ข้ามไปเนื้อหา

อีดิลอัฎฮา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีดิลอัฎฮา
อาศิรพจน์ของอีดิลอัฎฮาในภาษาอาหรับ
ชื่อทางการعيد الأضحى
จัดขึ้นโดยมุสลิมกับดรูซ
ประเภทอิสลาม
ความสำคัญ
การถือปฏิบัติละหมาดอีด, เชือดพลีสัตว์, บริจาค, รวมญาติ, กินเลี้ยง, ให้ของขวัญ
เริ่ม10 ซุลฮิจญะฮ์
สิ้นสุด13 ซุลฮิจญะฮ์
วันที่10 Dhu al-Hijjah
ส่วนเกี่ยวข้องฮัจญ์; อีดิลฟิฏร์

อีดิลอัฎฮา (อาหรับ: عيد الأضحى, อักษรโรมัน: ʿīd al-ʾaḍḥā, แปลตรงตัว'เทศกาลเชือดพลี', สัทอักษรสากล: [ʕiːd alˈʔadˤħaː]) หรือ อีด กุรบ่าน (เปอร์เซีย: عيد قربان) ภาษามลายูปัตตานีเรียก ฮารีรายอฮัจยี และไทยมุสลิมภาคกลางเรียก วันอีดใหญ่ เป็นวันหยุดอิสลามอันที่สองที่ฉลองทั่วโลก (อีกอันคืออีดิลฟิตรี) เพื่อยกย่องอิบรอฮีมที่จะเชือดพลีลูกชายของท่าน เพื่อทำตามคำสั่งของอัลลอฮ์ แต่ก่อนที่อิบรอฮีมเชือดพลีลูกชายของตนเอง พระองค์ให้ท่านเชือดแกะแทน โดยจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งให้คนจนและคนที่ต้องการ อีกส่วนให้เก็บที่บ้าน และส่วนที่สามเอาไปแจกให้กับญาติ ตามปฏิทินอิสลาม อีดิลอัฎฮา อยู่ในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ และมีระยะเวลาสามวัน

ชื่ออื่น

[แก้]

นี่คือตัวอย่างรายชื่อของอีดิลอัฎฮาในแต่ละภาษา:

  • عیدالاضحیٰ (ทับศัพท์จากภาษาอาหรับ)[1] ถูกใช้ในภาษาอุรดู, ฮินดี, อัสสัม, เบงกอล, คุชราต และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนเช่น มาเลย์กับอินโดนีเซีย
  • العيد الكبير หมายถึง "อีดใหญ่" ("อีดเล็ก" คืออีดิลฟิฏร์)[2] ถูกใช้ในประเทศเยเมน, ซีเรีย กับแอฟริกาเหนือ
  • عید البقرة (อีดิลบะเกาะเราะฮ์) หมายถึง "เทศกาลวัว (และแกะหรือแพะ)" ถูกใช้ในประเทศอียิปต์, ซาอุดีอาระเบีย และตะวันออกกลาง ถึงแม้ว่าคำว่า بقرة แปลว่าวัว แต่สามารถขยายความเป็นปศุสัตว์ทั้งหมด โดยเฉพาะแกะหรือแพะ
  • เทศกาลฮัจยี[3][4] ถูกใช้ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
  • ซัลลาฮ์ใหญ่ (Big Sallah) ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์กว่าอีดิลฟิฏร์ (ที่เรียกกันว่า "ซัลลาฮ์เล็ก" (Small Sallah)).[5]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า عيد (อีด) หมายถึง 'เทศกาล', 'การฉลอง', 'วันฉลอง' หรือ 'วันหยุด' โดยเป็นรากสามอักษรว่า عيد ซึ่งหมายถึง "เพื่อกลับไป, ยกเลิก, สะสม, คุ้นเคย, นิสัย, ทำซ้ำ, ได้รับประสบการณ์; มอบมายเวลาหรือสถานที่, ครบรอบ, วันฉลอง"[6][7] อาเทอร์ เจฟเฟอรีโต้แย้งศัพทมูลวิทยานี้ และเชื่อว่าคำนี้ยืมมาจากภาษาซีรีแอก หรือภาษาตาร์คุม[8]

คำว่า أضحى (อัฎฮา) กับ قربان (กุรบาน) มีความหมายเดียวกันคือ 'เชือดพลี' (เชือดพลีสัตว์), 'เครื่องบูชา' หรือ 'เครื่องเซ่น' คำแรกมาจากรากสามอักษรว่า ضحى (เฎาะฮ์ฮา) ซึ่งหมายถึง "สังเวย ; ถวาย ; บูชายัญ ; ทำให้เป็นเหยื่อ"[9] ไม่มีการปรากฏของรากนี้ที่ใกล้เคียงกับการบูชายัญในอัลกุรอาน[6] แต่พบได้ในฮะดีษ อาเทอร์ เจฟเฟอรีพบว่าคำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรูเหมือนกัน แต่เชื่อว่าคำนี้อาจนำเข้ามาจากภาษาแอราเมอิก[8] ซึ่งเทียบกับภาษาฮีบรูว่า โกรบาน קָרבן (qorbān).

