โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง
ผู้ประพันธ์ | เท็ตสึโกะ คูโรยานางิ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | มาโดงิวะ โนะ ทตโตะ-จัง |
ผู้แปล | ผุสดี นาวาวิจิต |
ผู้วาดภาพประกอบ | ชิฮิโระ อิวาซากิ |
ศิลปินปก | ชิฮิโระ อิวาซากิ |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ประเภท | วรรณกรรมเด็ก, นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ |
สำนักพิมพ์ | โคดันชะ (ญี่ปุ่น) กะรัต (ไทย) ผีเสื้อ (ไทย) |
วันที่พิมพ์ | พ.ศ. 2524 |
ชนิดสื่อ | สิ่งพิมพ์ |
โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง (ญี่ปุ่น: 窓ぎわのトットちゃん; โรมาจิ: Madogiwa no Totto-chan; ทับศัพท์: มาโดงิวะ โนะ ทตโตะ-จัง) เป็นหนังสือบันทึกอัตชีวประวัติเขียนโดยเท็ตสึโกะ คูโรยานางิ[a] ผู้เป็นบุคคลสำคัญในวงการโทรทัศน์ญี่ปุ่นและเป็นทูตสันถวไมตรีของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หนังสือตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2524 และกลายเป็น "หนังสือขายดีทันที" ในญี่ปุ่น[1] หนังสือเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าของการศึกษานอกแบบแผน ที่คูโรยานางิได้รับระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โรงเรียนโทโมเอะ[b] โรงเรียนประถมศึกษาในโตเกียวที่ก่อตั้งโดยนักการศึกษาโซซากุ โคบายาชิ[c][1][2]
ชื่อภาษาญี่ปุ่นของหนังสือมาจากสำนวนที่ใช้กล่าวถึงบุคคลที่สังคมมองว่าเป็นผู้ล้มเหลว[3]
ภูมิหลัง
[แก้]หลังจากเท็ตซึโกะได้ยินว่าเด็ก ๆ หลายคนในญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะไปโรงเรียน จึงตัดสินใจเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของเธอที่เคยเข้าเรียนโรงเรียนโทโมเอะ[4] โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่างได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในฐานะชุดบทความในนิตยสารยังวูแมนของสำนักพิมพ์โคดันชะ เผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2523 จากนั้นบทความได้รับการรวบรวมเป็นหนังสือซึ่งสร้างประวัติศาสตร์การตีพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วยยอดขายมากกว่า 5 ล้านเล่มก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2525 ทำให้หนังสือเล่มนี้ทำลายสถิติการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ทั้งหมดและกลายเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[3][5]
ฉบับแปลภาษาไทยแปลโดยผุสดี นาวาวิจิต พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์กะรัตในปี พ.ศ. 2527 ฉบับแปลภาษาอังกฤษแปลโดยโดโรที บริตตัน (Dorothy Britton) ตีพิมพ์ในอเมริกาในปี พ.ศ. 2527[1] หนังสือได้รับการแปลในหลายภาษา ได้แก่ ภาษาอาหรับ, ภาษาพม่า, ภาษาจีน, ภาษาดัตช์, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอิตาลี, ภาษาเยอรมัน, ภาษาเกาหลี, ภาษามาเลย์, ภาษาเนปาล,[6] ภาษาตากาล็อก, ภาษาเวียดนาม, ภาษาอินโดนีเซีย, ภาษารัสเซีย, ภาษาอุยกูร์, ภาษาสิงหล และภาษาลาว และภาษาถิ่นอินเดีย 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาฮินดี, ภาษามราฐี, ภาษาคุชราต, ภาษาเตลูกู, ภาษาอัสสัม, ภาษากันนาดา, ภาษาทมิฬ, ภาษามลยาฬัม, ภาษาเบงกอล และภาษาโอริยา[7]
หนังสือรวมเรื่องเล่าสองภาษา (ญี่ปุ่น-อังกฤษ) จากหนังสือโต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่างชื่อหนังสือว่า Best of Totto-chan: Totto Chan: The Little Girl at the Window ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2539[8]
เนื้อเรื่อง
[แก้]หนังสือเริ่มต้นด้วยการที่แม่ของโต๊ะโตะจังรู้ว่าลูกสาวถูกไล่ออกจากโรงเรียนรัฐ แม่ของโต๊ะโตะจังตระหนักว่าโต๊ะโตะจังต้องการโรงเรียนที่ให้เสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น จึงพาโต๊ะโตะจังไปพบกับคุณครูโคบายาชิซึ่งเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนโทโมเอะที่เป็นโรงเรียนแห่งใหม่ โต๊ะโตะจังและคุณครูโคบาบายาชิได้เริ่มความสัมพันธ์ครู-อาจารย์ฉันมิตร
