ข้ามไปเนื้อหา

เบญจมาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบญจมาศ
Chrysanthemum
ดอกเบญจมาศชนิดต่าง ๆ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
สกุล: Chrysanthemum
ชนิดต้นแบบ
Chrysanthemum indicum
ชนิด

Chrysanthemum aphrodite
Chrysanthemum arcticum
Chrysanthemum argyrophyllum
Chrysanthemum arisanense
Chrysanthemum boreale
Chrysanthemum chalchingolicum
Chrysanthemum chanetii
Chrysanthemum cinerariaefolium
Chrysanthemum crassum
Chrysanthemum glabriusculum
Chrysanthemum hypargyrum
Chrysanthemum indicum
Chrysanthemum japonense
Chrysanthemum japonicum
Chrysanthemum lavandulifolium
Chrysanthemum mawii
Chrysanthemum maximowiczii
Chrysanthemum mongolicum
Chrysanthemum morifolium
Chrysanthemum morii
Chrysanthemum okiense
Chrysanthemum oreastrum
Chrysanthemum ornatum
Chrysanthemum pacificum
Chrysanthemum potentilloides
Chrysanthemum segetum
Chrysanthemum shiwogiku
Chrysanthemum sinuatum
Chrysanthemum vestitum
Chrysanthemum weyrichii
Chrysanthemum yoshinaganthum
Chrysanthemum zawadskii

ชื่อพ้อง[1]
  • Chrysanthemum subsect. Dendranthema (DC.) DC. ex Kitam.
  • Neuractis Cass.
  • Pyrethrum sect. Dendranthema DC.
  • Leucanthemum (Tourn.) L.
  • Dendranthema (DC.) Des Moul.

เบญจมาศ หรือ สกุลเบญจมาศ (อังกฤษ: Chrysanthemum; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysanthemum, เดิมชื่อ Dendranthemum; จีน: 菊属; พินอิน: jú shǔ) เป็นสกุลไม้ตัดดอกในวงศ์ทานตะวัน ที่นิยมปลูกประดับ ตัดขาย และใช้กิน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ (2537)[2] เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน

ดอกเบญจมาศโดยทั่วไปมักหมายถึง ชนิดที่เป็นที่รู้จักดีคือ เบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum Linn.) กับเบญจมาศหนู (Chrysanthemum morifolium Ramat.) ซึ่งเรียกรวมกันว่า "ดอกเก๊กฮวย" (จีน: 菊花; พินอิน: júhuā) นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย มีอยู่หลายสายพันธุ์

ประเภท

[แก้]

เบญจมาศที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก มี 4 ประเภท[3] คือ

  1. Exhibition Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่มาก ดอกมีรูปทรงกลม ลำต้นสูงใหญ่ แต่ละต้นเลี้ยงให้มีเพียง 1 ดอก ปกติจะปลูกสำหรับการโชว์
  2. Standard Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Exhibition Type แต่ละต้นเลี้ยงให้มี 3-4 กิ่ง และแต่ละกิ่งให้มีเพียง 1 ดอก
  3. Spray Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Standard Type แต่ละกิ่งมีหลายดอก และมี 3-4 กิ่งต่อต้น หรืออาจมีมากกว่านี้ ตัดดอกขายในลักษณะเป็นกิ่งหรือต้องขายทั้งต้น
  4. potted Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Spray Type ใช้ปลูกเป็นไม้กระถาง มีทรงพุ่มกระทัดรัด แตกกิ่งก้านได้มากดอกดก

สายพันธุ์

[แก้]

พันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1,000 พันธุ์ปลูก ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว พันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin) ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์ พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์

[แก้]
  1. การปักชำ ใช้ส่วนของกิ่ง (จากกิ่งส่วนล่างหรือส่วนโคนของพุ่มต้น) ตัดยาว 5 - 10 ซม. มีใบติด 3-4 ใบ ปลิดใบล่างๆออก ผึ่งไว้จนแห้ง จากนั้นจุ่มในสารเคมีเร่งราก รากจะออกประมาณ 10 - 15 วัน
  2. การแยกหน่อ หลังจากให้ดอกแล้ว จะแตกหน่อจำนวนมากสามารถแยกเอาหน่อซึ่งมีรากติดอยู่ไปปลูกได้

การปลูกเลี้ยง

[แก้]

ควรปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี pH ดิน 6 - 7 ได้รับแสงแดดเต็มที่ ให้น้ำในระยะ 7 - 10 วัน หลังย้ายปลูกควรรดน้ำ เช้า - เย็น เมื้อต้นกล้าตั้งตัวดีแล้ว จะรดน้ำตอนเช้าวันละครั้ง และให้ปุ๋ยในอัตรา 3 : 2: 1 ทุก 7 วันเพื่อเร่งการเติบโตของลำต้น หลังปลูก 2 เดือนจะให้ปุ๋ยอัตรา 1 : 2: 1 ทุก 10 วัน เพื่อช่วยในการออกดอก ใส่จนกระทั่งเก็บดอกใส่ต้นละ 1 ช้อนชา ถ้าต้องการให้ดอกเบญจมาศมีขนาดใหญ่ จะต้องปลิดดอกที่ล้อมรอบดอกยอดและดอกที่แตกตามซอกใบทั้งหมด ให้แต่ละกิ่งเหลือดอกยอดเพียงดอกเดียว ควรปลิดดอกข้างเมื่อมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ มิฉะนั้นดอกยอดจะมีขนาดเล็กและก้านดอกจะเหนียวขึ้น ถ้าปลิดเร็วเกินไปจะปลิดลำบากเพราะดอกยังมีขนาดเล็กเกินไปและจะเสียเวลาหลายครั้ง เนื่องจากดอกข้างจะทะยอยออกมาเรื่อยๆ

ศัตรูเบญจมาศ

[แก้]

โรคใบจุด โรคใบเหี่ยว โรคใบแห้ง โรคดอกเน่า เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกินดอก ไรแดง

การตัดดอก

[แก้]

ใช้กรรไกรตัดก้านดอกเหนือพื้นดินประมาณ 10 ซม. แต่พันธุ์ที่ก้านดอกยาวอาจตัดสูงกว่านั้น (ถ้าปลายก้านดอกมีเส้นใยมากจะดูดน้ำได้น้อย) ควรเด็ดใบทิ้ง 1 ใน 3 ของก้านดอกจากข้างล่าง ควรตัดดอกเมื่อกลีบดอกด้านนอกบานเต็มที่แต่กลีบตรงใจกลางดอกยังไม่บาน ถือว่าเป็นระยะเหมาะสมที่สุดและสวยที่สุด


อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ o
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-15. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
  3. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=47560&NewsType=2&Template=1