ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชิงร้อยชิงล้าน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poonpun2016 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
* [[ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์]] (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
* [[ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์]] (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)


*
=== พิธีกรรับเชิญ ===
* [[เกียรติ กิจเจริญ]] (2564 - ปัจจุบัน;ทำหน้าที่แทน [[วรัทยา นิลคูหา]])
* [[สัญญา คุณากร]] (2564 - ปัจจุบัน;ทำหน้าที่แทน [[ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์]])


===นักแสดงประจำรายการ===
===นักแสดงประจำรายการ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:24, 9 สิงหาคม 2563

ชิงร้อยชิงล้าน
ไฟล์:ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว 2.jpg
ตราสัญลักษณ์
ประเภทเกมโชว์
วาไรตี้โชว์
สร้างโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
มีเดีย ออฟ มีเดียส์ (2549–2552)
เสนอโดยวรัทยา นิลคูหา
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำเวิร์คพอยท์สตูดิโอ (2549–ปัจจุบัน)[a]
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์ (2558–ปัจจุบัน)[b]
ออกอากาศ17 มกราคม 2533

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย[1]ปัจจุบันเป็นรายการประเภทวาไรตี้โชว์ ดำเนินรายการโดย วรัทยา นิลคูหา ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ และแก๊งสามช่า ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14:15 - 15:45 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์

ประวัติ

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางช่อง 7 HD หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 3 HD เมื่อวันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทางช่อง 7 HD อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึง พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทาง ช่อง 3 HD อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนปัจจุบันได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา

ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ออกอากาศมานี้ มีการปรับปรุงรูปแบบรายการ และเวลาการออกอากาศอยู่หลายครั้ง ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่รายการมีเพียง 1 ชั่วโมง โดยออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 22:00 - 23:00 น. ในชิงร้อยชิงล้าน (ยุคแรก) จนถึงยุค ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ต่อมาได้ขยายเวลาออกอากาศเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง ตั้งแต่วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 ในยุคของ ชิงร้อยชิงล้าน Supergame เป็นต้นมา จนกระทั่งในยุคของ ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ได้มีการเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศเป็นทุกวันอังคาร เวลา 22:25 - 00:20 น. ตั้งแต่วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแต่เดิมออกอากาศทุกวันพุธมาโดยตลอด 19 ปีเต็ม จนกระทั่งในยุคของ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ได้มีการมีเปลี่ยนแปลงวันและเวลาออกอากาศใหม่ เป็นทุกบ่ายวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะชิงร้อยชิงล้านได้ออกอากาศในเวลากลางคืนหลังเวลา 22:00 น. มาตลอดระยะเวลา 22 ปี

ชื่อรายการ

ชิงร้อยชิงล้าน มีการเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งสิ้น 8 ครั้งโดยจะคงคำว่า ชิงร้อยชิงล้าน ไว้เสมอ โดยมีรายชื่อดังนี้[ต้องการอ้างอิง]

  1. ชิงร้อยชิงล้าน (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536)
  2. ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret (22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537)
  3. ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538)
  4. ชิงร้อยชิงล้าน Super Game (3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541)
  5. ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551) และ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
  6. ชิงร้อยชิงล้าน 20th Century Tuck (2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 28 เมษายน พ.ศ. 2552)
  7. ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day (1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
  8. ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)

ผู้ดำเนินรายการ

พิธีกรประจำรายการ

นักแสดงประจำรายการ

  • เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก) (เดิมหม่ำใช้ชื่อว่า คเชนทร์) (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน)
  • พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ (เท่ง เถิดเทิง) (27 สิงหาคม พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน)
  • วันชาติ พึ่งฉ่ำ (หนู คลองเตย) (4 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2541 ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 4 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2541 ; เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2548)
  • ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข (โหน่ง ชะชะช่า) (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 8 กันยายน พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน)
  • บุญญาวัลย์ พงษ์สุวรรณ (ส้มเช้ง สามช่า) (7 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 9 มกราคม พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)
  • สุดารัตน์ บุตรพรม (ตุ๊กกี้ ชิงร้อย) (9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2560 ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่า)
  • ศิวดล จันทเสวี (ท็อฟฟี่ สามบาทห้าสิบ) (12 มีนาคม - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ กลางปี - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
  • ภาณุพันธ์ ครุฑโต (พัน พลุแตก) (พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน ; เป็นสมาชิกแก๊งสามช่าตั้งแต่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน)

รูปแบบรายการ

รูปแบบของรายการในยุค ชิงร้อยชิงล้าน Wow Wow Wow แบ่งรายการออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

  1. ตัวอย่างรายการ
  2. ละครสามช่า
  3. แข่งเกม 3 ช่า
  4. แจ่มว้าวไทยแลนด์

รางวัลที่ได้รับ

  • รางวัลเมขลา ประเภทรายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น (ปี 2533)[2]
  • รางวัล TOP AWARDS 2004 ประเภทเกมโชว์ยอดเยี่ยม โดยนิตยสารทีวีพูล (15 ก.พ.2548)[2]

กระแสตอบรับของรายการ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น” ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13-21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการชิงร้อยชิงล้านร้อยละ 20.3 [3]

เชิงอรรถ

  1. ในอดีต สตูดิโอช่อง 7 HD (2533 - 2540) สตูดิโอกรุงเทพฯ (2541 - 2549)
  2. ในอดีต ช่อง 7 เอชดี (2533–2540,2549–2554) ช่อง 5 (2541–2548) ช่อง 3 เอชดี (2541,2555–2558)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น