ข้ามไปเนื้อหา

โกลกาตา

พิกัด: 22°34′21″N 88°21′50″E / 22.5726°N 88.3639°E / 22.5726; 88.3639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกลกาตา

แคลคัตตา
จากด้านบนตามเข็มนาฬิกา: พระราชานุสรณ์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (โกลกาตา), อาสนวิหารนักบุญเปาโล, ย่านศูนย์กลางธุรกิจ, สะพานรพินทระเสตุ, รถรางในเมือง, วิทยาสาครเสตุ
จากด้านบนตามเข็มนาฬิกา: พระราชานุสรณ์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (โกลกาตา), อาสนวิหารนักบุญเปาโล, ย่านศูนย์กลางธุรกิจ, สะพานรพินทระเสตุ, รถรางในเมือง, วิทยาสาครเสตุ
สมญา: 
เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของอินเดีย[1]
โกลกาตาตั้งอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก
โกลกาตา
โกลกาตา
โกลกาตาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
โกลกาตา
โกลกาตา
โกลกาตาตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
โกลกาตา
โกลกาตา
โกลกาตาตั้งอยู่ในโลก
โกลกาตา
โกลกาตา
พิกัด: 22°34′21″N 88°21′50″E / 22.5726°N 88.3639°E / 22.5726; 88.3639
ประเทศ อินเดีย
รัฐ เบงกอลตะวันตก
อำเภอโกลกาตา[2][3][4][5][6]
การปกครอง
 • ประเภทองค์การเทศบาล
 • องค์กรองค์การเทศบาลโกลกาตา
 • นายกเทศมนตรีFirhad Hakim (AITC)
พื้นที่[7][8]
 • เมกะซิตี206.08 ตร.กม. (79.151 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,886.67 ตร.กม. (728.45 ตร.ไมล์)
ความสูง9 เมตร (30 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[7][9]
 • เมกะซิตี4,496,694 คน
 • อันดับที่ 7
 • ความหนาแน่น22,000 คน/ตร.กม. (57,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[10][11]14,617,882 คน
 • อันดับในเขตมหานครที่ 3
เดมะนิมโกลกาตาน
Calcuttan
ภาษา
 • ทางการเบงกอล
อังกฤษ[12]
 • ทางการเพิ่มเติมฮินดี, อูรดู, เนปาล, โอริยา, สันถาลี, ปัญจาบ, ราชพังสี[12]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ZIP700 xxx
รหัสพื้นที่+91-33
ทะเบียนพาหนะWB-01 ถึง WB-10
HDI (2004)เพิ่มขึ้น 0.78[13] (สูง)
เว็บไซต์kmcgov.in
ถนนสายหนึ่งในเมืองโกลกาตา
หอสมุดแห่งชาติในเมืองโกลกาตา

โกลกาตา (อังกฤษ: Kolkata; เบงกอล: কলকাতা) หรือชื่อเดิม แคลคัตตา (อังกฤษ: Calcutta) เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮุกลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองนี้มีจำนวนประชากร 4,580,544 คน (พ.ศ. 2544) ซึ่งหากนับรวมในเขตเมืองรอบนอกด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ

โกลกาตาเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จึงทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง (จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปนิวเดลี) โดยถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีระบบระบายน้ำเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยมีอายุกว่า 150 ปี[14] อย่างไรก็ตาม โกลกาตาประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การฟื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้นำไปสู่ความเจริญเติบโตของเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เช่นเดียวกับเมืองใหญ่แห่งอื่น ๆ ในอินเดีย โกลกาตาต้องเผชิญกับปัญหาเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหามลภาวะ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น นอกจากนี้ โกลกาตายังมีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ไปจนถึงขบวนการฝ่ายซ้ายและสหภาพการค้าต่าง ๆ อีกด้วย

