สุสานหิ่งห้อย
บทความเกี่ยวกับการ์ตูนหน้านี้ต้องการเก็บกวาด อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
|
สุสานหิ่งห้อย | |
---|---|
ไฟล์:Grave of the Fireflies.jpg | |
กำกับ | อิซาโอะ ทากาฮาตะ |
บทภาพยนตร์ | อิซาโอะ ทากาฮาตะ |
สร้างจาก | "โฮตารุ โนะ ฮาตะ" โดย อากิยูกิ โนซากะ |
อำนวยการสร้าง | โทรุ ฮาระ |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | โนบูโอะ โคยามะ |
ตัดต่อ | ทาเกชิ เซยามะ |
ดนตรีประกอบ | มิจิโอะ มามิยะ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | โทโฮ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 89 นาที[1] |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ทำเงิน |
สุสานหิ่งห้อย (ญี่ปุ่น: 火垂るの墓; โรมาจิ: Hotaru no Haka; อังกฤษ: Grave of the Fireflies) ภาพยนตร์แอนิเมชันแนวโศกนาฏกรรมสงครามของญี่ปุ่น[4][5]ที่อิงจากเรื่องสั้นใน ค.ศ. 1967 โดยอากิยูกิ โนซากะ ภาพยนตร์นี้เขียนบทและกำกับโดยอิซาโอะ ทากาฮาตะ และวาดภาพโดยสตูดิโอจิบลิให้แก่สำนักพิมพ์ชินโชชะ[6]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสียงโดยสึโตมุ ทัตซึมิ, อายาโนะ ชิราอิชิ, โยชิโกะ ชิโนฮาระ, และ อาเกมิ ยามางูจิ ดำเนินเรื่องในเมืองโคเบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเรืองราวของสองพี่น้อง เซตะ และ เซ็ตสึโกะ ที่ต้องพยายามเอาชีวิตรอดในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสิ้นสุดลง
สุสานหิ่งห้อยได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์สงครามที่ดีที่สุดตลอดกาล และยังถูกจัดให้เป็นผลงานแอนิเมชันชิ้นสำคัญจากประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย[7][8]
เนื้อเรื่อง
[แก้]เป็นเรื่องราวความรักความสัมพันธ์ของสองพี่น้องที่อาศัยอยู่ในเมืองโกเบประเทศญี่ปุ่นเหตุการณ์เกิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เซตะ โยโกกาวา ลูกชายคนแรกของนายพลทหารเรือ อายุ 14 ปี กำลังขนเสบียงลงหลุมเพื่อมีอาหารเวลาสงครามสงบ และในเวลานั้นเครื่องบินกำลังบินผ่านมายังเมืองเพื่อปล่อยระเบิดครั้งรุนแรงกว่าที่ผ่านมา เซตะจึงให้แม่ของตนออกเดินทางไปยังหลุมหลบภัยก่อน เนื่องจากแม่เป็นโรคหัวใจ โดยเซตะ และ น้องสาว เซซึโกะ อายุ 4 ขวบ จะตามไปทีหลัง ซึ่งระหว่างทางไปหลุมหลบภัย ระเบิดจากเครื่องบินของทหารอเมริกาถูกทิ้งลงมา ทำให้เซตะและเซซึโกะ พลัดหลงกับแม่ของพวกเขา ทำให้เซตะพาน้องสาวไปหลบภัยอยู่หลังเนินถนนสูงเป็นกำแพงหินริมทะเล ซึ่งภายหลังพวกเขาพบว่าบ้านของพวกเขาถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง และรอบๆบริเวณนั้นถูกทำลายทั้งหมด
สองพี่น้องพยายามตามหาแม่ มีคนมากบอกเซตะว่าแม่ของเขาบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตลงเนื่องจากถูกไฟลวก และเมื่อเวลาผ่านไปเซซึโกะถามหาแม่ของเขาแต่เซตะบ่ายเบียงไม่ยอมบอกและปกปิดน้องสาวของเขาไม่ให้รู้ว่าแม่ได้เสียชีวิตแล้ว และทั้งสองก็ได้ไปอยู่กับป้า ฮิซาโกะ ของพวกเขา ซึ่งป้าของเซตะถามถึงอาการปาดเจ็บของแม่ เซตะจึงต้องบอกความจริงไปว่าแม่ได้เสียชีวิตไปแล้ว และต่อมาพวกเขาก็ทนนิสัยป้าของเขาไม่ไหวจึงออกจากบ้านป้ามาทั้งสองคน ทั้งสองพี่น้องจึงไปอยู่ในเหมืองเก่าๆ ซึ่งในสมัยก่อนใช้เป็นที่หลบภัย ภายในเหมืองมีแสงสว่างน้อยมากทำให้เซซึโกะกลัวความมืด เมื่อเป็นเช่นนั้น เซตะพี่ชายจึงไปหาหิ่งห้อยมาปล่อยไว้มากมายทำให้มีแสงสว่างมากพอทำให้เซซึโกะไม่กลัว
