การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการประชาธิปไตยจีนในปี 1989, การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 และสงครามเย็น
วันที่15 เมษายน – 4 มิถุนายน 2532
สถานที่กรุงปักกิ่งและอีก 400 นครทั่วประเทศ
จัตุรัสเทียนอันเหมิน 39°54′12″N 116°23′30″E / 39.90333°N 116.39167°E / 39.90333; 116.39167พิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′12″N 116°23′30″E / 39.90333°N 116.39167°E / 39.90333; 116.39167
สาเหตุ
เป้าหมายยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวงในพรรคคอมมิวนิสต์ การปฏิรูปประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการสมาคม
วิธีการการประท้วงอดอาหาร ปักหลักชุมนุม การยึดพื้นที่จัตุรัสสาธารณะ
ผล
  • การบังคับใช้กฎอัยการศึกที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เผิงประกาศในบางพื้นที่ของกรุงปักกิ่ง ดำเนินการโดยใช้บังคับตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2532 (ประกาศ 20 พฤษภาคม 2532 – 10 มกราคม 2533 รวม 7 เดือน 3 สัปดาห์)
  • พลเรือน รวมทั้งคนมุง ผู้ประท้วง (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงาน) และผู้ก่อจลาจลกีดขวางทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน ถูกทหารยิงในหลายจุดในกรุงปักกิ่ง (ยกเว้นจัตุรัสเทียนอันเหมิน)
  • มีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน และได้รับบาดเจ็บหลายพันคนทั้งในและนอกจัตุรัสเทียนอันเหมิน
  • ผู้ก่อจลาจลฆ่าทหารหลายนาย และมีหลายพันนายได้รับบาดเจ็บในวันที่ 3 และ 4 มิถุนายนหลังพลเรือนถูกฆ่า
  • มีการประท้วงทั่วประเทศเพื่อตอบโต้การปราบปราม
  • ภายหลังผู้นำการประท้วงและผู้เรียกร้องประชาธิปไตยบางคนถูกเนรเทศหรือจำคุก
  • ประหารชีวิตผู้ก่อจลาจลที่ถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมรุนแรงในอีกไม่กี่เดือนต่อมา
  • ขบวนการประชาธิปไตยถูกปราบปราม
  • จ้าว จื่อหยางถูกถอดออกจากตำแหน่งเลขาธิการและคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรค
  • เติ้ง เสี่ยวผิงแต่งตั้งเจียง เจ๋อหมิน เดิมเป็นเลขาธิการพรรคเซี่ยงไฮ้ เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และผู้นำสูงสุด
  • ประเทศตะวันตกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและอาวุธต่อประเทศจีน
  • เริ่มปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด
  • การปฏิรูปตลาดล่าช้า
  • การควบคุมสื่อเข้มงวดขึ้น
  • การปฏิรูปการเมืองหยุดชะงัก
คู่ขัดแย้ง
  • สหพันธ์ปกครองตนเองนักศึกษาปักกิ่ง
  • สหพันธ์ปกครองตนเองแรงงานปักกิ่ง
  • นักศึกษามหาวิทยาลัย
  • แรงงานโรงงาน
  • ผู้อยู่อาศัยในกรุงปักกิ่ง
  • ผู้ประท้วงฝักใฝ่ประชาธิปไตย
  • นักปฏิรูป
  • ผู้ภักดีต่อสาธารณรัฐจีน (民國派)
  • ผู้นำ

    สายแข็ง:

    สายกลาง:

    ความเสียหาย
    เสียชีวิตไม่มีตัวเลขแน่นอน มีประมาณตั้งแต่หลักร้อยถึงแสนคน[1]

    การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (อังกฤษ: Tiananmen Square protests) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในจีนแผ่นดินใหญ่ว่า เหตุการณ์ 4 มิถุนายน (อังกฤษ: June Fourth Incident; จีน: 六四事件; พินอิน: liùsì shìjiàn) เป็นการเดินขบวนที่มีนักศึกษาเป็นหัวหน้า จัดในจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งระหว่างปี 2532 ขบวนการประชาชนระดับชาติได้รับบันดาลใจจากผู้ประท้วงกรุงปักกิ่ง บ้างเรียก ขบวนการประชาธิปไตยปี 89 (จีน: 八九民运; พินอิน: bājiǔ mínyùn) หรือหากเรียกว่า การสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (อังกฤษ: Tiananmen Square Massacre; จีน: 天安门大屠杀; พินอิน: Tiān'ānmén dà túshā) จะหมายถึงเหตุที่ทหารจีนที่ใช้ปืนเล็กยาวและรถถังยิงผู้ประท้วงและผู้พยายามกีดขวางการยาตราเข้าพื้นที่จัตุรัส การประท้วงเริ่มต้นในวันที่ 15 เมษายนและถูกปราบปรามด้วยกำลังในวันที่ 4 มิถุนายนเมื่อรัฐบาลประกาศกฎอัยการศึกและส่งกองทัพเข้ายึดครองส่วนกลางของกรุงปักกิ่ง มีเหตุการณ์ที่ทหารถือปืนเล็กยาวจู่โจมและรถถังยิงใส่ผู้ประท้วงและผู้พยายามขัดขวางการรุกของกองทัพเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเรียก การสังหารหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน มีประมาณยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคน[2][3][4][5][6][7]

