ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
เกิด3 เมษายน พ.ศ. 2518 (49 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพนักการเมือง
มีชื่อเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เลขาธิการพรรคพลเมืองไทย
คู่สมรสพันตำรวจโท สืบศักดิ์ ผันสืบ
บิดามารดาสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
เพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์

ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ (ชื่อเล่น : กิ๊ฟ) เป็นนักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] พรรคพลเมืองไทย ต่อมาย้ายสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ [3] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

ศิลัมพา เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2518 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนที่สองของ สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย กับ เพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์

ด้านชีวิตครอบครัว เธอสมรสกับ พันตำรวจโทสืบศักดิ์ ผันสืบ อดีตนักตะกร้อชื่อดังดีกรีทีมชาติไทย ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 มีบุตรชาย 1 คน [4][5]

การศึกษา[แก้]

ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ เรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ต่อมาเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งระดับปริญญาโท 2 สาขา คือ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

การทำงาน[แก้]

ศิลัมพา เข้าทำงานเมื่อปี 2542 เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศาลและผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลเมือง รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี 2544 จึงกลับมาทำงานในประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม (เทสโก้ โลตัส) ต่อมาเป็นเจัาหนัาที่ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ทีเอ) และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปัจจุบัน กระทั่งในปี 2548 ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีและเขตคลองสาน สังกัดพรรคไทยรักไทย โดยการสนับสนุนของบิดา ต่อมาในปี 2549 มีการยุบสภา เธอได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในเขตเลือกตั้งเดิม และมีการประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ศิลัมพา เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นพดล ปัทมะ) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (สมพงษ์ อมรวิวัฒน์) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ทรงศักดิ์ ทองศรี) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (สุชาติ โชคชัยวัฒนากร)

ต่อมาในปี 2551 เธอย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการพรรคภูมิใจไทย จนถึงสิ้นปี 2554 หลังจากนั้นเมื่อบิดาของเธอได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อว่า พรรคพลังพลเมืองไทย[6] เธอจึงเข้าร่วมงานในตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค[7] และได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคพลเมืองไทย

ในปี 2566 เธอย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[8] และลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 24[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เธอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลเมืองไทยพรรครวมไทยสร้างชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
  3. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  4. ‘โจ้-กิ๊ฟ’ ใช้ความจริงใจ...พิสูจน์รัก (ต่างวงการ)
  5. ย้อนเส้นทางรัก “สืบศักดิ์-ศิลัมพา” ก่อนจะมาเป็นคู่รักตำรวจนักการเมือง
  6. กกต.เปิดวันแรกคึก30กลุ่มการเมืองแห่จองชื้อจัดตั้งพรรค โพสต์ทูเดย์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561
  7. ตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค
  8. "สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์" พาลูกสาว “ศิลัมพา" ซบ “รทสช.” หนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ "เอกนัฎ" เตรียมลงใต้ ถก "บ้านใหญ่เมืองนราฯ" หวังกวาดยก4เขต
  9. ""ศิลัมพา" อ้อนขอคะแนนเสียงชาวตลาดพลู ชิง ส.ส.กทม. พรรค รทสช". mgronline.com. 2023-04-07.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