เทือกเขาตะนาวศรี
ทิวเขาตะนาวศรี | |
---|---|
တနင်္သာရီ တောင်တန်း Banjaran Tanah Seri | |
จุดสูงสุด | |
ยอด | Mount Tahan (มาเลเซีย) |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 2,187 เมตร (7,175 ฟุต) |
พิกัด | 4°38′00″N 102°14′00″E / 4.63333°N 102.23333°E |
ข้อมูลเชิงขนาด | |
ยาว | 1,670 กม. (1,038 ไมล์) N/S |
กว้าง | 130 กม. (81 ไมล์) E/W |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | พม่า, ไทย และ มาเลเซีย |
เทือกเขา | ระบบอินโดมาลายา |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก |
ประเภทหิน | หินแกรนิต และ หินปูน |
เทือกเขาตะนาวศรี (พม่า: တနင်္သာရီ တောင်တန်း) เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย และลากยาวผ่านคอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรี ชาวพม่าเรียกว่า "บีล็อกตอง" (Bilauktaung)
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]แนวเทือกเขานี้ได้ชื่อตามเขตตะนาวศรีในพม่า ชื่อนี้อาจเพี้ยนมาจากภาษามลายูสำเนียงไทรบุรี คือคำว่า ตานะฮ์เซอรี (มลายู: Tanah Sari; Tanah Seri) ตานะฮ์ มีความหมายว่า "แผ่นดิน" กับ เซอรี มาจากคำว่า ซีเระฮ์ แปลว่า "พลูหรือใบพลู" รวมกันจึงมีความหมายว่า "แผ่นดินที่ปลูกพลู"[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ทางใต้ของเส้นขนานที่ 16 เทือกเขาฉานได้แยกออกเป็นแนวเทือกเขาสูงชั้นขนาบข้างแคบ ๆ ซึ่งทอดลงไปทางใต้ตามคอคอดกระ แนวเทือกเขาที่อยู่ทางตะวันตกสุดนั้นถูกตัดจากชายฝั่งตะนาวศรีโดยรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ส่วนทางตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรีนั้นเป็นหุบเขาสาละวินและคเยง[ต้องการอ้างอิง]
ไปทางตะวันออก ด้านประเทศไทย เทือกเขานี้มีแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยไหลตัดผ่าน ในบริเวณนี้ มีลักษณะเป็นแนวลาดเขาเล็ก ๆ สลับหุบเขาแคบ ๆ ซึ่งมักจะกว้างเพียงราว 2 กิโลเมตร และถัดออกไปทางตะวันออกอีกนั้นมีเพียงลาดเขาโดด ๆ อันเป็นจุดที่เทือกเขาตะนาวศรีสิ้นสุดลงในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย
ระดับความสูงเฉลี่ยของเทือกเขาตะนาวศรีในฝั่งพม่าจะสูงกว่าฝั่งไทย โดยมียอดเขาหลายยอดที่สูงถึง 1,000 เมตร ขณะที่ฝั่งไทย ยอดเขาสูงสุดสามารถวัดได้ราว 800 เมตร[2]
จุดสูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรีนั้นอยู่ในเทือกเขาบีล็อกตอง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสูงที่สุดที่ 2,231 เมตร แนวเทือกเขาที่ลากต่อลงไปทางใต้ของเทือกเขาบีล็อกตองนั้นจะไปบรรจบกับปลายสุดด้านเหนือของคอคอดกระ งานวิจัยทางธรณีวิทยาล่าสุดกล่าวถึงส่วนใต้สุดของเทือกเขาตะนาวศรีในพื้นที่คอคอดว่า "เทือกเขาภูเก็ต", "เทือกเขานครศรีธรรมราช" และ "เทือกเขาสันกาลาคีรี" อย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านี้จะไม่พบปรากฏอยู่ในหลักฐานธรณีวิทยาสมัยเก่า
เทือกเขาตะนาวศรีเป็นส่วนหนึ่งของสันเขาแกรนิตยาวซึ่งมีอายุเก่ากว่าเทือกเขาหิมาลัย ที่ราบสูงมลายูอันเป็นจุดใต้สุดของระบบภูเขานี้และเทือกเขาตีตีวังซานั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเทือกเขาโกตาบารูในฝั่งมาเลเซีย[3]
เทือกเขาตะนาวศรีปกคลุมไปด้วยป่าไม้เป็นบริเวณกว้าง และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด ซึ่งรวมไปถึงช้างเอเชียและเสือโคร่ง[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประพนธ์ เรื่องณรงค์. รศ. จดหมายจากครูยูโซะ เล่าเรื่องภาษามลายูในภาษาไทย. กรุงเทพฯ:สถาพรบุ๊คส์. 2556, หน้า 71
- ↑ The Physical Geography of Southeast Asia, Avijit Gupta, Oxford University Press, 2005. ISBN 9780199248025
- ↑ Wolf Donner, The Five Faces of Thailand. Institute of Asian Affairs, Hamburg 1978 - ISBN 0-7022-1665-8