หลวงพี่เท่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงพี่เท่ง
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับโน้ต เชิญยิ้ม
เขียนบทธีระธร สิริพันธ์วราภรณ์
อำนวยการสร้างธวัชชัย พันธ์ภักดี
นักแสดงนำ
กำกับภาพวิเชียร เรืองวิชญกุล
ตัดต่อสุนิตย์ อัศวินิกุล
ดนตรีประกอบแอทโมสเพียร์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายพระนครฟิลม์
วันฉาย3 มีนาคม พ.ศ. 2548
ความยาว92 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง10 ล้านบาท
ทำเงิน141.86 ล้านบาท
(เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)

หลวงพี่เท่ง (อังกฤษ: The Holy Man) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวตลกศาสนาฉายเมื่อปี พ.ศ. 2548 กำกับโดย โน้ต เชิญยิ้ม สร้างและจัดจำหน่ายโดย พระนครฟิล์ม เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุด หลวงพี่เท่ง แสดงนำโดย เท่ง เถิดเทิง, โน้ต เชิญยิ้ม, สราวุฒิ พุ่มทอง, สาวิกา ไชยเดช, สมชาย ศักดิกุล, เอ็ดดี้ ผีน่ารัก, สายัณห์ ดอกสะเดา, อ่าง เถิดเทิง, จุฑารัตน์ อัตถากร, มรกต มณีฉาย, เฉื่อย เถิดเทิง, อุบลวรรณ บุญรอด, จ๊อด เชิญยิ้ม, จเร เชิญยิ้มและวรวิทย์ ผ่องอินทรกุล ภาพยนตร์ทำเงิน 141.86 ล้านบาท (ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) กลายเป็นภาพยนตร์ไทยแนวตลกเรื่องแรกที่ทำเงินมากกว่า 100 ล้านบาท[1]

เนื้อเรื่อง[แก้]

หลวงพี่เท่ง (พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ) อดีตนักเลงเก่าที่ตอนนี้เปลี่ยนตัวเปลี่ยนใจมาบวชเป็นพระ ย้ายมาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ที่ซึ่งชาวบ้านกำลังเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนา ด้วยการหันไปพึ่งไสยศาสตร์ของแก๊งลวงโลกที่มี ท่านเพิ่ม (สมชาย ศักดิกุล) และพะเนียง (สาวิกา ไชยเดช) ลูกสาวที่หลอกเป็นเจ้าพ่อ หลวงพี่เท่งตั้งใจจะพัฒนาจิตใจชาวบ้านให้ดีขึ้นให้ได้ โดยมี มัคทายกส่ง (โน้ต เชิญยิ้ม) และเพี้ยน หรือ คุณมานะ (สราวุฒิ พุ่มทอง) 2 ลูกศิษย์วัดคอยช่วย แต่แล้ววันหนึ่ง เมื่อพะเนียงเกิดเปลี่ยนใจจะเลิกหลอกลวงชาวบ้าน ท่านเพิ่มจึงร่วมมือกับ นายพัฒนา หรือ ตุ๋ย (เฉื่อย เถิดเทิง) นักการเมืองท้องถิ่นที่จะลงสมัคร​เป็น​นายก อบต. ใส่ความหลวงพี่เท่งให้ออกไปพ้นจากวัด

นักแสดง[แก้]

