ข้ามไปเนื้อหา

วีกเกสต์ลิงก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วีกเกสต์ลิงก์ (อังกฤษ: Weakest Link) คือรายการควิซโชว์ ออกอากาศครั้งแรกในสหราชอาณาจักรทางช่อง BBC Two และ BBC One เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ออกแบบรายการโดย ฟินตัน คอยล์ (Fintan Coyle)และ เคธี ดันนิง (Cathy Dunning) พัฒนาเพื่อการออกอากาศโดย บีบีซี เอนเทอร์เทนเมนท์ เป็นรายการที่ถอดแบบมาดำเนินรายการในรูปแบบภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก ถูกเรียกว่า "เกมโชว์แบบเรียลลิตี้" เพราะมีลักษณะคล้ายเรียลลิตี้โชว์ และเป็นรากฐานแห่งเรียลลิตี้โชว์ในปัจจุบัน ในสหราชอาณาจักร ดำเนินรายการโดย แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) โดยในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ออกอากาศเป็นตอนที่ 1,000 ส่วนในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 นั้นได้ออกอากาศตอนสุดท้าย

รูปแบบทั่วไปของรายการ

[แก้]
สัญลักษณ์ประจำรายการ กำจัดจุดอ่อน ในสหราชอาณาจักร เริ่มใช้เมื่อปี 2000-2008

รูปแบบต้นฉบับมีลักษณะการแข่งขันแบบเป็นกลุ่ม 8-9 คน โดยผลัดกันตอบคำถามความรู้ทั่วไป เวลาในการตอบคำถามเวอร์ชันต้นฉบับจะมีเริ่มต้นที่ 3 นาที รอบถัดไปลดลงทีละ 10 วินาทีส่วนรอบสุดท้ายจะมีเวลา 1 นาที 30 วินาที เป้าหมายในแต่ละรอบคือการตอบคำถามให้ถูกต้องติดต่อกันเพื่อสะสมเงินรางวัลตามขั้น หากตอบคำถามผิดเงินรางวัลที่สะสมตามขั้นจะหายไป ก่อนการถามคำถามของผู้ดำเนินรายการผู้เข้าแข่งขันสามารถพูดคำว่า "เก็บ" ได้ (ภาษาอังกฤษ"Bank") ซึ่งจะทำให้เงินรางวัลตามขั้นที่สะสมถูกเก็บไว้เป็นเงินรางวัลรวมอย่างปลอดภัย และการสะสมเงินรางวัลก็จะเริ่มต้นขึ้นใหม่ เมื่อผู้ดำเนินรายการถามคำถามแก่ผู้เข้าแข่งขันแล้วผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือไม่ตอบคำถาม ก็จะถือว่าตอบคำถามผิด และเมื่อเวลาในการตอบคำถามของในแต่ละรอบหมดลงเงินรางวัลสะสมที่ไม่ได้ถูกเก็บก็จะหายไป

ในแต่ละรอบการแข่งขันผู้เล่นแต่ละท่านจะต้องลงคะแนนให้แก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นที่คิดว่าเป็น "จุดอ่อน" ผู้ที่ได้รับการลงคะแนนมากที่สุดจะถูกกำจัดออกไปจากเกม (กรณีคะแนนโหวตเสมอกันจะให้ผู้ที่แกร่งในแต่ละรอบเป็นผู้กำจัดออก) เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันถูกกำจัดออกไป จะต้องสัมภาษณ์กับทีมงาน รวมทั้ง เวลาในการตอบคำถามในรอบต่อไปก็จะถูกลดลง 10 หรือ 15 วินาที ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ

การลงคะแนน

[แก้]

เมื่อจบการถามคำถามในแต่ละรอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงคะแนนให้ผู้เล่นที่พวกเขาคิดว่าเป็น "จุดอ่อน" ซึ่งผู้ที่เป็นจุดอ่อนอาจจะเข้าข่ายกรณีดังต่อไปนี้

  • ตอบคำถามผิดบ่อยครั้ง
  • ตอบผิดแล้วทำเงินรางวัลหายมากที่สุด
  • ใช้เวลาในการตอบคำถามนานเกินไป
  • ตอบคำถามถูกมากเกินไป

ในขณะลงคะแนนมีเพียงผู้ชมทางบ้านเท่านั้นที่ทราบผ่านทางผู้บรรยายว่าใครคือผู้ที่แกร่งที่สุด และใครคือจุดอ่อน โดยมาจากสถิติในการตอบคำถาม (ซึ่งในบ้างเทปจะให้คนดูในห้องส่งโหวตให้)[1] ส่วนในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังแข่งขันนั้นจะถูกกระตุ้นให้ไร้ความปราณีแก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น การลงคะแนนเป็นกลยุทธ์หนึ่งของผู้เล่นที่มีไหวพริบที่จะทำให้ตนชนะ และทำให้มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ระหว่างการลงคะแนนให้กับผู้เข้าแข่งขันที่เป็นจุดอ่อนผู้ดำเนินรายการจะถามผู้เข้าแข่งขันว่าเขาลงคะแนนให้ใคร และทำไมถึงลงคะแนนให้ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้น เมื่อถึงเวลาในการกำจัดผู้เข้าแข่งขันออก ผู้ดำเนินรายการจะกล่าวคำว่า "คุณคือจุดอ่อนของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) (ฮีบรู: !אתה החוליה החלשה, שלום) (ดัตช์: Jij bent de zwakste schakel, Tot ziens) (ฝรั่งเศส: Vous êtes le maillon faible)