    การประท้วงดัวกล่าวเกิดจากผู้นำคอมมิวนิสต์สายปฏิรูป หู ย่าวปัง เสียชีวิตในเดือนเมษายน 2532 ท่ามกลางฉากหลังที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในประเทศจีนหลังยุคเหมา ผู้ประท้วงสะท้อนความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศในความสำนึกของประชาชนและในหมู่อภิชนทางการเมือง การปฏิรูปในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาดเพิ่งเริ่มใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม แต่ทำให้คนที่เหลือเอาใจออกห่างอย่างรุนแรง และระบบพรรคการเมืองเดียวยังเผชิญกับการท้าทายความชอบธรรม ความเดือดร้อนทั่วไปในเวลานั้นได้แก่เงินเฟ้อ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเตรียมพร้อมบัณฑิตสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่มีจำกัด[8] และการจำกัดการมีส่วนร่วมทางการเมือง นักศึกษายังเรียกร้องให้รัฐบาลมีภาระความรับผิดเพิ่มขึ้น กระบวนการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพในการพูด แม้นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการจัดตั้งและมีเป้าหมายหลากหลาย ในช่วงที่การประท้วงสูงสุด มีประชาชนประมาณ 1 ล้านคนชุมนุมในจัตุรัส[9]

    ขณะที่การประท้วงพัฒนา ทางการตอบโต้ทั้งด้วยยุทธวิธีประนอมและสายแข็ง ซึ่งเปิดเผยความแตกแยกร้าวลึกในหมู่หัวหน้าพรรค[10] เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม การประท้วงอดอาหารที่นักศึกษานำทำให้เกิดการสนับสนุนการเดินขบวนท่วประเทศ และการประท้วงแพร่ไปยังนคร 400 แห่ง[11] สุดท้ายผู้นำสูงสุดของจีน เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้อาวุโสในพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่นเชื่อว่าการประท้วงเป็นภัยคุกคามทางการเมืองและตัดสินใจใช้กำลัง[12][13] สภารัฐประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคมและระดมทหารประมาณ 300,000 นายมายังกรุงปักกิ่ง[11] ทหารบุกเข้าสู่ส่วนกลางของกรุงปักกิ่งผ่านถนนสำคัญของนครในเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน และฆ่าผู้เดินขบวนและคนมุงไปพร้อมกัน

    ชุมชนนานาชาติ องค์การสิทธิมนุษยชนและนักวิเคราะห์การเมืองประณามรัฐบาลจีนจากการสังหารหมู่ ประเทศตะวันตกกำหนดการคว่ำบาตรอาวุธต่อประเทศจีน[14] รัฐบาลจีนจับกุมผู้ประท้วงและผู้สนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปราบปรามการประท้วงอื่นทั่วประเทศ ควบคุมการรายงานเหตุการณ์ของสื่อในประเทศอย่างเข้มงวด เสริมกำลังตำรวจกำลังความมั่นคงภายใน และลดระดับหรือขับไล่เจ้าหน้าที่ที่ดูฝักใฝ่การประท้วง[15] กล่าวให้กว้างขึ้น การปราบปรามชะลอนโยบายการเปิดเสรีในคริสต์ทศรรษ 1980 การประท้วงดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์พลิกผัน และกำหนดข้อจำกัดการแสดงออกทางการเมืองในประทศจีนจวบจนปัจจุบัน[16] ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สัมพันธ์กับการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมขอการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง และเป็นหัวข้อที่มีการตรวจพิจารณามากที่สุดในประเทศจีน[17][18]

    ดูเพิ่ม[แก้]

    อ้างอิง[แก้]

    1. "เผยมีผู้เสียชีวิตในเหตุจัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างน้อยหมื่นคน". BBC News ไทย. 27 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2021.
    2. How Many Died 1990.
    3. Sino-American relations 1991, p. 445.
    4. Brook 1998, p. 154.
    5. Kristof:Reassessing Casualties.
    6. RichelsonEvans 1999b.
    7. Calls for Justice 2004.
    8. Brook 1998, p. 216.
    9. D. Zhao 2001, p. 171.
    10. Saich 1990, p. 172.
    11. 11.0 11.1 Thomas 2006.
    12. Miles 2009.
    13. Declassified British cable.
    14. Dube 2014.
    15. Miles 1997, p. 28.
    16. "Prosperity, repression mark China 30 years after Tiananmen". AP. 3 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2019.
    17. Consequences.
    18. Goodman 1994, p. 112.

    บรรณานุกรม[แก้]