เศข หาสินา
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
เศข หาสินา | |
---|---|
শেখ হাসিনা | |
หาสินาในปี 2023 | |
นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ คนที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม 2009 – 5 สิงหาคม 2024 | |
ประธานาธิบดี | |
ก่อนหน้า | ฟาครูดดีน อะห์เมด (รักษาการ) |
ถัดไป | Latifur Rahman (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน 1996 – 15 กรกฎาคม 2001 | |
ประธานาธิบดี | |
ก่อนหน้า | มุฮามัด ฮาบีบูร์ ระห์มัน (รักษาการณ์) |
ถัดไป | ลาตีฟูร์ ระห์มัน (รักษาการณ์) |
ประธานสภา คนที่ 8 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม 2009 | |
ก่อนหน้า | คาเลดา ซีอา |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน 1996 – 15 กรกฎาคม 2001 | |
ก่อนหน้า | คาเลดา ซีอา |
ถัดไป | คาเลดา ซีอา |
ประธานอวามีลีด คนที่ 8 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 กุมภาพันธ์ 1981 | |
ก่อนหน้า | อับดุล มาเลก อุกิล |
สมาชิกรัฐสภา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 12 มิถุนายน 1996 | |
ก่อนหน้า | มุชิพุร ระห์มัน หวลาเทร์ |
เขตเลือกตั้ง | โคปาลคัญช์-3 |
ดำรงตำแหน่ง 27 กุมภาพันธ์ 1991 – 15 กุมภาพันธ์ 1996 | |
ก่อนหน้า | กาซี ฟีโรซ ราชีด |
ถัดไป | มุชิพุร ระห์มัน หวลาเทร์ |
เขตเลือกตั้ง | โคปาลกัญช์-3 |
หัวหน้าฝ่ายค้าน คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ตุลาคม 2001 – 29 ตุลาคม 2006 | |
นายกรัฐมนตรี | คาเลดา ซีอา |
ก่อนหน้า | คาเลดา ซีอา |
ถัดไป | คาเลดา ซีอา |
ดำรงตำแหน่ง 20 มีนาคม 1991 – 30 มีนาคม 1996 | |
นายกรัฐมนตรี | คาเลดา ซีอา |
ก่อนหน้า | อับดูร์ รัพ |
ถัดไป | คาเลดา ซีอา |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม 1986 – 3 มีนาคม 1988 | |
ประธานาธิบดี | ฮุสเซน มูฮาเมด เอร์ชาด |
ก่อนหน้า | อาซาดูซซามัน ข่าน |
ถัดไป | อับดุร รัพ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ตุงคีปัร เบงกอลตะวันออก รัฐปากีสถาน | 28 กันยายน ค.ศ. 1947
พรรคการเมือง | อวามีลีกบังกลาเทศ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | มหาพันธมิตร (2008-) |
คู่สมรส | เอ็ม เอ วาเซด มีอะห์ (สมรส 1968; เสียชีวิต 2009) |
บุตร | |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | ดู สายตระกูลเศข-วาเซด |
ที่อยู่อาศัย | คณภวัน เชเรบังกลานคร ธากา |
การศึกษา | |
ลายมือชื่อ | |
เศข หาสินา วาเชด (เบงกอล: শেখ হাসিনা ওয়াজেদ; Sheikh Hasina Wazed, เกิด 28 กันยายน 1947) เป็นนักการเมืองชาวบังกลาเทศ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศคนที่สิบระหว่างปี 1996–2001 และ 2009–2024 เธอเป็นลูกสาวของชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน บิดาแห่งบังกลาเทศและประธานาธิบดีบังกลาเทศคนแรก เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมนานกว่า 19 ปี ถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บังกลาเทศ และเป็นหัวหน้ารัฐบาลสตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก[1]
หลังรัฐบาลเผด็จการของฮุสเซน มูฮาเมด เอร์ชาด สิ้นสุดลง หาสินาซึ่งเป็นประธานพรรคอวามีลีก แพ้ในการเลือกตั้งปี 1991 ให้กับคาเลดา ซีอา ทั้งสองเคยร่วมมือกันโค่นล้มเอร์ชาดมาก่อนหน้า[2] หาิสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในสภา และในตำแหน่งนี้เธอได้กล่าวโทษพรรคชาตินิยมบังกลาเทศ (BNP) ของซีอาว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้งเกิดขึ้น และประกาศปฏิเสธรัฐสภาชุดนี้ นับจากนั้นได้เกิดการประท้วงทางการเมืองและความระหองระแหงทางการเมืองตามมา ซีอาลาออกจากตำแหน่งและรัฐบาลเปลี่ยนผ่านอยู่ในอำนาจแทน หลังจากนั้นหาสินาชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสำเร็จในการเลือกตั้งเดือนมิถุนายน 1996 หลังจากนั้นมา บังกลาเทศเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและหลุดพ้นจากความยากจน
ในสมัยการเป็นนายกรัฐมนตรีของเธอ บังกลาเทศเผชิญกับการถดถอยทางประชาธิปไตย ฮิวแมนไรต์วอชรายงานและบันทึกการสูญหายและฆาตกรรมนอกกฎหมายอย่างแพร่หลายภายใต้รัฐบาลของเธอ มีการลงโทษนักข่าวและผู้ที่วิจารณ์รัฐบาลของเธออย่างเป็นระบบโดยต่อเนื่อง[3][4] ในปี 2021 นักข่าวไร้พรมแดนประเมินนโยบายสื่อของหาสินาไปในทางลบ โดยนโยบายที่ขัดกับการรายง่านข่าวโดยเสรีของหาสินามีใช้มาตั้งแต่ปี 2014[5] เธอได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกโดยไทม์ ประจำปี 2018[6] และหนึ่งใน 100 สตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลกโดยฟอบส์ในปี 2015,[7] 2018 และ 2022[8][9][10]
ภายหลังการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศ ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เศข หาสินา ประกาศลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัยไปยังประเทศอินเดีย[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Survey: Sheikh Hasina tops as longest serving female leader in world". Dhaka Tribune. 11 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2022. สืบค้นเมื่อ 10 June 2022.
- ↑ Crossette, Barbara (9 December 1990). "Revolution Brings Bangladesh Hope". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2018. สืบค้นเมื่อ 8 February 2019.
- ↑ Riaz, Ali (September 2020). "The pathway of massive socioeconomic and infracstructuaral development but democratic backsliding in Bangladesh". Democratization. 28: 1–19. doi:10.1080/13510347.2020.1818069. S2CID 224958514.
- ↑ Diamond, Larry (September 2020). "Democratic regression in comparative perspective: scope, methods, and causes". Democratization. 28: 22–42. doi:10.1080/13510347.2020.1807517.
- ↑ "Predator Sheikh Hasina". Reporters Without Borders (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2021. สืบค้นเมื่อ 5 July 2021.
- ↑ "Sheikh Hasina: The World's 100 Most Influential People". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "The World's 100 Most Powerful Women 2015". Forbes ME (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
- ↑ "The World's 100 Most Powerful Women". Forbes. 4 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
- ↑ "The World's 100 Most Powerful Women". Forbes. 1 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017.
- ↑ "Sheikh Hasina: The World's 100 Most Influential People". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ "Bangladesh PM Sheikh Hasina resigns and flees country as protesters storm palace". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2024. สืบค้นเมื่อ 5 August 2024.