ต้นกำเนิด

[แก้]
เจ้าของล้างวัวก่อนนำไปที่ตลาดโค ภาพที่ Boshila, ธากา, ประเทศบังกลาเทศ

หนึ่งในบททดสอบของอิบรอฮีมเพื่อทำตามคำสั่งของอัลลอฮ์คือเชือดพลีลูกชายที่รักของตนเอง[10] ในศาสนาอิสลาม อิบรอฮีมเก็บความฝันของตนเองที่เชือดอิสมาอีล อิบรอฮีมรู้ว่าเป็นคำสั่งจากอัลลอฮ์ และพูดเรื่องนี้กับลูกชายของท่าน ตามที่กุรอานกล่าวไว้ว่า "โอ้ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า" อิสมาอีลกล่าวว่า " โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด" อิบรอฮีมจึงเตรียมของเพื่อเชือดลูกชายของตนเองด้วยความศรัทธาและเชื่อฟังของอัลลอฮ์[11] ในระหว่างที่เตรียมตัวนั้น ชัยฏอนพยายามล่อลวงอิบรอฮีมและครอบครัวของท่านโดยการขัดขวางเขาจากคำสั่งของอัลลอฮ์ และอิบรอฮีมขว้างก้อนกรวดใส่มัน เพื่อระลึกถึงการปฏิเสธชัยฏอน จึงมีการขว้างหินที่เสาหินในช่วงพิธีฮัจญ์[12]

เมื่อรู้ว่าอิบรอฮีมจะเชือดพลีในสิ่งที่ตนรักแล้ว อัลลอฮ์ทรงยกย่องทั้งอิบรอฮีมและอิสมาอีล ญิบรีลเรียกอิบรอฮีมว่า "โอ้ อิบรอฮีมเอ๋ย! “แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว" และส่งแกะตัวผู้จากสวรรค์มาเชือดแทนอิสมาอีล มุสลิมทั่วโลกฉลองอีดิลอัฎฮาเพื่อรำลึกถึงความจงรักภักดีของอิบรอฮีมและการรอดพ้นของอิสมาอีล[13][14][15]

เรื่องราวนี้เป็นที่รู้จักในศาสนายูดายว่าการมัดอิสอัคซึ่งพบในคัมภีร์โทราห์[16]หนังสือเล่มแรกของโมเสส (ปฐมกาล, ตอน 22) ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงการมัดอิสมาอีลไว้ว่า:[17]

100 "ข้าแต่พรเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานบุตรที่มาจากหมู่คนดีให้แก่ข้าพระองค์ด้วย!"
101 ดังนั้น เราจึงแจ้งข่าวดีแก่เขา (ว่าจะได้) ลูกคนหนึ่ง ที่มีความอดทนขันติ (คือ อิสมาอีล)
102 ครั้นเมื่อเขา (อิสมาอีล) เติบโตขึ้นไปไหนมาไหนกับเขา (อิบรอฮีม) ได้แล้ว อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า “โอ้ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร? “ เขากล่าวว่า “โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ พ่อจะเห็นฉันว่า ฉันอยู่ในหมู่ผู้มีความอดทน”
103 ครั้นเมื่อทั้งสอง (พ่อและลูก) ได้ยอมมอบตน (แด่อัลลอฮฺ) อิบรอฮีมได้ให้อีสมาอีลคว่ำหน้าลงกับพื้น
104 และเราได้เรียกเขาว่า “โอ้ อิบรอฮีม” เอ๋ย!
105 “แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว” แท้จริง เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย
106 แท้จริง นั่นคือ การทดสอบที่ชัดแจ้งแน่นอน
107 และเราได้ให้ค่าไถ่ตัวเขาด้วยสัตว์เชือดพลีอันใหญ่หลวง
108 และเราได้ปล่อยทิ้งไว้ (เกียรติคุณ) แก่เขาในกลุ่มชนรุ่นหลัง ๆ
109 "ศานติจงมีแต่อิบรอฮีม!"
110 เช่นนั้นแหละ เราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย
111 แท้จริง เขา (อิบรอฮีม) เป็นคนหนึ่งในปวงบ่าวของเราผู้ศรัทธา
112 เราได้แจ้งข่าวดีแก่เขาว่า จะได้ (ลูกคนหนึ่ง) อิสฮาก เป็นนะบี (จะเป็นหนึ่ง) ในหมู่คนดีทั้งหลาย

