สถาปัตยกรรมโหยสฬะ
สถาปัตยกรรมโหยสฬะ (กันนาดา: ಹೊಯ್ಸಳ ವಾಸ್ತುಶಿಲ್ಪ; โหยสลฬ วาสตุศิลป) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ ที่เกิดขึ้นในยุคของจักรวรรดิโหยสฬะ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-14 ซึ่งปกครองบริเวณที่ในปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ อิทธิพลของโหยสฬะมาถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมัยที่ปกครองบริเวณที่ราบสูงเดกกัน ตัวอย่างเทวาลัยยุคโหยสละที่สำคัญ เช่น เจนนเกศวเทวาลัยที่เบลูร์, โหยสเลศวรเทวาลัยที่หเลพีฑู และเจนนเกศวเทวาลัยที่โสมนาถปุระ[1][2][3][4] การศึกษาสถาปัตยกรรมโหยสละพบว่าได้รับอิทธิพลบ้างจากชาวอินโด-อารยัน และอิทธิพลของงานศิลป์แบบอินเดียใต้ ทำให้สถาปัตยกรรมโหยสละมีความโดดเด่นเฉพาะตัว[5]
เทวาลัยที่สร้างก่อนสมัยจักรวรรดิโหยสละในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมจลุกยะตะวันตก ส่วนเทวาลัยในยุคถัด ๆ มาจึงเริ่มมีงานศิลป์แบบโหยสฬะเสริมเข้าไป ปัจจุบันมีเทวาลัยจำนวนกว่าสามร้อยแห่งที่หลงเหลืออยู่ภายในพื้นที่ของรัฐกรณาฏกะ และอีกหลายแห่งที่ปรากฏในงานเขียนและเอกสารโบราณ เทวาลัยจำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในอำเภอมเลนาฑู ซึ่งเคยเป็นเขตพระราชฐานของกษัตริย์โหยสฬะ[6]
สถาปัตยกรรมโหยสฬะได้รับการขัดแบ่งโดยอาดัม ฮาร์ดดี นักวิชาการที่ทรงอิทธิพล ว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียม กรณาฏกทราวิฑ ซึ่งเป็นกระแสหนึ่งในสถาปัตยกรรมทราวิฑในที่ราบสูงเดกกันที่ต่างจากรูปแบบทมิฬที่อยู่ลึกลงไปทางใต้ ชื่ออื่น ๆ สำหรับธรรมเนียมนี้ รวมถึง เวสระ และสถาปัตยกรรมจาลุกยะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสถาปัตยกรรมพทามิจาลุกยะ และกัลยาณีจาลุกยะ ซึ่งมีมาก่อนโหยสฬะไม่นาน ธรรมเนียมนี้โดยรยมครอบคลุมยุคสมัยราวเจ็ดศตวรรษที่เริ่มต้นในศตวรรษที่ 7 ภายใต้การอุปถัมภ์ของจักรวรรดิจาลุกยะแห่งพทามิ ต่อมามีการพัฒนารูปแบบต่อในสมัยจักรวรรดิราษฏรกูฏแห่งมันยาเขตในศตวรรษที่ 9-10 และ กัลยาณีจาลุกยะแห่งพสาวกัลยาณในศตวรรษที่ 11-12 ระยะการพัฒนาสุดท้ายก่อนจะแปรสภาพมาเป็นรูปแบบเฉพาะตัวมีขึ้นในสมัยปกครองของโหยสฬะในศตวรรษที่ 12-13[7] จารึกจากสมัยยุคกลางที่ปรากฏเป็นหลักตามเทวาลัยต่าง ๆ ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยใกีบการบริจาคเพื่อทำนุบำรุงศาสนสถาน รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบพิธีอุทิศ และในบางครั้งแม้แต่รายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม[8]
เทพเจ้าประจำเทวาลัย
[แก้]เทวาลัยในศาสนาฮินดูเริ่มแรกเป็นศาลเจ้าอย่างง่ายที่ภายในประดิษฐานเทพเจ้า ในยุคสมัยของชาวโหยสฬะ เทวาลัยได้พัฒนามาเป็นสิ่งปลูกสร้างใหญ่โตที่มีการประกอบสร้างขึ้นอย่างบรรจง ที่ซึ่งศาสนิกชนเสาะหาความยิ่งใหญ่เหนือธรรมชาติในโลกมนุษย์ เทวาลัยแบบโหยสฬะไม่เพีนงแต่จำกัดอยู่เฉพาะในธรรมเนียมอันเป็นระบบของศาสนาฮินดู แต่ยังรวมถึงผู้มีศรัทธาจากขบวนการบูชาธรรมเนียมฮินดูอื่น ๆ ชายโหยสฬะมักจะอุทิศเทวาลัยของตนแก่พระศิวะหรือพระวิษณุ สองเทพเจ้าที้มีกาาเคารพบูชาอย่างแพร่หลายในศาสนาฮินดู กระนั้นก็มีบางโอกาสที่สร้างเทวถานบูชาศาสนบุคคลในลัทธิไชนะเช่นกัน ผู้บูชาพระศิวะเรียกว่า “ไศวะ” และผู้บูชาพระวิษณุเรียกว่า “ไวษณวะ”[9][10] ในขณะที่กษัตริย์วิษณุวรรธนะและผู้สืบทอดเป็นผู้นับถือลัทธิไวษณวะ[11] กลับปรากฏหลักฐานบันทึกว่าชาวโหยสฬะยังคงไว้ซึ่งความกลมเกลียวทางศาสนา ผ่านทางการสร้างเทวาลัยบูชาพระศิวะ เช่นเดียวกับที่ได้สร้างเทวาลัยบูชาพระวิษณุ[12]
เทวาลัยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบทางโลกวิสัย และเรื่องราวที่กว้างดังที่ปรากฏในงานประติมากรรมต่าง ๆ ดังที่สามารถพบได้ในเจนนเกศวเทวาลัยในเพลูรุซึ่งบูชาพระวิษณุ และโหยสเฬศวรเทวาลัยที่หเลพิฑูซึ่งบูชาพระศิวะ เกศวเทวาลัยที่โสมนาถปุระแตกต่างไปด้วยลักษณะการประดับที่เป็นไวษณวะอย่างเคร่งครัด โดยทั่วไปแล้ว เทวาลัยไวษณวะจะบูชาพระเกศวะ (หรือในบริบทของเจนนเกศวะ หมายถึง “พระวิษณุรูปงาม”) ในขณะที่จำนวนน้อยปรากฏบูชาพระลักษมีนารายณ์ และ ลักษมีนรสิงห์ (พระนารายณ์ และ พระนรสิงห์ ล้วนเป็นอวตารของพระวิษณุ) ประกอบกับพระลักษมี พระชายาของพระวิษณุ ประทับที่เบื้องบาทของพระวิษณุ เทวาลัยพระวิษณุจะตั้งชื่อตามเทพเจ้าเสมอ[13]
เทวาลัยของไศวะจะปรากฏศิวลึงค์ สัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและสัญลักษณ์สากลของพระศิวะ ในห้องบูชาของเทวาลัย ชื่อของเทวาลัยพระศิวะสามารถลงท้ายด้วยคำต่อท้านว่า -เอศวร ซึ่งแปลว่า ”เจ้าแห่ง“ เช่น ”โหยสเฬศวร“ แปลว่า เจ้าแห่งโหยสฬะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจตั้งชื่อตามผู้ศรัทธาที่ก่อสร้างเทวาลัยขึ้น เช่น พุเจศวรเทวาลัย (Bucesvara temple) ที่ โกรวังคัล (Koravangala) ตั้งชื่อตามศรัทธาชนนามว่า พุจิ (Buci)[14] การประดับด้วยประติมากรรมที่โดดเด่นอยู่บนแถวแนวนอนของมุมอาคาร ที่ซึ่งภาพสลักนูนต่ำ ตลอดจนประติมากรรมรูปเทพเจ้าที่แกะสลักอย่างวิจิตรปราฏตามผนังของเทวาลัยส่วนนอก[15]
เทวาลัยโทฑฑฆัฑฑวัลลีลักษมีเทวี ("เทวีแห่งความมั่งคั่ง") เป็นข้อยกเว้นพิเศษ เนื่องจากไม่ได้อุทิศแด่ทั้งพระวิษณุหรือพระศิวะ หลังการพ่ายแพ่ของไชนะในจักรวรรดิคงคา (ปัจจุบันคือกรณาฏกะใต้) ให้แก่ชาวโจฬะในต้นศตวรรษที่ 11 ประกอบกับจำนวนศาสนิกชนของลัทธิไวษณวะและวีรไวษณวะในศตวรรษที่ 12 เกิดขึ้นควบคู่กับความสนใจในศาสนาไชนะที่ลดถอยลง[16] อย่างไรก็ตาม ปรากฏเทวาลัยของไชนะที่สำคัญสองแห่งในอาณาเขตของโหยสฬะ ซึ่งคือ ศรวัณเพลโคละ และ กัมพทหัลลี ชาวโหยสฬะได้สร้างศาสนสถานไชนะขึ้นเพื่อให้ประชากรชาวไชนะพึงพอใจ มีอยู่ไม่มากที่ยังหลงเหลืออยู่ในหเลพิฑู ที่ซึ่งภายในประดิษฐานเทวรูปของตีรถังกรในศาสนาไชนะ ชาวโหยสฬะยังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งมีขั้นบันไดลงไป เรียกว่า ปุษกรณี (Pushkarni) หรือ กัลยาณี (Kalyani) ดังที่ปรากฏพบที่เทวาลัยในหุเลเกเร (Hulikere) อ่างเก็บน้ำที่หุลิเกเรยังประกอบด้วยศาล 12 ศาลบูชาเทพเจ้าตั้งอยู่โดยรอบ[17]
