ข้ามไปเนื้อหา

แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์
IATA ICAO รหัสเรียก
PA PAA CLIPPER
ก่อตั้ง14 มีนาคม ค.ศ. 1927 (ในชื่อ แพนอเมริกันแอร์เวส์ (PAA))
เริ่มดำเนินงาน19 ตุลาคม ค.ศ. 1927
เลิกดำเนินงาน4 ธันวาคม ค.ศ. 1991
ท่าหลัก
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์เวิลด์พาส (WorldPass)
บริษัทลูกซาห์ซา (40%) (ค.ศ. 1945-1994)
แพนแอมเอ็กซ์เพรส (ค.ศ. 1987–1991)
ขนาดฝูงบิน226
จุดหมาย86 ประเทศในทั้งหกทวีปที่สำคัญที่สุดในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968)
บริษัทแม่แพนแอมคอร์ปอเรชัน
สำนักงานใหญ่นครนิวยอร์ก
ไมแอมี, รัฐฟลอริดา
บุคลากรหลักJuan T. Trippe
(CEO, 1927–1968)
Harold E. Gray
(CEO, 1968–1969)
Najeeb E. Halaby Jr
(CEO, 1969–1971)
William T. Seawell
(CEO, 1971–1981)
C. Edward Acker
(CEO, 1981–1988)
Thomas G. Plaskett
(CEO, 1988–1991)
Russell L. Ray, Jr.
(CEO, 1991)

แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์ ก่อตั้งในชื่อ แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์[1] หรือรู้จักกันในชื่อ แพนแอม เป็นอดีตสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ช่วงปี ค.ศ. 1927 จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1991 สายการบินก่อตั้งในปี ค.ศ. 1927 โดยเป็นการขนส่งผู้โดยสารและจดหมายระหว่างคีย์เวสต์ รัฐฟลอริดา กับฮาวานา ประเทศคิวบา สายการบินนี้ถูกยกย่องในด้านนวัตกรรมหลายอย่าง ในด้านอุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศ โดยริเริ่มใช้เครื่องบินไอพ่นอย่างโบอิ้ง 707, อากาศยานลำตัวกว้างอย่างโบอิ้ง 747 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น และระบบสำรองคอมพิวเตอร์[2] และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA)[3] สัญลักษณ์ของสายการบินนี้คือลูกโลกสีน้ำเงิน[4] มักใช้คำว่า "คลิปเปอร์" ในชื่ออากาศยานตัวอย่างเช่น คลิปเปอร์เมดออฟเดอะซี (Clipper Maid of The Sea) ชุดของนักบินเป็นชุดสีขาว

แพนอเมริกันแอร์เวส์ ยุติการให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1991 เนื่องจากปัญหาการเงินล้มละลายอันเนื่องมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น อุบัติเหตุทางเครื่องที่แพนแอมประสบปัญหานี้มาหลายเที่ยวบิน เช่น เที่ยวบิน 103, เที่ยวบินที่ 6 และภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟที่เครื่องบินแฟนแอมเที่ยวบินที่ 1736 ไปประสบเหตุกับเครื่องบินของสายการบินเคแอลเอ็ม เที่ยวบินที่ 4805 เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์การบินของมนุษยชาติ ทำให้ความเชื่อมั่นของสายการบินแพนแอมเองลดลงอย่างมาก ทำให้มีปัญหาการเงินแล้วล้มละลายไปในที่สุด

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินในปี 1990

[แก้]

ต่อไปนี้เป็นเครื่องบินที่ดำเนินการโดยแพนแอมและแพนแอมเอ็กซ์เพรสในเดือนมีนาคม 1990 หนึ่งปีครึ่งก่อนที่สายการบินจะล่มสลาย:

ฝูงบินแพนแอม
เครื่องบิน ในประจำการ สั่งซื้อ จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร หมายเหตุ
ชั้นหนึ่ง ชั้นคลิปเปอร์ ชั้นประหยัด รวม
แอร์บัส เอ300B4 12 24 230 254
แอร์บัส เอ310-200 7 18 207 225[5]
แอร์บัส เอ310-300 12 12 30 154 196
โบอิง 727-200 91 9 14 131 145 สั่งซื้อเครื่องบินที่ใช้แล้ว
โบอิง 737-200 5 21 95 116[6]
โบอิง 747-100B 18 39 52 286 377[7] ลูกค้ารายแรกที่รับมอบเครื่องบินรุ่นนี้

การกำหนดที่นั่งเมื่อปี 2532 (สำหรับเที่ยวบินอเมริกาใต้)

โบอิง 747-200B 7 21 44 347 412[8] การกำหนดที่นั่งเมื่อปี 2532
รวม 152 9
ฝูงบินแพนแอมเอ็กซ์เพรส
เอทีอาร์ 42-300 8 3 46 46
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 7 10 50 50
รวม 18 3

อ้างอิง

[แก้]
  1. britannica.com Pan American World Airways, Inc.: American Airline Company
  2. Guy Norris & Mark Wagner (September 1, 1997). "Birth of a Giant". Boeing 747: Design and Development Since 1969. Zenith Imprint. pp. 12–13. ISBN 0-7603-0280-4.
  3. Airliner World (IATA: A new mandate in a changed world), p. 32, Key Publishing, Stamford, November 2011
  4. Green, Richard P.; Carroll, James J. (2000). Investigating Entrepreneurial Opportunities. SAGE Publications. p. 108. ISBN 9780803959422.
  5. Booth, Darren (June 30, 2012). "Vintage airline seat map: Pan Am Airbus A310". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  6. Booth, Darren (September 2012). "Vintage airline seat map: Pan Am Boeing 737-200". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  7. Booth, Darren (April 2011). "Vintage airline seat map: Pan Am Boeing 747". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  8. Booth, Darren (September 20, 2011). "Vintage airline seat map: Boeing 747 v. 2". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.

หนังสือเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์