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 37 (อัศศอฟฟาต), อายะฮ์ที่ 100–112[18]

คำว่า "อีด" พบในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ ซึ่งหมายถึง "วันรื่นเริง"[19]

จุดประสงค์

[แก้]

จุดประสงค์ของกุรบ่านหรือเชือดพลีไม่ได้เป็นการทำให้เลือดไหลเพื่อให้อัลลอฮ์พอใจ แต่เป็นการเชือดพลีสิ่งที่ผู้มีใจศรัทธารักมากที่สุด เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์[20] เป็นข้อบังคับที่จะต้องแบ่งเนื้อที่ผ่านการเชือดพลีไปเป็นสามส่วน - สำหรับครอบครัว, สำหรับญาติกับผองเพื่อน และสำหรับคนยากจน

ละหมาดอีด

[แก้]
การละหมาดอีดที่มัสยิดบาดชาฮี, ประเทศปากีสถาน

การละหมาดอีดจะเริ่มขึ้นตอนดวงอาทิตย์พ้นขอบฟ้าในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ ถ้ามี เหตุสุดวิสัย (เช่นภัยพิบัติธรรมชาติ) การละหมาดอาจจะเลี่อนไปเป็นวันที่ 11 และ 12 ซุลฮิจญะฮ์[21]

ในช่วงเวลาละหมาด จะมี 2 เราะกะอัต และ 7 ตักบีร ในเราะกะอัตแรกกับ 5 ตักบีรในเราะกะอัตที่สอง สำหรับชีอะฮ์แล้ว การละหมาดอีดจะไม่มีการ อะซาน หรือ อิกอมะฮ์[22][23] หลัง ละหมาด เสร็จแล้ว ก็ตามมาด้วยคุตบะฮ์โดยอิหม่าม

หลังละหมาดหรือเทศนาเสร็จแล้ว มุสลิมจะโอบกอดและกล่าวทักทายซึ่งกันและกัน (อีดมุบาร็อก) ให้ของขวัญ และเยี่ยมญาติ มุสลิมหลายคนใช้โอกาสนี้ในการเชิญชวนเพื่อน, เพื่อนบ้าน, เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมห้องในเทศกาลอีด เพื่อให้พวกเขารู้จักอิสลามและวัฒนธรรมมุสลิมได้ดีกว่าเดิม[24]

ธรรมเนียม

[แก้]
ขนมอีด (มะอ์มูล)

ในช่วงอีดิลอัฎฮา จะมีการกล่าว ตักบีร อย่างเสียงดังก่อนละหมาดอีด และหลังละหมาดอีกสามวัน โดยถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากในเทศกาลอิสลาม[25] และจะกล่าว ตักบีร แบบนี้:[26]

الله أكبر الله أكبر الله أكبر
لا إله إلا الله
الله أكبر الله أكبر
ولله الحمد

อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร
ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์
อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร
วะลิลลาฮิลฮัมด์[a]

หนึ่งในธรรมเนียมที่สำคัญของอีดิลอัฎฮาคือการเชือดพลีสัตว์

ชายหญิง และเด็ก ๆ จะใส่เสื้อที่ดูดีเพื่อไปละหมาดอีดกลุ่มในลานกว้างหรือมัสยิด มุสลิมที่มีฐานะมั่งคั่งพอที่จะซื้อสัตว์ที่ฮะลาลมาเชือดพลี (ส่วนใหญ่เป็นวัว และก็มีสัตว์ตัวอื่นขึ้นอยู่กับประเทศ เช่นอูฐ, แพะ หรือแกะ) เป็นสัญลักษณ์ของความเต็มใจของอิบรอฮีมในการเชือดลูกชายคนเดียวของตนเอง[27] การเชือดพลีสัตว์ เรียกว่า อัฎฮียะฮ์ (อาหรับ: أضحية) ที่มาจากคำภาษาอาหรับ-เปอร์เซียว่า กุรบานี ตัวสัตว์จะต้องมีอายุและคุณภาพตามมาตรฐาน ไม่เช่นนั้น การเชือดพลีจะไม่เป็นผล[28] ที่ประเทศปากีสถาน มีสัตว์ถูกเชือดเกือบ 10 ล้านตัวในวันอีด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมกว่า 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[29]

