ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลแม่จัน (จังหวัดเชียงราย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลแม่จัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Maechan
ป้ายเทศบาลตำบลแม่จัน
ป้ายเทศบาลตำบลแม่จัน
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลแม่จัน
ตรา
คำขวัญ: 
ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองแม่จันให้เป็นเมืองน่าอยู่
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
อำเภอแม่จัน
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเสกสรรค์ จันทร์ถิระติกุล
พื้นที่
 • ทั้งหมด2 ตร.กม. (0.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2548)
 • ทั้งหมด4,221 คน
 • ความหนาแน่น2,110.50 คน/ตร.กม. (5,466.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05570703
ที่อยู่
สำนักงาน
เทศบาลตำบลแม่จัน 555 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์0 5377 1222
โทรสาร0 5377 2565
เว็บไซต์www.maechan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลแม่จัน เป็นหนึ่งในเทศบาลตำบล 8 แห่งของอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นศูนย์กลางการค้าขาย สถานที่ราชการ สถานศึกษา และสถานพยาบาลของอำเภอแม่จัน พื้นที่อยู่ถัดขึ้นไปทางเหนือจากเทศบาลนครเชียงราย ประมาณ 28 กิโลเมตร

ประวัติ

[แก้]

ใน พ.ศ. 2499 พื้นที่บางส่วนของตำบลแม่จันได้รับการแต่งตั้งเป็นสุขาภิบาล ใช้ชื่อว่า "สุขาภิบาลแม่จัน"[1]

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 "สุขาภิบาลแม่จัน" ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติ ใช้ชื่อว่า "เทศบาลตำบลแม่จัน"

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

เทศบาลตำบลแม่จันตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงราย บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110 ห่างจากเทศบาลนครเชียงรายระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร บริเวณละติจูด 99 องศา ถึง ละติจูด 100 องศาเหนือ และลองติจูด 20 องศา 15 ลิปดาตะวันออก พิกัดเอ็นซี 894275 ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 857 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลแม่จัน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา โดยมีแม่น้ำจันซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของอำเภอแม่จัน ไหลเข้าสู่ตัวเทศบาลตำบลทางทิศตะวันตก แล้วไหลวิ่งขึ้นทิศเหนือขนาบเทศบาลฝั่งทิศตะวันตก (ตามภาพ) และไหลออกจากเทศบาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป

ภูมิอากาศ

[แก้]

สภาพภูมิอากาศของเทศบาลตำบลแม่จัน มีลักษณะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน สามารถแบ่งฤดูออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม รวม 3 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม รวม 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกที่สุด ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 7- 10 องศาเซลเซียส

เขตการปกครอง

[แก้]

เทศบาลตำบลแม่จันครอบคลุมพื้นที่ของหมู่บ้านต่าง ๆ ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านร้องผักหนาม
  • หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านแม่จัน
  • หมู่ที่ 3 ชุมชนแม่จันตลาด
  • หมู่ที่ 4 ชุมชนเด่นป่าสัก
  • หมู่ที่ 5 ชุมชนปงตอง
  • หมู่ที่ 7 ชุมชนเหมืองฮ่อ
  • หมู่ที่ 8 ชุมชนศาลา

เทศบาลตำบลแม่จันประกอบด้วยชุมชน 6 ชุมชน ได้แก่

  • ชุมชนแม่จัน ประกอบด้วยพื้นที่ หมู่ที่ 1 (บางส่วน), หมู่ที่ 2
  • ชุมชนแม่จันตลาด ประกอบด้วย พื้นที่ หมู่ที่ 3
  • ชุมชนเด่นป่าสัก ประกอบด้วยพื้นที่ หมู่ที่ 4 (บางส่วน)
  • ชุมชนปงตอง ประกอบด้วยพื้นที่ หมู่ที่ 5(บางส่วน)
  • ชุมชนเหมืองฮ่อ ประกอบด้วยพื้นที่ หมู่ที่ 7
  • ชุมชนศาลา ประกอบโดยพื้นที่ หมู่ที่ 8 (บางส่วน)

ประชากร

[แก้]

เทศบาลตำบลแม่จันมีประชากรทั้งสิ้นมีทั้งหมด จำนวน 4,221 คน เป็นชาย 2,037 คน หญิง 2,184 คน จำนวนครัวเรือน 2,022 ครัวเรือน ประชากรสามารถแยกตามเพศ ได้ดังนี้[2]

หมู่ หมู่บ้าน ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
1 ร้องผักหนาม 45 39 95
2 แม่จัน 269 277 607
3 แม่จันตลาด 518 595 1,183
4 เด่นป่าสัก 451 465 1,003
5 ปงตอง 173 204 377
7 เหมืองฮ่อ 149 156 306
8 ศาลา 311 333 650
77 ทะเบียนบ้านกลาง 43 52 95

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลแม่จัน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 80) ศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 20 มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา ดังนี้

  • วัดและที่พักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง
  • ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง
  • โบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจในเขตเทศบาลตำบลแม่จัน ส่วนใหญ่จะเป็นด้านเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่จะทำนา และหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะทำการเพาะปลูกถั่วเหลือง เป็นพืชฤดูแล้ง ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว และถั่วเหลือง มีการประกอบการปศุสัตว์ โดยมีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา คือ โคเนื้อ และสุกร ตามลำดับ

อุตสาหกรรมในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง ได้แก่ โรงงานคอนกรีต โรงงานซ่อม/เครื่องยนต์ และยังมีการทำหัตถอุตสาหกรรม ได้แก่ การทำไม้กวาด เย็บปักประดิษฐ์ การตีมีด เป็นต้น

ชุมชนมีลักษณะที่เป็นแบบพาณิชยกรรม ลักษณะชุมชนที่เป็นย่านพาณิชยกรรม มีศูนย์กลางเดียว โดยศูนย์กลางของชุมชนจะอยู่บริเวณตอนเหนือของชุมชนสองฝั่งของถนนหิรัญนคร ลักษณะศูนย์กลางของชุมชนที่เป็นย่านพาณิชยกรรม อยู่ในเขตเมืองที่ให้บริการสินค้าประเภทเครื่องอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นกับชุมชน

การขนส่ง

[แก้]

ถนนในเขตเทศบาลเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก การสัญจรไปมาส่วนใหญ่ใช้รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และรถโดยสารประจำ

ส่วนการขนส่งทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงราย อยู่ห่างจากเขตเทศบาล 25 กิโลเมตร

การศึกษา

[แก้]

มีสถานศึกษาภายในเทศบาลตำบลทั้งหมด 5 สถานศึกษา คือ

  • โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่จัน
  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 62 (โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน)
  • โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์)
  • โรงเรียนอนุบาลลูกรัก
  • โรงเรียนอนุบาลอำพร

นอกจากนี้เทศบาลยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่จัน มีการบริหารงานโดยคณะกรรมการ การศึกษาเทศบาลตำบลแม่จัน โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของกองการศึกษา

สาธารณสุข

[แก้]
โรงพยาบาลแม่จัน

ในเขตเทศบาลตำบลแม่จัน มีโรงพยาบาลแม่จัน เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลักครบทุกสาขา

สาธารณูปโภคพื้นฐาน

[แก้]

การไฟฟ้า

[แก้]

ปัจจุบันครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลแม่จันใช้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และมีการขยายการติดตั้งโคมไฟฟ้าสาธารณะ 2 ข้างถนน ตรอก ซอย เกือบทุกสาย

การประปา

[แก้]

ระบบการประปาภายในเขตเทศบาลตำบลแม่จันอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค คือ การประปาแม่สาย สาขาแม่จัน ให้บริการด้านการประปาแก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่จัน

การสื่อสารและโทรคมนาคม

[แก้]

การไปรษณีย์ ในเขตเทศบาลตำบลแม่จันมีจำนวน 1 แห่ง คือ

  • ที่ทำการไปรษณีย์แม่จัน

การโทรคมนาคม ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่จันใช้บริการจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สาขาแม่จัน และบริษัทสื่อสารทุกๆ บริษัท

ตราประจำเทศบาล

[แก้]

ตราเทศบาลตำบลแม่จัน มีลักษณะเป็นรูปวงกลมล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นกรอบ ภายในกรอบแสดงให้เห็นพญานาคพ่นน้ำอยู่ในแม่น้ำทางด้านหน้าของฉาก ส่วนฉากด้านหลังเป็นทุ่งนาข้าวขนาดกว้างใหญ่ไพศาล สุดลูกหูลูกตา ภายหลังมีทิวเขาซ้อนกันหลายชั้นโอบรอบนาข้าวไว้ และมีเมฆลอยบนท้องฟ้า เหนือกรอบด้านในมีตัวหนังสือภาษาไทย ด้านบนเขียนกำกับ "เทศบาลตำบลแม่จัน" ด้านล่างเขียนกำกับ "จังหวัดเชียงราย" สองข้างของกรอบประดับด้วยลูกไม้

ความหมาย ตราสัญลักษณ์ แสดงถึง ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมของท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่จัน ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มระหว่างเขา มีแม่น้ำจันที่เป็นแม่น้ำสายหลักของอำเภอไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์แหมาะแก่การเพาะปลูก อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลูกข้าวชั้นดีของประเทศไทย ทั้งน้ำและดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่แห้งแล้ง รวมไปถึงบรรยากาศของเทศบาลตำบลมีบรรยากาศที่ดีเหมาะแก่การมาท่องเที่ยวและยังคงมีความเป็นธรรมชาติสูง

การท่องเที่ยวและเทศกาล

[แก้]

ในเขตเทศบาลตำบลแม่จันไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่จะมีอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้แก่

  • โป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 11 ตำบลป่าตึง
  • น้ำตกตาดทอง ตั้งอยู่ที่บ้านป่าตึง หมู่ที่ 7 ตำบลป่าตึง
  • น้ำตกห้วยก้างปลา ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยก้างปลาหมู่ที่ 15 ตำบลป่าตึง
  • ลานทองอุทธยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งต่าง หมู่ที่ 13 ตำบลป่าตึง

ส่วนการท่องเที่ยวด้านอื่น ๆ จะมีจัดกิจกรรม/เทศกาลในบางวันของสัปดาห์ หรือในวันพิเศษ ดังนี้

  • ถนนคนเดินแม่จัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 49 เล่ม 73 ตอนที่ 45 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2499
  2. http://www.maechan.go.th/