หนังสือเล่าถึงเพื่อน ๆ ที่โต๊ะโตะจังได้รู้จัก บทเรียนที่เธอได้เรียนรู้ และบรรยากาศอันมีชืวิตชีวาที่เธอได้รับที่โรงเรียนโทโมเอะ คุณครูโคบายาชิแนะนำกิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน คุณครูโคบายาชิเข้าใจเด็ก ๆ และพยายามพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจของพวกเขา คุณครูโคบายาชิเป็นห่วงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและเน้นย้ำว่าเด็กทุกคนล้วนยอดเยี่ยม โต๊ะโตะจังกลายมาเป็นเพื่อนสนิทกับเด็กชายคริสเตียนผู้เป็นโรคโปลิโอ มีเพื่อนร่วมชั้นอีกคนหนึ่งซึ่งเติบโตในอเมริกาและไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ ครูใหญ่จึงบอกเด็ก ๆ ให้เรียนภาษาอังกฤษจากเขา แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะห้ามใช้ภาษาของ "ศัตรู" ก็ตาม บทส่งท้ายได้อธิบายเรื่องที่ครูใหญ่โคบายาชิมีความเกี่ยวข้องที่ดีกับกลุ่มบุคคลระดับผู้นำในรัฐบาล
ในโรงเรียนแห่งนี้ เด็ก ๆ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลก เวลานั้นสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีสัญญาณให้เห็น มีการใบ้ถึงเรื่องนี้จากการที่โต๊ะโตะจังไม่สามารถซื้อลูกอมคาราเมลจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติระหว่างทางไปโรงเรียน และแม่ของโต๊ะโต๊ะพบว่าการจัดอาหารกลางวันอย่างสมดุลให้โต๊ะโตะจังกลายเป็นเรื่องยากไป ในอีกฉากหนึ่ง มีเด็กชายที่ร้องไห้โฮเพราะต้องย้ายออกจากโรงเรียนเพราะเหตุจำเป็นของพ่อแม่ ครูใหญ่โคบายาชิปล่อยให้นักเรียนได้ระบายความรู้สึกอย่างช่วยไม่ได้ ในขณะที่ตัวคุณครูโคบายาชิเองก็มีน้ำตาไหล
ในคืนวันหนึ่ง โรงเรียนโทโมเอะถูกทิ้งระเบิดและไม่เคยถูกสร้างขึ้นใหม่อีกเลย แม้ว่าครูใหญ่โคบายาชิบอกว่าตนตั้งตารอที่จะสร้างโรงเรียนที่ดีกว่าเดิมในครั้งหน้าก็ตาม เหตุการณ์นี้ทำให้ช่วงเวลาที่โต๊ะโตะจังเป็นนักเรียนของโรงเรียนโทโมเอะสิ้นสุดลง
การใช้ในห้องเรียน
[แก้]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา หนังสือโต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่างถูกนำมาใช้เป็นตำราเรียนสำหรับนักเรียนประถมศีกษาชั้นปีที่ 3 ของญี่ปุ่น[4] และโรงเรียนในอเมริกาอย่างน้อยหนึ่งแห่งก็ได้ใช้เนื้อหาจากหนังสือเล่มนี้ (พ.ศ. 2526)[9]
ในจังหวัดไอจิ หนังสือเล่มนี้ถูกห้ามมีในห้องสมุดโรงเรียนเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ ซึ่งในเวลานั้นถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต้อยต่ำ หนังสืออื่น ๆ ที่ถูกห้ามจากการมีในโรงเรียนในจังหวัดไอจิในปี พ.ศ. 2524 ได้แก่หนังสือเกี่ยวกับเสรีนิยมและคตินิยมสิทธิสตรี และตำราเรียนประวัติศาสตร์ของซาบูโร อิเอนางะซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาชญากรสงครามญี่ปุ่น[10]
ผลงานที่เกี่ยวข้อง
[แก้]คูโรยานางิก่อตั้งมูลนิธิโต๊ะโตะจังซึ่งฝึกอบรมนักแสดงหูหนวกเพื่อนำละครเวทีสดมาสู่ชุมชนผู้หูหนวก
ในปี ค.ศ. 1999 คูโรยานางิเขียนหนังสือ โต๊ะโตะจังกับโต๊ะโตะจังทั้งหลาย เรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางรอบโลกของเธอในภารกิจด้านมนุษยธรรมในฐานะทูตสันถวไมตรีของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ[1]
ผลงานดนตรีวงดุริยางค์ที่ตีความจากเรื่องโต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่างประพันธ์ดนตรีโดยอากิฮิโระ โคโมรินักประพันธ์เพลงอย่างญี่ปุ่น จำหน่ายในรูปแผ่นเสียง
ภาพยนตร์อนิเมะดัดแปลงมีการประกาศสร้างในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผลิตโดยสตูดิโอชินเอแอนิเมชัน กำกับโดยชินโนซูเกะ ยากูวะ เขียนบทโดยยากูวะและโยซูเกะ ซูซูกิ ออกแบบตัวละครโดยชิซูเอะ คาเนโกะ และประพันธ์ดนตรีประกอบโดยยูจิ โนมิ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566[11][12] และเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567[13][14]
