of troops grappled Jiang Wei and killed him, then rushed along and killed Zhong Hui. At that time, Zhong Hui was forty years old. Of Zhong Hui's generals and troops, several hundred were killed. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  46. On the day jimao (May 2), the rank of the Duke of Jin was advanced to that of King of Jin, with an additional ten prefectures as his fief. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  47. Fifth month. On the day gengshen (June 12), the King of Jin memorialized that the system of five ranks be restored; the jidu and higher officials, more than six hundred men, were enfeoffed. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  48. On the day guiwei (July 5), the Lord of Wenxuan of Wuyang, Sima Yi, was posthumously enfeoffed as King Xuan of Jin, and the Lord of Zhongwu (of Wuyang), Sima Shi as King Jing of Jin. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  49. From SGZ, Biography of Sun Hao, under the first year of Yuanxing, where it reads: “In this year, the Wei established the prefecture of Jiaozhi, and the taishou proceeded there to take up his post. Wendi of Jin, in his capacity as xiangguo of Wei, sent the Wu generals who had surrendered at the city of Shouchun, Xu Shao and Sun Yu, with a letter, under his order, to set forth the general situation and interests (of the parties concerned) in order to admonish Sun Hao.” This letter, advising Sun Hao to surrender, is reproduced in the Han Jin Chunqiu. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  50. SGZ has: “In the third month, Sun Hao sent his envoys in the company of Xu Shao and Sun Yu. The letter of reply to Sima Zhao read: 'I know that you, a man of unsurpassed talents, occupy the position of Prime Minister and are assiduous to the extreme in the guidance of state affairs. I, who am without virtue, have inherited the Imperial line. I consider taking the counsel of the worthy and the good to effect good rule. Since there are obstacles intervening between us, I have not had the opportunity to meet you. Your excellent intention is well displayed in your letter; I think of you affectionately. Now I am sending the guanglu dafu Ji Zhi and the wuguan zhonglangjiang Hong Qiu to convey my innermost thoughts.'” This letter is meant as a reply to Sima Zhao's letter referred to in 264 AD. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  51. The King of Jin wanted to appoint Sima Yu as Crown Prince. Shan Tao said, “It is against the rules of propriety as well as inauspicious to dismiss the elder and appoint the younger.” Jia Chong said, “The zhongfu jun Sima Yan possesses the virtues of a Sovereign; he should not be replaced.” He Ceng and Pei Xiu said, “The Zhongfu Jun {Sima Yan} is intelligent and far-sighted, and gifted with godlike prowess. People look up to him; thus is his Heaven-endowed appearance. His is certainly not the physiognomy of a subject of a Sovereign.” And so the King of Jin made up his mind. On the day bingwu (November 25), he appointed Sima Yan as Crown Prince. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  52. SGZ has: “In autumn, in the eighth month, on the day xinmao, the xiangguo, King of Jin, died.” Jin shu, Chronicle of Wendi states: “In autumn, in the eighth month, on the day xinmao, Wendi died in his main hall at the age of fifty-five.” Sima Zhao lived 211-265 AD. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  53. SGZ has: “On the day renchen (September 7), the Crown Prince of Jin, Sima Yan, succeeded to his enfeoffment and inherited his rank; he assumed the Presidency of the myriad officials and had gifts and documents of appointments conferred upon him, all in conformity with ancient institutions.” Jin shu, Chronicle of Wudi states: “In the second year of Xianxi, in the fifth month, Sima Yan was appointed Crown Prince of Jin. In the eighth month, on the day xinmao, Wendi died and the Crown Prince inherited his rank as xiangguo and King of Jin. He issued an order that punishments be eased and pardon be given to prisoners, and that the population be soothed and the corvee stopped, and that all in the land should wear mourning clothes for three days.” Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.

บรรณานุกรม[แก้]