เทพเจ้าหลักสององค์ที่ปรากฏในประติมากรรมเทวาลัยโหยสฬะ ได้แก่พระศิวะและพระวิษณุในรูปปางและอวตารต่าง ๆ พระศิวะมักปรากฏแสดงในปางสี่กร ทรงตรีศูล กองเล็ก และสัญลักษณ์อื่น ๆ ซึ่งมีการบูชาแยกเป็นของตัวเองในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้อง[18] เทวรูปบุรุษใด ๆ ที่แสดงในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นพระศิวะ กระนั้นก็พบรูปเคารพสตรีที่บางครั้งอาจปรากฏในรูปลักษณ์ดังกล่าวในฐานะพระชายาของพระศิวะ ซึ่งคือพระปารวตี สำหรับเทวรูปพระศิวะมีปรากฏอยู่หลายลักษณะ เช่น ในรูปเปลือยพระองค์ทั้งพระองค์หรือบางส่วน, ในรูปปางขณะสังหารอสูร (อานธกะ) หรือร่ายรำบนหัวของช้างที่ถูกสังหาร (คชาสูร) และดึงหนังขึ้นมาหลังคอ มักปรากฏพระองค์เคียงกับพระปารวตีซึ่งเป็นพระชายา หรือกับโคนนทิ นอกจากนี้ยังสามารถพบในรูปพระไภรวะซึ่งเป็นอวตารหนึ่งของพระองค์[18]
เทวรูปบุรุษที่ในมือถือวัตถุบางประการ เช่น หอยสังข์ (สัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์, พื้นที่อันเป็นสวรรค์) และจักร (เวลาอันเป็นนิรันดร์และพลังแห่งการทำลายล้าง) ถือเป็นพระวิษณุ หากปรากฏในรูปสตรีทรงวัตถุเหล่านี้ จะถือว่าเป็นพระชายาของพระวิษณุ ซึ่งคือพระลักษมี ในทุกรูปปางจะปรากฏพระวิษณุทรงของสี่อย่าง ได้แก่ หอยสังข์ จักร บัว และคฑาเกาโมฑกี ซึ่งสามารถทรงในหัตถ์ใดก็ได้ ทำให้มีรูปปางที่เป็นไปได้อยู่ 24 รูปที่ต่างกัน อันล้วนมีชื่อเรียกของตนเองเป็นเฉพาะ[19] นอกจากนี้ ยังปรากฏพระวิษณุในรูปปางใด ๆ ในสิบอวตาร ซค่งรวมถึงพระวิษณุประทับบนนาคอานันทะ หรือที่รู้จักในชื่อ นาคเศศะ), พระวิษณุประทับเคียงพระลักษมี โดยพระลักษมีประทับบนตัก (ลักษมีนารายณ์), ในรูปที่มีเศียรเป็นสิงโตกระชากเครื่องในออกจากตัวของอสูรอยู่บนตัก (ลักษมีนรสิงห์), ในรูปที่เศียรเป็นหมูป่าเดินเหยียบอสูร (วราหะ), ในปางพระกฤษณะ [ในรูปเวณุโคปาลหรือคนเลี้ยงวัวเป่าเวณุ (ขลุ่ย)), ร่ายรำบนหัวงูกาลิยะ, ยกเขาเช่นเขาวรรธนะ, มีเท้าอยู่เหาือศีรษะของตัวบุคคลขนาดเล็กกว่า (วามนะ), ในรูปเคียงข้างพระอินทร์ทรงช้าง, กับพระลักษมีประทับบนครุฑ และเหยียว (เพื่อขโมยต้นปาริชาต[19]
หมู่สิ่งปลูกสร้างในเทวาลัย
[แก้]จุดสำคัญของเทวาลัยอยู่ที่ครรภคฤห์หรือโถงบูชากลาง ที่ประดิษฐานเทวรูป การออกแบบสถาปัตยกรรมของเทวาลัยจึงเป็นการขยับผู้สักการะจากด้านนอกสู่ครรภคฤห์ผ่านทางทางเดินซึ่งมีไว้เดินรอบ และห้องโถง (มณฑป) ซึ่งยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเมื่อยิ่งเข้าใกล้องค์เทพเจ้า เทวาลัยแบบโหยสฬะมีองค์ประกอบที่โดดเด่นเป็นพิเศษที่ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งส่วน ตรงข้ามกันกับเทวาลัยแบบแคว้นทมิฬซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ของเทวาลัยอยู่แยกเป็นเอกเทศจากกัน[20] แม้ว่าจะมีลกษณะภายนอกที่แตกต่างเป็นพิเศษ เทวาลัยแบบโหยสฬะมีลักษณะคล้ายกันในเชิงโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยประติมากรรมจำนวนมหาศาลประดับทุกส่วนของเทวาลัย ประติมากรรมเหล่านี้แกะสลักมาจากหินปูนอ่อน (chloritic schist) อันเป็นวัสดุชั้นเยี่ยมสำหรับการแกะสลักหินที่มีความวิจิตร ทำขึ้นโดยช่างฝีมือท้องถิ่น และแสดงถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมเทวาลัยอื่น ๆ ในอินเดียใต้[21]