ภาพยนตร์ หลวงพี่เท่ง
รับบทเป็น นักแสดงนำโดย
หลวงพี่เท่ง พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ
มัคทายกส่ง โน้ต เชิญยิ้ม
เพี้ยน / คุณมานะ สราวุฒิ พุ่มทอง
พะเนียง สาวิกา ไชยเดช
ท่านเพิ่ม สมชาย ศักดิกุล
นายพัฒนา (ตุ๋ย) เฉื่อย เถิดเทิง
หมึก วรวิทย์ ผ่องอินทรกุล
เลี้ยง เอ็ดดี้ ผีน่ารัก
เมียของเลี้ยง ราตรี วิทวัส
สารภี บุญถิ่น ทวยแก้ว
นางสม สาธิดา เขียวชอุ่ม
หงส์ สังข์ ดอกสะเดา
สรพงษ์ สุขุม เมธาวนิช
จูน จุฑารัตน์ อัตถากร
พี่ถึก หน่อย เชิญยิ้ม
อ่าง อ่าง เถิดเทิง
ปลาคาร์ฟ ปลาคาร์ฟ เชิญยิ้ม
กระรอก กระรอก เชิญยิ้ม
โว่ โว่ เชิญยิ้ม
โจ้ โจ้ ดอกมะดัน
ลูกน้องนายพัฒนา จเร เชิญยิ้ม
จ๊อด เชิญยิ้ม
รับบทเป็น นักแสดงรับเชิญ
นักเลงหน้าเหลี่ยม เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
เถ้าแก่เส็ง ถั่วแระ เชิญยิ้ม
เมียของเถ้าแก่เส็ง มรกต มณีฉาย
ผีสาว อุบลวรรณ บุญรอด
ตาย้อย เหี่ยวฟ้า
สายัณห์ สายัณห์ ดอกสะเดา
เจ๊นก นก เชิญยิ้ม
ลุงโกร่ง โกร่ง กางเกงแดง
แม่ของหลวงพี่เท่ง วันทนา บุญบันเทิง

ความสำเร็จและคำวิจารณ์[แก้]

หลวงพี่เท่ง นับเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 2 จากการกำกับเองของบำเรอ ผ่องอินทรีย์ หรือ โน้ต เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชื่อดัง หลังจากไม่ประสบความสำเร็จมาแล้วจาก คนปีมะ ภาพยนตร์เรื่องแรกซึ่งเป็นผลงานก่อนหน้านั้น สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถทำรายได้จากการฉายถึง 141.86 ล้านบาท นับว่าเป็น 1 ในภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จทางรายได้อย่างมาก ลบคำสบประมาทที่ว่านักแสดงตลกมากำกับเองแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ จนต้องมีการสร้างภาคต่อมา คือ หลวงพี่เท่ง 2 รุ่นฮาร่ำรวย

หลวงพี่เท่ง เป็นภาพยนตร์แนวตลก เสนอวิถีชีวิตของชาวไทยในชนบทที่ละเลยศาสนาพุทธแต่ละกลับหันไปงมงายกับไสยศาสตร์ที่เกิดจากการหลอกลวง หลวงพี่เท่งพระหนุ่มที่พึ่งมาจำพรรษาที่วัดในชุมชนนี้จึงต้องต่อสู้กับความไม่รู้และความงมงายของชาวบ้าน สุดท้ายแล้วฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายมีชัย

การเล่าเรื่องของเรื่องหลวงพี่เท่งดำเนินเรื่องอย่างเรียบง่าย มีการสอดแทรกมุขตลกตามรสนิยมคนไทย ได้รับคำวิจารณ์ว่า เท่ง เถิดเทิง แสดงได้ดีมาก มุขตลกในเรื่องไม่ถึงกับตลกจนน้ำตาเล็ด แต่ก็สามารถดูได้อย่างคลายเครียดได้ และมีข้อคิดอีกด้วย

แต่ก็มีบางส่วนเห็นว่า ไม่สนุกเลยและไม่ตลกด้วย รวมถึงการตัดต่อก็กระโดดไปกระโดดมา[2]

ต่อมาได้มีการฉายทางโทรทัศน์ทางช่อง 3 ในรายการ หนังดังวันหยุด ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลวงพี่เท่ง เป็น 1 ใน 100 หนังไทยแห่งทศวรรษจากการสำรวจของนิตยสารไบโอสโคป [3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ย้อนเรื่องราว 'หลวงพี่เท่ง' หนังตลกในบทพระเรื่องแรกของไทยที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2018-11-21.
  2. คำวิจารณ์จากเว็บไซต์ siamzone
  3. "นิตยสารไบโอสโคปเผยรายชื่อ "100หนังไทยแห่งทศวรรษ" (2543-2552)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]