ข้ามไปเนื้อหา

สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม พ.ศ. 2565 – 3 เมษายน พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
ถัดไปพลเอก กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย (2538–2544)
ไทยรักไทย (2548–2549)
พลังชล (2554–2557)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
เพื่อไทย (2566–ปัจจุบัน)

สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ หรือ ทนายนิ่ม (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 4 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการบริหารพรรคและอดีตนายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย ตามกลุ่มสนธยา คุณปลื้ม

ประวัติ

[แก้]

สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) จากมหาวิทยาลัยบูรพา และจบเนติบัณฑิต จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

การทำงาน

[แก้]

สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 ร่วมกับ สนธยา คุณปลื้ม และสันต์ศักดิ์ งามพิเชษฐ์ และได้รับเลือกตั้งยกทีม ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ได้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 2 อีกครั้งคู่กับ สนธยา คุณปลื้ม และได้รับเลือกตั้งอีกเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาและกลุ่มของสนธยา คุณปลื้ม ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งเช่นเดิม โดยสุรสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยด้วย ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 หลังจากพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เขาได้เข้าร่วมกับพรรคพลังชล[1]

ในปี 2557 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี[2] และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 แต่เมื่อถึงเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน ก็สิ้นสุดสมาชิกภาพลงเนื่องจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[3][4] และลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 15 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 5

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[5] ต่อมาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นายทะเบียนพรรค แทน บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ซึ่งถูกขับออกจากสมาชิกพรรค[6]

ปัจจุบัน ได้เข้าย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยตามนายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2566

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พลิกปูม "สุชาติ ชมกลิ่น" ยึดเก้าอี้ รมช.เกษตรฯ
  2. ศาลคืนสิทธิให้ “สุรสิทธิ์” เป็นผู้สมัคร ส.ว.ชลบุรี
  3. "พปชร." วางตัวเก๋า "สุชาติ-สุรสิทธิ์-วิเชียร" นั่ง "กมธ.แก้รธน."พ่วงสายบู๊ "สิระ-แรมโบ้-ธนกร"
  4. ส.ส.ต้น ยันจับมือ ส.ส.นิ่ม หนุนลงพลังประชารัฐเขต 4 ชลบุรี
  5. เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน
  6. "ลุงป้อม" เซ็นตั้ง "สันติ" รักษาการเลขาฯ พปชร.แล้ว ให้ "สุรสิทธิ์" นั่งนายทะเบียนพรรค
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