เกียวดะ
เกียวดะ 行田市 | |
---|---|
ศาลาว่าการนครเกียวดะ | |
ที่ตั้งของเกียวดะในจังหวัดไซตามะ (เน้นสีชมพู) | |
พิกัด: 36°8′20″N 139°27′20.3″E / 36.13889°N 139.455639°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ไซตามะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 67.49 ตร.กม. (26.06 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มกราคม 2021) | |
• ทั้งหมด | 80,236 คน |
• ความหนาแน่น | 1,200 คน/ตร.กม. (3,100 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
– ต้นไม้ | แปะก๊วย |
– ดอกไม้ | เบญจมาศ, บัวหลวง |
โทรศัพท์ | 048-556-1111 |
ที่อยู่ | 2–5 Honmaru, Gyoda-shi, Saitama-ken 361-8601 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
เกียวดะ (ญี่ปุ่น: 行田市; โรมาจิ: Gyōda-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2020 นครแห่งนี้มีประชากรประมาณ 80,236 คน 40,482 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 1,200 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] พื้นที่ทั้งหมด 67.49 ตารางกิโลเมตร (26.06 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]เกียวดะตั้งอยู่กึ่งกลางของจังหวัดไซตามะตอนเหนือ โดยมีแม่น้ำโทเนะเป็นเส้นกั้นอาณาเขตกับจังหวัดกุมมะ พื้นที่ของทั้งเมืองตั้งอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาของแม่น้ำโทเนะและแม่น้ำอารากาวะ เกียวดะอยู่ที่ระดับความสูง 19.7 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (ที่ศาลาว่าการนครเกียวดะ) และพื้นที่ของเมืองโดยรวมอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20 เมตร จุดที่สูงที่สุดอยู่ที่ 36 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (ในอุทยานโคฟุงไซตามะ)
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]เกียวดะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในเกียวดะคือ 14.5 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1300 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.7 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 3.5 °C[2]
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของเกียวดะค่อนข้างคงที่ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1960 | 58,164 | — |
1970 | 63,582 | +9.3% |
1980 | 76,960 | +21.0% |
1990 | 87,014 | +13.1% |
2000 | 90,530 | +4.0% |
2010 | 85,801 | −5.2% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]เกียวดะมีเนินสุสานฝังศพในยุคโคฟุงจำนวนมาก และมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คำว่า “ไซตามะ” เป็นชื่อสถานที่ท้องถิ่นภายในเกียวดะ และได้รับการบันทึกไว้ในเอกสารสมัยยุคนาระ ในยุคเซ็งโงกุ ปราสาทโอชิมีชื่อเสียงโด่งดังจากการทนต่อการถูกอิชิดะ มิตสึนาริปิดล้อมในปี 1590 ในยุคเอโดะภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ปราสาทแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของแคว้นศักดินาโอชิ ซึ่งปกครองโดยสาขาของตระกูลมัตสึไดระจนถึงปี 1871 ซึ่งเป็นยุคที่เมืองปราสาทรุ่งเรืองจากการที่ตั้งอยู่บนถนนสายนากาเซ็นโด
เมืองเกียวดะจัดตั้งขึ้นในอำเภอคิตะไซตามะ จังหวัดไซตามะ โดยเป็นการจัดตั้งด้วยระบบเทศบาลสมัยใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 ในวันที่ 1 เมษายน 1937 เกียวดะได้ผนวกหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ นางาโนะ โฮชิกาวะ และโมจิดะ ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 23 เมษายน 1949 ตั้งแต่ปี 1954–1955 อาณาเขตของนครได้ขยายเพิ่มขึ้นโดยการผนวกหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ อารากิ ซูกะ คิตะคาวาฮาระ ไซตามะ โฮชิมิยะ และโออิ และในวันที่ 1 มกราคม 2006 หมู่บ้านมินามิคาวาระ (จากอำเภอคิตะไซตามะ) ก็ได้รวมเข้ากับนครเกียวดะ
การปกครอง
[แก้]เกียวดะมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 20 คน นครเกียวดะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 12 ของจังหวัดไซตามะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]เกียวดะมีเศรษฐกิจแบบผสมของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการผลิตเบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนรถยนต์ นครเกียวดะมีสำนักงานใหญ่ของโชวะคอร์ปอเรชันตั้งอยู่ ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์ รถจักรยานยนต์ และระบบกันสะเทือน[4]