เทวาลัยโหยสฬะส่วนใหญ่มีระเบียงทางเดินทางเข้าที่มีหลังคาปกคลุม รับน้ำหนักด้วยเสาทรงบิดกลึง ซึ่งบางครั้งก็มีแกะสลักหรือประกอบแม่ลายประดับเข้าไป ตัวเทวาลัยอาจสร้างขึ้นบนฐานที่ยกสูงจากพื้นขึ้นมาราวหนึ่งเมตร เรียแว่า "ชคตี" ซึ่งนอกจากจะให้รูปลักษณ์เหมือนอาคารยกสูงแล้ว ยังเป็น ประทักษิณปาถ หรือเส้นทางเดินสำหรับเดินวนรอบเทวาลัย ในขณะที่ครรภคฤห์จะไม่มีลักษณะดังกล่าว[22] เทวาลัยในลักษณะดังกล่าวจะมีขั้นบันไดเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งเปิดออกภายในมณฑป (โถงเปิด) ซึ่งเปิดโล่ง และมีกำแพงลายลูกกรง ตัวอย่างชิ้นเยี่ยมของเทวาลัยแบบนี้คือเกศวเทวาลัยที่โสมนาถปุระ ที่ซึ่ง ชคตี มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งปลูกสร้างที่เหลือของเทวาลัย[23] ซึ่งมีการออกแบบแปลนเป็นรูปดาว และมีผนังเป็นแบบลายซิกแซ็ก ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นประดิษฐกรรมของโหยสฬะ[24]
ผู้เดินทางมาสักการะสามารถเริ่มต้นด้วยการทำการทำพิธีเดินวนรอบส่วนฐาน ชคตี โดยเริ่มจากทางเข้าหลักและเดินไปในทิศตามเข็มนาฬิกา (หรือเดินไปทางซ้ายมือ) ก่อนจะเดินเข้าส่วนมณฑป งานประติมากรรมแกะสล้กนูนต่ำบนผนังของกำแพงส่วนนอกก็จัดเรียงลำดับการเล่าเรื่องมหากาพย์ฮินดูในทิศตามเข็มนาฬิกาเช่นกัน เทวลายัที่ไม่ได้สร้างบนฐานชคตีสามารถมีบันไดที่ขนาบข้างด้วยฐานซี่รั้ว (balustrades) ที่แกะสลักเป็นรูปช้าง อันนำพาเข้าไปสู่ในมณฑปจากชั้นระดับพื้นดิน ตัวอย่างเทวาลัยที่ไม่ปรากฏฐานยก คือเทวาลัยพุเจศวรในอำเภอหัสสาน เทวาลัยที่มีสองศาลภายใน (ทวิกูฏ) จะมี วิมาน ตั้งอยู่ข้างกันหรือตรงกันข้ามกันกับแต่ละศาลได้เช่นกัน[25] ลักษมีเทวีเทวาลัยที่โฑททฆัฑฑวัฬฬิ เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมโหยสฬะที่โดดเด่นเฉพาะตัว ด้วยศาลสี่ศาล และศาลร่วมตรงกลางเป็นศาลที่ห้า (ซึ่งบูชาพระไภรวะ) ภายในหมู่สิ่งปลูกสร้างเดียวกัน[26] นอกจากนี้ยังมีศาลย่อยอีกสี่ศาลตั้งอยู่ที่มุมขอบทั้งสี่ของลานกลาง (ปราการัม)[27]
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
[แก้]มณฑป
[แก้]มณฑป หมายถึงโถงซึ่งผู้คนมารวมตัวกันเพื่อสวดภาวนา ทางเข้าสู่มณฑปโดยทั่วไปมีชิ้นประติมากรรมประดับอย่างวิจิตรเหนือขื่อประตู เรียกว่า มกรโตรณะ (มกร เป็นสัตว์ในตำนาน และ โตรณะ หมายถึงเครื่องประดับที่อยู่เหนือศีรษะ)[22] มณฑปมีลักษณะเปิด จึงมีบทบาทในฐานะห้องโถงชั้นนอก ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในเทวาลัยโหยสฬะขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีทางเดินไปสู่กับมณฑปปิดขนาดเล็ก และบรรดาศาลภายใน มณฑปเปิดซึ่งมักจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่นี้มักมีพื้นที่นั่ง (อาสนะ) ทำมาจากหิน ส่วนผนังลายลูกกรงเป็นพนักพิงหลัง ที่นั่งอาจจัดวางไปตามรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สับเื่อมกันตามลายผนังลูกกรง[28][29] เพดานของมณฑปมักมีเสาจำนวนมากค้ำยัน ทำให้เกิดช่วงเสา (bays) ขึ้นมากมาย[30] รูปทรงของมณฑปเปิดเช่นนี้สามารถบรรยายว่าเป็รลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสสลับเหลื่อม (staggered-square) และถือเป็นรูปแบบที่ปรากฏในเทวาลัยโหยสฬะส่วนใหญ่[31] แม้มณฑปเปิดที่มีขนาดเล็กที่สุดยังพบว่ามีช่วงเสารวม 13 ส่วน ผนังราวลูกกรงซึ่งมีเสาครึ่งหนึ่งช่วยรับน้ำหนักขอบปลายส่วนนอกของหลังคา และยังช่วยให้มีแสงสว่างเข้าถึงภาพในเพียงพอ อันช่วยให้สามารถมองเห็นรายละเอียดของงานประติมากรรมได้ทั้งหมด เพดานของมณฑปมักประดับอย่างวิจิตรด้วยงานประติมากรรม ทั้งจากปรัมปราและรูปพันธุ์ไม้ดอกต่าง ๆ เพดานยังอาจประกอบด้วยพื้นผิวลึกและพื้นผิวทรงโดมซึ่งภายในมีงานประติมากรรมรูปหน่อกล้วยไปจนถึงงานประดับอื่น ๆ[32]