การแปล
[แก้]- तोत्तो-चान : खिड़की में खड़ी नन्ही लड़की― ฉบับแปลภาษาฮินดีโดย Purva Yagnik Kushwaha[1]
- तोत्तो-चान : खिडकी पासची चिमुरडी― ฉบับแปลภาษามราฐีโดย Chetana Sardeshmukh Gosavi[2]
- ತೊತ್ತೋ ಚಾನ್― ฉบับแปลภาษากันนาดาโดย V Gayathri[3]
- හරි පුදුම ඉස්කෝලේ (The Wonderful School) - ฉบับแปลภาษาสิงหล ศรีลังกา โดย Leelananda Gamachchi[15]
- তোত্তো-চান― ฉบับแปลภาษาเบงกอลโดย Moushumi Bhowmik[4]
- তোত্তোচান: জানালার ধারে ছোট্ট মেয়েটি― ฉบับแปลภาษาเบงกอลโดย Chaity Rahman
- तोत्तो-चान,झ्यालमा रमाउने त्यो सानी केटी.― ฉบับแปลภาษาเนปาล เนปาล โดย Dr. Saroj Dhital[6]
- 'ஜன்னலில் ஒரு சிறுமி' - ฉบับแปลภาษาทมิฬโดย A Vallinayagam, C. Prabhakaran[16]
- 'ടോട്ടോ-ചാൻ - ജനാലയ്ക്കരികിലെ വികൃതിക്കുട്ടി ฉบับแปลภาษามลยาฬัมโดย Anwar Ali ตีพิมพ์ครั้งแรกโดย Kerala Shastra Sahitya Parishad และภายหลังตีพิมพ์โดย NBS
- ত’ত্ত’চ্চান - ฉบับแปลภาษาอัสสัมโดย Toshprabha Kalita
- توت تو چان - کھڑکی پر کھڑی چھوٹی سی لڑکی - ฉบับแปลภาษาอูรดูโดย Tahera Hasan ตีพิมพ์โดย National book trust India ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 และครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 2008
- توتوچان: دخترکی آن سوی پنجره - ฉบับแปลภาษาเปอร์เซียโดย Simin Mohseni (978-964-185-257-5)[17]
- مدرسه رؤیایی: توتوچان دختر کوچکی پشت پنجره - ฉบับแปลภาษาเปอร์เซียโดย Soussan Firoozi (978-600-119-569-3)[17]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Walker, James. "BIG IN JAPAN: Tetsuko Kuroyanagi". metropolis.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ Otake, Tomoko (September 16, 2000). "UNICEF ambassador blames politics for plight of children". www.japantimes.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ 3.0 3.1 Chira, Susan (November 21, 1982). "GROWING UP JAPANESE". www.nytimes.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ 4.0 4.1 Kuroyanagi, Tetsuko (1 April 1983). "On Totto-Chan". Japan Quarterly. 30 (2): 153. ProQuest 1304281916.
- ↑ Burton, Sandra; Richard Stengel (Aug 1, 1983). "Little Girl at the TV Window". www.time.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
- ↑ 6.0 6.1 "TOTTOCHAN - NEPALI - GREATEST BOOK ON EDUCATION". Archive. สืบค้นเมื่อ 10 Dec 2019.
- ↑ "The Beginning was to Stand Up". arvindguptatoys.com.
- ↑ "Best Of Totto Chan". สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ Gillespie, Joanne S. (1993). "Buddy Book Journals: Responding to Literature". The English Journal. 82 (6): 66. doi:10.2307/820169. ISSN 0013-8274. JSTOR 820169.
- ↑ List of banned books through 1999[ลิงก์เสีย]
- ↑ 黒柳徹子「窓ぎわのトットちゃん」が劇場アニメ化、2023年冬に公開予定. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. March 20, 2023. สืบค้นเมื่อ March 20, 2023.
- ↑ Mateo, Alex (July 10, 2023). "Totto-Chan: The Little Girl at the Window Anime Film's Trailer Reveals December 8 Premiere, Main Cast". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 10, 2023.
- ↑ "โต๊ะโตะจังเด็กหญิงข้างหน้าต่าง". เอสเอฟ ซีเนม่า. สืบค้นเมื่อ August 15, 2024.
- ↑ "โต๊ะโตะจังเด็กหญิงข้างหน้าต่าง". เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-09. สืบค้นเมื่อ August 15, 2024.
- ↑ "Hari Puduma Iskole – Leelananda Gamachchi". Sinhala Ebooks. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "TOTTOCHAN - Tamil". Archive.
- ↑ 17.0 17.1 "Totto-Chan: The Little Girl at the Window (توتوچان: دخترکی آن سوی پنجره) | تتسوکو کورویاناگی". IranKetab | ایرانکتاب.