เป็นไปได้ว่าชื่อโกลกาตาและ "แคลคัตตา" นั้นอาจจะมาจาก กาลิกาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านสามแห่ง (กาลิกาตา สุตนุติ และโคพินทปุระ) ในพื้นที่แถบนี้ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ[15] ซึ่งสันนิษฐานว่า "กาลิกาตา" นั้นเป็นรูปในภาษาอังกฤษของคำว่า กาลีเกษตร ("ดินแดนของพระแม่กาลี") หรือมาจากคำในภาษาเบงกอลว่า กิกิลา ("ที่ราบ") [16] หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำพื้นเมืองที่ใช้เรียกชื่อคลองธรรมชาติสายหนึ่ง คือ คาล ตามด้วย กัตตา[17] แม้ว่าในภาษาเบงกอลซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นจะเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "โกลกาตา" มาตลอด แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเมืองก็เพิ่งถูกเปลี่ยนจาก "แคลคัตตา" เป็น "โกลกาตา" ตามการออกเสียงในภาษาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544 นี้เอง บางคนมองว่านี่เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อลบล้างสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการปกครองของอังกฤษ[18]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "India: Calcutta, the capital of culture-Telegraph". telegraph.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016.
    "Kolkata remains cultural capital of India: Amitabh Bachchan – Latest News & Updates at Daily News & Analysis". 10 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2017. สืบค้นเมื่อ 25 November 2016.
    "Foundation of Kolkata Museum of Modern Art laid". business-standard.com. Press Trust of India. 14 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016.
    Reeves, Philip (5 April 2007). "Calcutta: habitat of the Indian intellectual". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 29 January 2012.
    Noble, Allen and Frank Costa; Ashok Dutt; Robert Kent (1990). Regional development and planning for the 21st century : new priorities, new philosophies. Ashgate Pub Ltd. pp. 282, 396. ISBN 978-1-84014-800-8.
  2. "Home | Chief Electoral Officer". ceowestbengal.nic.in.
  3. "Home | Chief Electoral Officer". ceowestbengal.nic.in.
  4. "Home | Chief Electoral Officer". ceowestbengal.nic.in.
  5. "AC-Wise Polling Stations – South 24 Parganas". s24pgs.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-20. สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
  6. "web.archieve.org" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 May 2013.
  7. 7.0 7.1 "District Census Handbook – Kolkata" (PDF). Census of India. The Registrar General & Census Commissioner. p. 43. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 May 2016.
  8. "Basic Statistics of Kolkata". Kolkata Municipal Corporation. Kolkata Municipal Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 3 January 2018.
  9. "Kolkata Municipal Corporation Demographics". Census of India. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  10. "Urban agglomerations/cities having population 1 million and above" (PDF). Provisional population totals, census of India 2011. Registrar General & Census Commissioner, India. 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012.
  11. "INDIA STATS: Million plus cities in India as per Census 2011". Press Information Bureau, Mumbai. National Informatics Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  12. 12.0 12.1 "Report of the Commissioner for linguistic minorities: 47th report (July 2008 to June 2010)" (PDF). Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. pp. 122–126. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 May 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
    Singh, Shiv Sahay (3 April 2012). "Official language status for Urdu in some West Bengal areas". The Hindu (ภาษาIndian English). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 3 June 2019.
    "Multi-lingual Bengal". The Telegraph. 11 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018.
    Roy, Anirban (27 May 2011). "West Bengal to have six more languages for official use". India Today.
  13. "West Bengal Human Development Report 2004" (PDF) (ภาษาอังกฤษ).
  14. "ท่องโลกกว้าง: พลังโลก ตอน น้ำแข็ง และ ชื้นแฉะที่สุดในโลก". ไทยพีบีเอส. 23 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
  15. Mukherjee, SC. 1991. The changing face of Calcutta: An architectural approach. Calcutta : Government of West Bengal, p. 300.
  16. "Kolkata (Calcutta) : History" (ภาษาเบงกอล). Calcuttaweb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-02-18.
  17. Nair, P. Thankappan (1986). Calcutta in the 17th century. Kolkata: Firma KLM. pp. 54–58.
  18. Easwaran, Kenny. "The politics of name changes in India". Open Computing Facility, University of California at Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]