การศึกษา
[แก้]- สถาบันเทคโนโลยี (ญี่ปุ่น: ものつくり大学)
- เกียวดะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 16 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 8 แห่ง และโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐ 1 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 1 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]ทางหลวง
[แก้]เมืองพี่น้อง
[แก้]- คูวานะ จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น
- ชิรากาวะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
[แก้]- อุทยานโคฟุงไซตามะ (ญี่ปุ่น: さきたま古墳公園) เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ขนาด 300,000 ตารางเมตร (3,229,173 ตารางฟุต) ที่เต็มไปด้วยเนินสุสานโบราณขนาดใหญ่ รวมถึงมารูฮากายามะโคฟุง ซึ่งเป็นเนินสุสานทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ที่โชกุนยามะโคฟุง เนินฝังศพรูปกุญแจยาว 91 เมตร (299 ฟุต) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ส่วนหัวและโค้งมนที่ส่วนท้าย มีห้องจัดแสดงภายในซึ่งเป็นกระท่อมหิน และมีวัตถุโบราณที่ขุดค้นขึ้นซึ่งได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพดั้งเดิมในศตวรรษที่ 5 ถึง 7[5]
- อุทยานบัวโบราณ (ญี่ปุ่น: 古代蓮の里; โรมาจิ: Kodai hasu no sato) เป็นบัวที่เติบโตจากเมล็ดพันธุ์ที่มีมาตั้งแต่ 1,400 ถึง 3,000 ปีก่อน ซึ่งถูกพบโดยบังเอิญระหว่างการขุดเพื่อสร้างสถานที่กำจัดขยะ หลังจากผ่านไปไม่กี่พันปีของระยะพักตัว เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็ได้งอกขึ้นมา ดอกสีชมพูขนาดใหญ่จะบานในช่วงเช้าเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมหลังจากหมดฤดูฝน[6]
- ปราสาทโอชิ (ญี่ปุ่น: 忍城御三階櫓; โรมาจิ: Oshi-jo Gosankai Yagura) เป็นปราสาทที่บูรณะเมื่อปี 1988 ไดเมียวนาริตะ อากิยาซุ ได้สร้างปราสาทโอชิขึ้นในช่วงใกล้ปลายศตวรรษที่ 15 โดยใช้คันดินธรรมชาติตามบึงและแม่น้ำที่อยู่โดยรอบ ซึ่งถือว่ามีความเหนียวแน่น เมื่อกองทัพของอิชิดะ มิตสึนาริ จำนวน 20,000 คนเข้าโจมตีในปี 1590 ตัวปราสาทก็ไม่ได้พังลงมา แม้ว่าจะถูกน้ำท่วมจากแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ลือกันว่าปราสาทนั้นลอยอยู่บนน้ำ ป้อมปราการที่มีอยู่ได้รับการบูรณะในปี 1988[7] และบริเวณปราสาทยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าโอชิโทโชกู
วัฒนธรรม
[แก้]- เซริฟูไร (เซริฟราย) เป็นอาหารท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเต้าหู้ทอด แครอท หัวหอม และมันฝรั่ง โดยมีร้านค้ามากมายที่ขายอยู่ทั่วเมือง โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน[8]
- เกียวดะยังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการทำถุงเท้าทาบิแบบดั้งเดิมที่สวมใส่กับชุดกิโมโน[9] เกียวดะยังคงเป็นแหล่งทำทาบิจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ผลิตในญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gyōda city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
- ↑ Gyōda climate data
- ↑ Gyōda population statistics
- ↑ "Company Overview เก็บถาวร 2018-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." SHOWA Corporation. Retrieved on November 23, 2018
- ↑ Japan National Tourism Organization |Find a Location |Saitama |Gyoda. Jnto.go.jp. Retrieved on 2011-05-14.
- ↑ Indepth Guide to the Regions. Jnto.go.jp. Retrieved on 2011-05-14.
- ↑ Japan National Tourism Organization |Arrange Your Travel |Attractions |Tourist Facilities of Japan. Jnto.go.jp. Retrieved on 2011-05-14.
- ↑ Trautlein, Steve, "The chow-down tour of Kanto's local dishes เก็บถาวร 2012-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 24 August 2012, p. 15
- ↑ [1] เก็บถาวร พฤษภาคม 26, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)