ข้ามไปเนื้อหา

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
ก่อตั้งกรกฎาคม 1961; 63 ปีที่แล้ว (1961-07)
สหราชอาณาจักร
ผู้ก่อตั้งปีเตอร์ เบเน็นสัน, อีริค เบเกอร์
ประเภทไม่แสวงหากำไร
องค์การนอกภาครัฐนานาชาติ
สํานักงานใหญ่ลอนดอน, WC1
สหราชอาณาจักร
ที่ตั้ง
  • ทั่วโลก
บริการป้องกันสิทธิมนุษยชน
สาขาวิชาการสนับสนุนทางกฎหมาย, ความสนใจของสื่อ, การรณรงค์อุทธรณ์โดยตรง, การวิจัย, การวิ่งเต้น
สมาชิก
สมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 7 ล้านคน[1]
เลขาธิการ
แอกเนส กาลามาร์ด[2]
เว็บไซต์www.amnesty.org

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล[3] (อังกฤษ: Amnesty International หรือ Amnesty หรือ AI) เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"[4]

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์ต่อต้านการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ[5] และรางวัลองค์การสหประชาชาติสาขาสิทธิมนุษยชน (United Nations Prize in the Field of Human Rights) ในปี ค.ศ. 1978[6] ทุกวันนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีสมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 10 ล้านคนในกว่า 150 ประเทศและดินแดน ซึ่งทุกคนได้รวมพลังกันเพื่อที่จะทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนและนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ สมาชิกรายบุคคล และผู้ประสานงานอีกหลายพันกลุ่ม อยู่ในกว่า 100 ประเทศและเขตการปกครองนอกจากนี้ยังมีสำนักงาน (Section/Structure) ที่จัดตั้งในระดับชาติขึ้นในพื้นที่มากกว่า 70 ประเทศ และในประเทศต่างๆ อีกกว่า 20 ประเทศยังมีการจัดตั้งองค์กรประสานงานอื่นๆ (coordinating structures) อีกด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับและให้ความเชื่อถือ โดยองค์กรฯ จัดส่งผู้แทนไปพบรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ และมีส่วนร่วมในการอภิปรายในประเด็นสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ

การถูกคุกคามโดยรัฐ

[แก้]

องค์กรแอมเนสตี้ มีส่วนในการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน แต่มักจะมีอุปสรรคต่อการทำงาน โดยเฉพาะประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เสรีที่แทรกแซงโดยกลุ่มคณาธิปไตยและกลุ่มอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ และมักจะถูกคุกคามและกดดันโดยรัฐเสมอ โดยเฉพาะในจีน ฮ่องกง[7] พม่า

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Who we are". Amnesty International. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2015.
  2. "Dr Agnès Callamard appointed as Secretary General of Amnesty International". amnesty.org. 29 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2021.
  3. องค์การนิรโทษกรรม จาก หนังสืออธิบายศัพท์การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ โดย ฯพณฯเอกอัครราชทูตกลศ วิเศษสุรการสากล[1] เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "About Amnesty International". Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008.
  5. Amnesty International - The Nobel Peace Prize 1977
  6. United Nations Prize in the field of Human Rights
  7. "แอมเนสตี้เตรียมปิดสำนักงานในฮ่องกงภายในสิ้นปีนี้ หลังเผชิญกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่จากรัฐบาลจีน". THE STANDARD. 26 ตุลาคม 2021.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]