ข้ามไปเนื้อหา

ทิวเขาสันกำแพง

พิกัด: 14°26.5′N 101°23′E / 14.4417°N 101.383°E / 14.4417; 101.383
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวเขาสันกำแพง
ทิวเขาสันกำแพง
ทิวเขาสันกำแพงบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
จุดสูงสุด
ยอดเขาร่ม
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,351 เมตร (4,432 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว180 กม. (112 ไมล์) E/W
กว้าง40 กม. (25 ไมล์) N/S
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แนวทิวเขาในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศประเทศไทย
พิกัดเทือกเขา14°26.5′N 101°23′E / 14.4417°N 101.383°E / 14.4417; 101.383
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทหินหินทราย และ หินกรวดมน

ทิวเขาสันกำแพง เป็นทิวเขาในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความต่อเนื่องจากทิวเขาดงพญาเย็น[1] ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกจนไปเชื่อมต่อกับทิวเขาพนมดงรัก จุดเริ่มต้นของทิวเขาอยู่ที่เส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก กับอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผ่านไปตามแนวเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างอำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา กับอำเภอประจันตคามและอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และระหว่างอำเภอครบุรีและอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา กับอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จากนั้นไปตามแนวเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กับอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ทิวเขามีจุดสิ้นสุดที่ช่องตะโกตรงทางหลวงหมายเลข 348 (อรัญประเทศ-นางรอง) ตัดผ่าน

ทิวเขาสันกำแพงมีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร เขาสูงสุดชื่อเขาร่ม มีความสูง 1,351 เมตร มีเขาสำคัญ ได้แก่ เขาแหลม เขาจันทน์ เขาโป่งฉนวน และเขาละมั่ง[2] ทิวเขาสันกำแพงเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำปราจีนบุรี แม่น้ำสายหลักในลุ่มน้ำ ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำบางปะกง[3] และเป็นต้นกำเนิดลุ่มแม่น้ำมูล ซึ่งไหลผ่านที่ราบสูงโคราชจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ผ่านตัวเมืองอุบลราชธานีก่อนจะลงสู่แม่น้ำโขง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย". สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-22. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
  2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๔ (อักษร ย-ฮ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, ๒๕๖๑. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
  3. "ลุ่มน้ำปราจีนบุรี". ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-19. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
  4. "สบแม่น้ำมูล – แม่น้ำชี". สำนักเครือข่ายองค์ความรู้.