และเมื่อเวลาผ่านไปนาน อาหารก็เริ่มหมด และไม่มีอาหารให้แลกแล้ว และเซซึโกะก็เริ่มมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งเซซึโกะป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร และเมื่ออาหารหมด ทำให้เซตะต้องขโมยของตามบ้านเมื่อมีการทิ้งระเบิดของทหารอเมริกา ผู้คนมากมายกำลังหลบหนีระเบิดอยู่แต่เซตะกลับวิ่งฝ่าระเบิดเข้าไปตามบ้านคนที่ว่างเปล่าเพื่อเข้าไปหาของกินมาให้เซซึโกะ และนานวันเข้าอาการป่วยของเซซึโกะเริ่มมากขึ้น เซตะจึงพาน้องไปหาหมอแต่หมอก็ไม่มียารักษาให้ มีวันหนึ่งเซตะเข้าไปในตัวเมืองเพื่อไปถอนเงินก้อนสุดท้ายเพื่อเอาออกมาใช้ และเขาก็ได้ข่าวว่าญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามแล้ว เรือทุกลำจมลงทะเลหมด จมไปพร้อมกับความหวังที่จะเห็นพ่อซึ่งเป็นทหารเรือกลับมาหาตนและน้อง
เมื่อเซตะกลับมาที่เหมือง เขาเห็นน้องสาวนอนอมลูกหินอยู่ซึ่งเซซึโกะคิดว่าป็นลูกอม เซตะจึงห้ามไม่ให้น้องสาวกินลูกหินอีก และเขาจึงไปเอาแตงโมมาป้อนให้เซซึโกะกินและปล่อยให้เซซึโกะนอนพัก เมื่อเห็นน้องสาวนอนพัก เซตะจึงไปทำอาหาร และตั้งแต่นั้นมา เซซึโกะก็ไม่ตื่นขึ้นมาอีกตลอดกาล ในคืนที่ฝนตกหนักและหนาวเย็นเซตะนอนกอดร่างไร้วิญญาณของน้องสาวเขาทั้งคืน และพอเช้าเซตะ ก็เผาร่างของเซซึโกะและนำเศษกระดูกมาใส่ในกล่องลูกอมและเซตะก็นำกล่องนั้นติดตัวไปตลอดจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงที่สถานีรถไฟในวันที่ 21 กันยายน ปี 1945
รูปแบบการเล่าเรื่อง
[แก้]ในตอนเริ่มเรื่องและตอนจบของเรื่อง จะสื่อถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองซึ่งแม้จะเสียชีวิตไปทั้งสองคน แต่ทั้งคู่ก็เป็นวิญญาณและอยู่ด้วยกันตลอดไป หลังจากนั้น 1 เดือนหลังจากจบสงคราม จึงมีการกฎหมายบังคับใช้คุ้มครองเด็กที่ประสบในภาวะสงครามขึ้น ในเรื่องสุสานหิ่งห้อยนั้น จะเปรียบหิ่งห้อยที่มีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่วัน เหมือนกับชีวิตเด็กๆที่อดอยากไม่มีกิน เนื่องจากผลจากการกระทำของสิ่งใดก็ตาม และยังเปรียบแสงของหิ่งห้อยเหมือนความหวังอันริบหรี่ของเด็กๆที่สุดท้ายความหวังอันนั้นก็ดับไปพร้อมกับแสงสว่างของหิ่งห้อยยามเมื่อมันตายลง
คำตอบรับ
[แก้]ภาพยนตร์นี้ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่น[9]โดยมีรายได้เพียง 1.7 พันล้านเยน[2] ต่อมามีการฉายภาพยนตร์จำกัดรอบที่งาน Studio Ghibli Fest 2018 ในสหรัฐ โดยมีรายได้เพียง 516,962 ดอลลาร์สหรัฐ[3]
ปฏิกิริยาสาธารณะ
[แก้]หลังออกฉายต่างประเทศ มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้ชมตีความภาพยนตร์เรื่องนี้แตกต่างกันเนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ดังเช่น เมื่อผู้ชมชาวญี่ปุ่นดูภาพยนตร์ การที่เซตะตัดสินใจไม่กลับไปหาป้าเป็นการตัดสินใจที่เข้าใจได้ เนื่องจากเข้าใจว่าเซตะถูกเลี้ยงดูมาเพื่อให้เห็นคุณค่าของความภาคภูมิใจในตัวเองและประเทศ แต่ผู้ชมชาวอเมริกันและออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะมองว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ฉลาด เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อพยายามช่วยชีวิตน้องสาวและตัวเขาเอง[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "GRAVE OF THE FIREFLIES (12A)". British Board of Film Classification. 17 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2015. สืบค้นเมื่อ 17 May 2013.
