ข้ามไปเนื้อหา

ทิวเขาภูเก็ต

พิกัด: 9°20′30″N 98°37′0″E / 9.34167°N 98.61667°E / 9.34167; 98.61667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวเขาภูเก็ต
ทิวเขาภูเก็ตจากองค์การนาซา
จุดสูงสุด
ยอดเขาหลังคาตึก
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,395 เมตร (4,577 ฟุต)
พิกัด9°20′30″N 98°37′0″E / 9.34167°N 98.61667°E / 9.34167; 98.61667
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว200 กม. (124 ไมล์) N/S
กว้าง50 กม. (31 ไมล์) E/W
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประเทศ ไทย
เทือกเขาเทือกเขาตะนาวศรี
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน
ประเภทหิน

ทิวเขาภูเก็ต เป็นทิวเขาในคอคอดกระ ประเทศไทย

ภูมิศาสตร์

[แก้]

แนวทิวเขานี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทิวเขากลาง ซึ่งทอดยาวลงมาตั้งแต่ทิเบตจนพาดผ่านตลอดคาบสมุทรมลายู

ทิวเขาภูเก็ตเป็นทิวเขาต่อเนื่องกับทิวเขาตะนาวศรีที่ใหญ่กว่า โดยลากลงไปทางใต้เป็นระยะทางมากกว่า 200 กิโลเมตร จนกระทั่งไปบรรจบกับทิวเขาติติวังซา ซึ่งเป็นทิวเขาหลักในที่ราบสูงมลายู

จุดสูงสุดอยู่ที่เขาหลังคาตึก ด้วยความสูง 1,395 เมตร เนื่องจากทิวเขาเพิ่มระดับความสูงเป็นแนวตรงจากชายฝั่งตะวันตก จึงไม่มีแม่น้ำสำคัญที่อยู่ทางด้านตะวันตกของสันเขา ส่วนทางตะวันออก แม่น้ำใหญ่ที่สุด คือ แม่น้ำพุมดวงและแม่น้ำหลังสวน ทะเลสาบใหญ่ที่สุดที่อยู่บนทิวเขานั้น คือ ทะเลสาบเชี่ยวหลาน อันเป็นที่ตั้งของเขื่อนรัชชประภา โดยมีขนาด 165 ตารางกิโลเมตร อ่าวเทียมในอุทยานแห่งชาติเขาสก หินที่พบบนทิวเขาส่วนใหญ่นั้นเป็นหินปูน ซึ่งนำไปสู่ภูมิศาสตร์คาสต์ของทิวเขาสูงชัน ทิวเขาที่อยู่ทางตะวันตกของสันเขานี้เป็นที่ตั้งของเหมืองดีบุกจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ได้หมดลงไปแล้ว

เอกสารทางภูมิศาสตร์จำนวนมากจัดให้ทิวเขาภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของแนวทิวเขาตะนาวศรี[1]

การคุ้มครอง

[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของทิวเขาได้รับการคุ้มครองในรูปของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ ซึ่งมีอุทยานแห่งชาติศรีพังงา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต อุทยานแห่งชาติคลองพนม อุทยานแห่งชาติเขาสก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และ อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว (เดิมชื่ออุทยานแห่งชาติคลองเพรา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Physical Geography of Southeast Asia, Avijit Gupta

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]