ในกรณีที่เทวาลัยมีชนาดเล็กจะประกอบด้วยเพียง มณฑป แบบปิด กล่าวคือมีผนังปิดตั้งแต่พื้นจรดเพดาน อยู่หลังเดียว และตัวศาล สำหรับมณฑปทรงปิดซึ่งมีการตกแต่งอย่างดีทั้งด้านในและภายนอก มีขนาดใหญ่กว่าเพียงห้องทางเข้า (vestibule) ที่เชื่อมต่อเข้ากับศาล นอกจากนี้ ตัว มณฑป ยังประกอบด้วยเสากลึงเป็นรูปกลม (lathe-turned pillars) สี่เสา ซึ่งรับน้ำหนักของเพดาน ส่วนเพดานอาจมีลักษณะเป็นทรงโดมอย่างลึก (deeply domed) เสาสี่เสานี้แบ่งพื้นที่ห้องของมณฑปออกเป็นเก้าส่วน (bays) ที่ซึ่งมีเพดานอันประดับตกแต่งเก้าเพดาน[33] ผนังหินฉลุลาย (ฌาฬิ หรือ งานแลททิซ) ซึ่งใช้งานเป็นหน้าต่างใน นวรงค์ (navaranga; โถง) และ สภามณฑป (Sabhamantapa; โถงรวมตัว, โถงพบปะ) เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบเชิงรูปแบบที่เฉพาะต่อสถาปัตยกรรมโหยสฬะ[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hardy (1995), pp243–245
- ↑ Foekema (1996), p47, p59, p87
- ↑ Hardy (1995), p320, p321, p324, p325, p329, p332, p334, p339, p340, p346
- ↑ Foekema (1996), p53, p37, p71, p81, p41, p43, p83
- ↑ Percy Brown in Kamath (2001), p134
- ↑ Hardy (1995), p244
- ↑ Hardy (1995), pp. 6–7, section Introduction-Dynasties and Periods
- ↑ Foekema (2003), p. 18
- ↑ Foekema (1996), pp. 19–20, chapter-The dedications and names of temples
- ↑ Hardy (1995), p. 245
- ↑ Foekema (1996), p. 19
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อramayana1
- ↑ Foekema (1996), p. 19–20
- ↑ Kamath (2001), p. 134
- ↑ Kamath (2001), pp 112, 132
- ↑ Foekema (1996), plate 27
- ↑ 18.0 18.1 Foekema (1996), p. 31, chapter:Recognizing the most important deities
- ↑ 19.0 19.1 Foekema (1996), p. 32, chapter:Recognizing the most important deities
- ↑ Foekema (1996), p. 21
- ↑ Kamath (2001), p. 136
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Kamath (2001), p. 135
- ↑ Foekema (1996), p. 25
- ↑ Arthikaje. "History of Karnataka-Religion, Literature, Art and Architecture in Hoysala Empire". 1998–2000 OurKarnataka.Com, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2006. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ The Hoysaleswara shrine and the Shantaleswara shrine in the Hoysaleswara Temple in Halebidu are examples. (Foekema 1996, p. 59)
- ↑ Foekema (1996), p. 25, p. 57, section:Dodda Gadduvalli
- ↑ Hardy (1995), p. 246
- ↑ Foekema (1996), pp. 22–23
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อquad
- ↑ A bay is a square or rectangular compartment in the hall (Foekema 1996, p. 93)