เนื้อจากการเชือดพลีจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน โดยส่วนหนึ่งถูกแบ่งให้ครอบครัว อีกส่วนแบ่งให้ญาติ, เพื่อน และเพื่อนบ้าน และส่วนที่เหลือแบ่งให้กับคนจนและคนที่ต้องการ[27]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร, อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร, อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร
    ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์
    อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร, อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร
    และการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์แด่พระองค์[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Eid Al Adha (Sacrifice Feast of Muslims)". Prayer Times NYC. 8 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
  2. Noakes, Greg (April–May 1992). "Issues in Islam, All About Eid". Washington Report on Middle East Affairs. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
  3. Bianchi, Robert R. (11 August 2004). Guests of God: Pilgrimage and Politics in the Islamic World. Oxford University Press. p. 398. ISBN 978-0-19-029107-5.
  4. Ramzy, Sheikh (2012). The Complete Guide to Islamic Prayer (Salāh) (ภาษาอังกฤษ). ISBN 978-1477215302.
  5. "Eid-el-Kabir All you need to know about Sallah – Pulse Nigeria".
  6. 6.0 6.1 Oxford Arabic Dictionary. Oxford: Oxford University Press. 2014. ISBN 978-0-19-958033-0.
  7. Badawi, Elsaid M.; Abdel Haleem, Muhammad (2008). Arabic–English Dictionary of Qur'anic Usage. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-14948-9.
  8. 8.0 8.1 Jeffery, Arthur (2007). The Foreign Vocabulary of the Qur'ān. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15352-3.
  9. Team, Almaany. "Translation and Meaning of ضحى In English, English Arabic Dictionary of terms Page 1". almaany.com. สืบค้นเมื่อ 26 August 2019.
  10. Staff, Writer. "Abraham". Encyclopædia Britannica.
  11. Bate, John Drew (1884). An Examination of the Claims of Ishmael as Viewed by Muḥammadans. BiblioBazaar. p. 2. ISBN 978-1117148366. Ishmael sacrifice.
  12. Firestone, Reuven (1990). Journeys in Holy Lands: The Evolution of the -Ishmael Legends in Islamic Exegesis. SUNY Press. p. 98. ISBN 978-0791403310.
  13. "The Significance of Hari Raya Aidiladha". muslim.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.
  14. Elias, Jamal J. (1999). Islam. Routledge. p. 75. ISBN 978-0-415-21165-9. สืบค้นเมื่อ 24 October 2012.
  15. Muslim Information Service of Australia. "Eid al – Adha Festival of Sacrifice". Missionislam.com. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
  16. Stephan Huller, Stephan (2011). The Real Messiah: The Throne of St. Mark and the True Origins of Christianity. Watkins; Reprint edition. ISBN 978-1907486647.
  17. Fasching, Darrell J.; deChant, Dell (2011). Comparative Religious Ethics: A Narrative Approach to Global Ethics. Wiley-Blackwell. ISBN 978-1444331332.
  18. อัลกุรอาน 37:100–112 แปลโดยอับดุลละฮ์ ยูซุฟ อาลี
  19. อัลกุรอาน 5:114. "อีซาบุตรของมัรยัม ได้กล่าวว่า: ‘ข้าแต่อัลลอฮ์! ผู้เป้นพระเจ้าของข้าพระองค์! โปรดได้ทรงประทานลงมาแก่พวกข้าพระองค์ ซึ่งสำรับอาหารจากฟากฟ้าด้วยเถิด จะได้เป็นวันรื่นเริงแก่พวกข้าพระองค์ ทั้งแก่คนแรกของพวกข้าพระองค์และแก่คนสุดท้ายของพวกข้าพระองค์ และจะได้เป็นสัญญาณหนึ่ง จากพระองค์ และโปรดได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด และพระองค์นั้น คือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลาย’"
  20. "Why do Muslims sacrifice animals on Eid-al-Adha or Baqreid". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
  21. 21.0 21.1 H. X. Lee, Jonathan (2015). Asian American Religious Cultures [2 volumes]. ABC-CLIO. p. 357. ISBN 978-1598843309.
  22. "Sunnah during Eid ul Adha according to Authentic Hadith". 13 November 2010. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011 – โดยทาง Scribd.
  23. حجم الحروف – Islamic Laws : Rules of Namaz » Adhan and Iqamah. Retrieved 10 August 2014
  24. "The Significance of Eid". Isna.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
  25. McKernan, Bethan (29 August 2017). "Eid al-Adha 2017: When is it? Everything you need to know about the Muslim holiday". .independent.
  26. "Eid Takbeers – Takbir of Id". Islamawareness.net. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
  27. 27.0 27.1 Buğra Ekinci, Ekrem. "Qurban Bayram: How do Muslims celebrate a holy feast?". dailysabah.
  28. Cussen, V.; Garces, L. (2008). Long Distance Transport and Welfare of Farm Animals. CABI. p. 35. ISBN 978-1845934033.
  29. "Bakra Eid: The cost of sacrifice". Asian Correspondent. 16 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-28. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]