สิระ เจนจาคะ
สิระ เจนจาคะ | |
---|---|
สิระ ในปี พ.ศ. 2564 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | สุรชาติ เทียนทอง |
ถัดไป | สุรชาติ เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2507 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รักษ์สันติ (2554–2561) พลังประชารัฐ (2561–2565) |
คู่สมรส | วิภาวี คุปติมาลาธร (หย่า) สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ |
สิระ เจนจาคะ (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ กรรมการบริษัท บ้านทรงไทยแจ้งวัฒนะ จำกัด และกรรมการบริษัท วิภาวดีพาเลซ จำกัด อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตผู้จัดการบริษัท บ้านทรงไทยแจ้งวัฒนะ จำกัด
ประวัติ
[แก้]สิระ เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของนายสมโภชน์ และนางจรี เจนจาคะ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกริก[1] ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง ม.รังสิต
ด้านชีวิตครอบครัว สมรส 2 ครั้ง ครั้งแรกกับนางสาววิภาวี คุปติมาลาธร มีบุตรด้วยกัน 2 คน และครั้งที่สองกับนางสรัลรัศมิ์ เตชะจิรสิน ไม่มีบุตรด้วยกัน[2]
การทำงาน
[แก้]นายสิระเคยเป็นผู้จัดการบริษัท บ้านทรงไทยแจ้งวัฒนะ จำกัด เมื่อปี 2557 - 2562 และเคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสังคม เมื่อปี 2557 - 2558[3] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัท บ้านทรงไทยแจ้งวัฒนะ จำกัด และกรรมการบริษัท วิภาวดีพาเลซ จำกัด
งานการเมือง
[แก้]นายสิระ เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง เมื่อปี 2554 โดยลงสมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานครในนามพรรครักษ์สันติ เขต 11 เขตหลักสี่ แต่สอบตก แพ้ให้กับ สุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
สิระเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยบอกเหตุผลว่า ได้รับอนุญาตจากอดีตพระพุทธะอิสระ ให้มาสนับสนุน ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทำงานต่อ เพราะว่ามีอุดมการณ์เดียวกัน
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานครอีกครั้ง ในนามพรรคพลังประชารัฐ เขต 9 เขตหลักสี่ โดยนายสิระ ได้ 33,321 คะแนน กลับมาพลิกชนะนายสุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยที่ได้ 30,564 คะแนน[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นายสิระ เจนจาคะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นายสิระถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกในคดีทีเกี่ยวกับการทุจริต[5]
กรณีปะทะกับตำรวจภูเก็ต
[แก้]คลิปเหตุการณ์ที่นายสิระต่อว่า พ.ต.ท.ประเทือง แพร่หลายในโลกออนไลน์ เหตุการณ์สรุปได้ว่า นายสิระเดินทางมาตรวจสอบคอนโดมีเนียมแห่งหนึ่ง โดย พ.ต.ท. ประเทืองได้ตามมาอำนวยความสะดวก นายสิระได้พูดเชิงออกคำสั่งให้ตำรวจสั่งระงับการก่อสร้างและการดำเนินการของอาคารชุดดังกล่าวเนื่องจากพบว่าสร้างบนที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ
พ.ต.ท. ประเทืองบอกว่าการดำเนินการต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามขั้นตอน ไม่สามารถสั่งระงับหรือดำเนินคดีได้ทันที ทำให้นายสิระเริ่มแสดงอาการไม่พอใจ และหยิบยกเรื่องที่ตำรวจไม่ส่งคนมาดูแลตนและคณะ ส.ส. มาตำหนิ
"แจ้งมาแล้วว่ามี ส.ส. 8 คนจะมาเรื่องนี้ ไม่มีการดูแลของเจ้าหน้าที่ตำรวจเลย นี่พูดตรงๆ นะ ยังสงสัยอยู่ พี่ลงพื้นที่อื่น เขา (ตำรวจ) ก็มาดูแล...ทุกที่ที่เราไป ที่นี่ไม่มีเลย"[6]
วงการมวย
[แก้]นายสิระได้เข้าสู่วงการมวย ในฐานะหัวหน้าค่าย “ส.สิระดา” ซึ่งแฟนมวยรู้จัก ในนาม เสี่ยวอลโว่ ซึ่งเขาคือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ วังจั่นน้อย ส.สิระดา นักมวยดังค่าตัวเงินแสน ที่ได้รับรางวัลยอดมวยไทยของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทยปี 2536
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[8]
ปัจจุบันนายสิระ เจนจาคะ ได้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่าง ๆ ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2566[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นายสิระ เจนจาคะ ข้อมูลจากรัฐสภา
- ↑ "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสิระ เจนจาคะ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-25. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25.
- ↑ พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุบกษา, 13 ตุลาคม 2557
- ↑ เปิดประวัติ “สิระ เจนจาคะ” ส.ส.พปชร. จากอดีตหัวหน้าค่ายมวยดัง สู่ศิษย์เอกอดีตพุทธะอิสระ
- ↑ พีพีทีวี 36. "ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง "สิระ เจนจาคะ"พ้นส.ส. เหตุต้องคำพิพากษาถึงที่สุดคดีฉ้อโกง". pptvhd36.com.
- ↑ สิระ เจนจาคะ : สำรวจสิทธิพิเศษ "ผู้ทรงเกียรติ" จากกรณี ส.ส.พลังประชารัฐโวยตำรวจภูเก็ตไม่ดูแล บีบีซีไทย สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2019
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๓, ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