- ↑ This is also called "cross-in-square" style and is not a square (Foekema, 1996, p. 22)
- ↑ Githa U.B. (11 May 2004). "Here, the past unfolds itself in all its glory & might—Hoyasala architecture in Somanathapura". Deccan Herald. Chitralakshana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-04. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
- ↑ The four pillars and nine bays of a closed mantapa is a norm in Hoysala temples (Foekema 1996, p. 22)
บรรณานุกรม
[แก้]- Cousens, Henry (1996) [1926]. The Chalukyan Architecture of Kanarese Districts. New Delhi: Archaeological Survey of India. OCLC 37526233.
- Foekema, Gerard (1996). Complete Guide to Hoysala Temples. New Delhi: Abhinav. ISBN 81-7017-345-0.
- Foekema, Gerard (2003) [2003]. Architecture decorated with architecture: Later medieval temples of Karnataka, 1000–1300 AD. New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Pvt. Ltd. ISBN 81-215-1089-9.
- Hardy, Adam (1995) [1995]. Indian Temple Architecture: Form and Transformation : the Karṇāṭa Drāviḍa Tradition, 7th to 13th Centuries. New Delhi: Abhinav. ISBN 81-7017-312-4.
- Kamath, Suryanath U. (2001) [1980]. A concise history of Karnataka: from pre-historic times to the present. Bangalore: Jupiter books. LCCN 80905179. OCLC 7796041.
- Sastry, K.A. Nilakanta (2002) [1955]. A history of South India from prehistoric times to the fall of Vijayanagar. New Delhi: Indian Branch, Oxford University Press. ISBN 0-19-560686-8.
- Settar S. "Hoysala heritage". history and craftsmanship of Belur and Halebid temples. Frontline. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
- "Monuments of Bangalore Circle". Archaeological Survey of India, Bengaluru Circle. ASI Bengaluru Circle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2015.
- Arthikaje. "Architecture in Hoysala Empire". History of karnataka. OurKarnataka.Com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2006. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
- Kamiya Takeo. "Architecture of Indian Subcontinent". Indian Architecture. Architecture Autonomous. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 13 November 2006.
- Ragavendra, Srinidhi. "In need of support". Spectrum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006.
- Githa U.B. "Hoyasala architecture in Somanathapura". History of Indian art. chitralakshana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006.
- Review by: Ajay J. Sinha of Hardy, Adam. "Indian Temple Architecture: Form and Transformation—The Karnata Dravida Tradition 7th to 13th Centuries". Art History. 58: 358–362. JSTOR 3250027.
- Premakumar, B.P. "Architectural marvel". Deccan Herald. Spectrum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006.