- ↑ 2.0 2.1 超意外な結果!?ジブリ映画の興行収入ランキング. シネマズ PLUS (Cinemas PLUS) (ภาษาญี่ปุ่น). 25 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2019. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019.
- ↑ 3.0 3.1 "Grave of the Fireflies – Studio Ghibli Fest 2018 (2018)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
- ↑ Camp, Brian; Davis, Julie (August 2007). Anime Classics Zettai!. ISBN 9781611725193.
- ↑ Steiff, Josef; Tamplin, Tristan (10 April 2010). Anime and Philosophy. ISBN 9780812697131.
- ↑ "Hotaru no haka". The Big Cartoon DataBase. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
- ↑ Ebert, Roger. "Grave of the Fireflies movie review (1988) | Roger Ebert". rogerebert.com/ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
- ↑ "The 50 best World War II movies". Time Out London (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.
- ↑ Runyon, Christopher (20 November 2013). "The Studio Ghibli Retrospective: 'Grave of the Fireflies'". Movie Mezzanine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2014. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ Osmond, Andrew (2010). "Grave of the Fireflies". 100 Animated Feature Films: BFI Screen Guides. British Film Institute. pp. 82–83. doi:10.5040/9781838710514.0035. ISBN 9781838710514.
- ↑ Campbell, Kambole (19 April 2018). "The Human Cost of War in Grave of the Fireflies". One Room With A View (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Goldberg, Wendy (2009). Lunning, Frenchy (บ.ก.). "Transcending the Victim's History: Takahata Isao's Grave of the Fireflies". Mechademia. University of Minnesota Press. 4: 39–52. doi:10.1353/mec.0.0030. ISBN 9780816667499.
- Hooks, Ed (2005). "Grave of the Fireflies". Acting in Animation: A Look at 12 Films. Heinemann Drama. pp. 67–83. ISBN 9780325007052.
- Rosser, Michael (23 November 2012). "Dresden to produce live action Grave of the Fireflies". Screen Daily. สืบค้นเมื่อ 24 November 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สุสานหิ่งห้อย ที่ Nausicaa.net
- สุสานหิ่งห้อย ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- สุสานหิ่งห้อย ที่รอตเทนโทเมโทส์
- สุสานหิ่งห้อย (ภาพยนตร์) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- สุสานหิ่งห้อย ที่บิกการ์ตูนเดตาเบส
- สุสานหิ่งห้อย ฉบับคนแสดง (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2531
- Rotten Tomatoes ID ต่างจากในวิกิสนเทศ
- Rotten Tomatoes template using name parameter
- ภาพยนตร์ญี่ปุ่น
- การ์ตูนญี่ปุ่น
- สตูดิโอจิบลิ
- ภาพยนตร์แอนิเมชัน
- การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง
- ภาพยนตร์โศกนาฏกรรม
- ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในโคเบะ
- บทความเกี่ยวกับ การ์ตูน ที่ยังไม่สมบูรณ์