หมู่เกาะจินเหมิน
เทศมณฑลจินเหมิน 金門縣 คีมอย | |
---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในเทศมณฑลจินเหมิน | |
พิกัด: 24°26′N 118°20′E / 24.44°N 118.33°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) |
มณฑล | มณฑลฝูเจี้ยน (ถูกยุบแล้ว) |
ศูนย์กลางการปกครอง | จินเฉิง |
เมืองใหญ่สุด | จินเฉิง |
จำนวนตำบลและหมู่บ้าน | 3 เมือง, 3 ตำบล 37 หมู่บ้าน (หมู่บ้านในเมือง 24 แห่ง, หมู่บ้านชนบท 13 แห่ง) |
การปกครอง | |
• ผู้บริหารเทศมณฑล | หยาง เจิ้นอู๋ (楊鎮浯) (ก๊กมินตั๋ง) |
พื้นที่[1][a] | |
• ทั้งหมด | 153.011 ตร.กม. (59.078 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 20 จาก 22 |
ประชากร (ธันวาคม 2014) | |
• ทั้งหมด | 127,723 คน |
• อันดับ | ที่ 20 จาก 22 |
• ความหนาแน่น | 830 คน/ตร.กม. (2,200 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานไต้หวัน) |
รหัส ISO 3166 | TW-KIN |
เว็บไซต์ | www.kinmen.gov.tw/ |
จินเหมิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 金門 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไปรษณีย์ | Kinmen | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
เทศมณฑลจินเหมิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 金門縣 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
หมู่เกาะจินเหมิน หรือ คีมอย, กิมหมึง (จีน: 金門縣; พินอิน: Jīnmén Lièdǎo; ฮกเกี้ยน: Kinmen) หมู่เกาะขนาดเล็กซึ่งในปัจจุบันได้ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)[2][3] ชื่อเกาะมีความหมายว่า ประตูทองคำ[3] ตั้งอยู่ใกล้กับนครเซี่ยเหมิน ในมณฑลฝูเจี้ยนของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ซึ่งห่างกันเพียง 6 กิโลเมตรเท่านั้น[3] ปัจจุบันหมู่เกาะจินเหมินได้รับการพัฒนาให้เป็นเสมือนเมืองหน้าด่าน เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังเกาะไต้หวัน จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับนครเซี่ยเหมินได้อย่างรวดเร็ว[3]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]แผนที่ | ||||
---|---|---|---|---|
ชื่อ | อักษรจีน | พินอิน ภาษาจีนกลาง |
เป่อ่วยจี ภาษาฮกเกี้ยน |
ความหมาย |
เมืองจินเฉิง | 金城鎮 | Jīnchéng | Kim-siâⁿ-tìn | เมืองทอง |
เมืองจินชา | 金沙鎮 | Jīnshā | Kim-soaⁿ-tìn | ทรายทอง |
เมืองจินหู | 金湖鎮 | Jīnhú | Kim-ô·-tìn | ทะเลสาบทอง |
ตำบลจินหนิง | 金寧鄉 | Jīnníng | Kim-lêng-hiong | ทองสงบ |
ตำบลเลี่ยยวี่ | 烈嶼鄉 | Lièyǔ | Lia̍t-sū-hiong | เกาะกล้าหาญ |
ตำบลอูชิว | 烏坵鄉 | Wūqiū | O·-kiu-hiong | ภูเขาสีดำ |
ประชากรศาสตร์
[แก้]ประชากรส่วนมากที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมบนเกาะจินเหมินเป็นชาวฮกเกี้ยน และใช้ภาษาหมิ่นหนาน (ฮกเกี้ยน) แต่เนื่องจากการแยกตัวออกมาจากการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) พวกเขาจึงเรียกภาษาของพวกเขาว่า ภาษาจินเหมิน เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับภาษาไต้หวันซึ่งใช้บนเกาะไต้หวัน ทั้งนี้ทั้งสองภาษาทั้งจินเหมินและไต้หวัน ก็สามารถใช้สื่อสารด้วยกันเข้าใจกันได้อย่างดี แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศของจินเหมินที่ห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่ไม่มากนัก ทำให้มีผู้คนในเมืองอูชิวใช้ภาษาปู้เซียน ซึ่งมีความแตกต่างกับภาษาหมิ่นหนาน ที่ใช้กันโดยทั่วของประชากรในแถบหมู่เกาะจินเหมิน
ชาวจินเหมินมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเสือ และนิยมประดับประดาไว้ตามบ้าน โดยเชื่อว่าเทพองค์นี้จะดลบันดาลและปัดเป่าทุกขภัย และดูแลผืนน้ำเพื่อไม่ให้เกิดลมพายุ[3] และศิลปกรรมของชาวจินเหมินนิยมตกแต่งให้สีสันฉูดฉาดลดลายสดใสสวยงาม[3]
เศรษฐกิจ
[แก้]ด้วยความที่หมู่เกาะจินเหมินมีความสะอาด เงียบสงบ และบรรยากาศดี ทำให้ในจินเหมินเองมีสินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงอย่าง ข้าวฟ่าง, เหล้าข้าวฟ่าง, ขนมถั่วบด และมีดที่ทำมาจากแผ่นเหล็กหุ้มระเบิดในสงคราม 823 ในปี ค.ศ. 1958 ระหว่างเซี่ยเหมินกับจินเหมิน[3] นอกจากนี้จินเหมินยังได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยวระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับเกาะไต้หวัน ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านจินเหลียน[2][4][5] และได้รับการพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยว[3]
หลังจากการเริ่มนโยบายเกี่ยวกับการคมนาคมระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับเกาะไต้หวัน ทำให้จินเหมินเริ่มมีความสำคัญในการเป็นหนึ่งเมืองนำร่องในการเป็นช่องทางการเดินเรือตามนโยบาย 3 ตัวเชื่อมย่อย (Mini Three Links) ซึ่งส่งผลให้จินเหมินกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับเซี่ยเหมินในระยะเวลาอันรวดเร็ว[3] ในเขตเสียงอัน (翔安区) ของเซี่ยเหมินยังมีเกาะต้าเติง (大嶝岛) ซึ่งเป็นเขตตลาดสินค้าปลอดภาษี (Duty free market) มีชื่อว่า ตลาดค้าขายสินค้าขนาดเล็กไต้หวัน (对台小额贸易市场) เป็นตลาดที่มีจุดเด่นเนื่องจากเป็นสถานที่ซื้อขายสินค้านำเข้าจากเกาะจินเหมินและเกาะไต้หวันที่ปลอดภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีการจำกัดปริมาณยอดการซื้อ ตลาดแห่งนี้เปิดในปี ค.ศ. 1995 เป็นเขตปลอดภาษีที่ดึงดูดลูกค้าชาวจีนและต่างชาติเป็นจำนวนมาก เป็นช่องทางสำคัญด้านการค้าระหว่างช่องแคบไต้หวัน ซึ่งจากสถิติศุลกากรนครเซี่ยเหมินระบุว่า ในเดือนมกราคม-สิงหาคม ค.ศ. 2008 ตลาดแห่งนี้ได้รองรับสินค้านำเข้าจากไต้หวันกว่า 8,277 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ จำนวนพื้นที่ที่แสดงไม่รวมเกาะต้าเติ้ง (大嶝)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 行政面積. 金門縣政府民政處 Civil Affairs Department, Kinmen County Government (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 29 January 2019. สืบค้นเมื่อ 9 August 2019.
外圍 島嶼 面積單位: (平方公里) 大嶝 22.7500 小嶝 3.3100 角嶼 2.4400{...}附記 本縣縣境總面積153.011平方公里。 (不含中共管轄之大小嶝、角嶼)
- ↑ 2.0 2.1 "ชาวแผ่นดินใหญ่กลุ่มแรกเดินทางไปเที่ยวไต้หวันโดยผ่านจินเหมิน หมาจู่และเผิงหู(ภ)". China Radio International. 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-08.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 "เจาะลึกฮกเกี้ยน:เกาะจินเหมินของไต้หวัน แหล่งช๊อปปิ้งแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวจีนแผ่นดินใหญ่". thaibizchina.com. 2008-03-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
- ↑ "Cross-strait Interactions and Exchanges". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
- ↑ Commentary: Direct, Cross-Strait Three Exchanges Irresistible