ประเทศที่มีรายการในรูปแบบภาษา/ประเทศของตน

กลยุทธ์ในการแข่งขัน

[แก้]

ผู้เล่นที่ตอบคำถามผิดบางครั้งอาจจะไม่ถูกเพ่งเล็ง นักวิเคราะห์แนะนำว่าการตอบคำถามถูกอย่างน้อยร้อยละ 60 จะเหมาะสมที่สุด ถ้าน้อยกว่านี้จะเสี่ยงต่อการถูกลงคะแนนให้ออกในสถานะจุดอ่อน เนื่องจากเงินรางวัลที่ผู้ชนะจะได้จะมาจากคำถามที่แต่ละคนตอบถูก ถ้าทำได้ดีมากกว่านั้นก็อาจจะถูกเพ่งเล็งจากผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น โดยเกรงว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะเป็นผู้ชนะ การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเงินรางวัลรวม แนะนำให้ใช้วิธีเก็บเงินรางวัลหลาย ๆ วิธี โดยหากไม่เก็บเมื่อเงินรางวัลสะสมมากสุดก็เก็บเงินรางวัลสะสมในทุก ๆ คำถาม ส่วนมากกลุ่มผู้เข้าแข่งขันจะเก็บเงินรางวัลสะสมในทุก ๆ 3 - 4 คำถาม

รอบสุดท้าย

[แก้]

เมื่อเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่าน พวกเขาจะต้องร่วมกันแข่งขันเกมในรอบสุดท้าย โดยจะมีกติกาเหมือนดังรอบก่อน ๆ มีเวลา 1 นาที 30 วินาที (90 วินาที) แต่ในรอบนี้เงินรางวัลที่สะสมได้เมื่อหมดรอบจะถูกเพิ่มเป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่าก่อนที่จะถูกรวมเข้าไปในเงินรางวัลรวมเพื่อเป็นเงินรางวัลให้แก่ผู้ชนะเกม ในรอบนี้จะไม่มีผู้ที่ถูกกำจัดออก

รอบตัวต่อตัว

[แก้]

ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่านจะต้องตอบคำถามเป็นชุด คนละ 3-5 คำถาม ผู้ที่แกร่งที่สุดจากรอบที่แล้วจะได้เลือกว่าใครจะเป็นผู้ตอบคำถามก่อน ใครที่ตอบคำถูกมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ (ตอบคำถามถูกต้องสูงสุด 3 ข้อ) และจะกลับบ้านไปพร้อมเงินรางวัลทั้งหมดที่สะสมมา ส่วนผู้แพ้จะกลับบ้านมือเปล่าเช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขันอื่นที่ถูกกำจัดออก ในกรณีที่จำนวนข้อที่ผู้เข้าแข่งขันตอบถูกเสมอกันกับอีกคนหนึ่ง เกมจะเข้าสู่ช่วงต่อเวลา โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามแบบข้อต่อข้อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีท่านใดท่านหนึ่งตอบถูกและอีกท่านตอบผิด

ในแต่ละตอน มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ซึ่งผู้ชนะได้รับเงินรางวัลสูงถึง 10,000 ปอนด์ และในตอนการแข่งขันของผู้มีชื่อเสียงเพื่อการกุศลมีเงินรางวัลสูงถึง 50,000 ปอนด์

ความสำเร็จของรายการ

[แก้]

ในสหราชอาณาจักร แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายการประสบความสำเร็จโดยในรายการกำจัดจุดอ่อนนี้เธอจะพูดจาเสียดสี แหน็บแนม และตำหนิ กลุ่มผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำเงินรางวัลสะสมได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดขายของรายการ จนทำให้คำพูดที่กล่าวว่า "คุณคือจุดอ่อนที่สุดของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) เป็นคำพูดที่ติดปากผู้ชมอย่างรวดเร็ว (ผู้ที่คิดคำพูดนี้ขึ้นมาคือ Jeremy Paxman ผู้ดำเนินรายการ University Challenge) ผู้บรรยายในฉบับสหราชอาณาจักรคือ Jon Briggs

สัญลักษณ์ประจำรายการ กำจัดจุดอ่อน ในสหราชอาณาจักร เริ่มใช้เมื่อปี 2000-2008

หลาย ๆ องค์ประกอบของรายการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากรายการบิกบราเธอร์ และ Who Wants to Be a Millionaire? (เกมเศรษฐี) แต่รูปแบบของรายการนั้นค่อนข้างจะแปลกไปจากรายการอื่นอย่างชัดเจน กล่าวคือมีการเปิดฉากต่อสู้กันทางสีหน้า ท่าทางและวาจาของผู้เข้าแข่งขัน โดยใช้ผู้ดำเนินรายการเป็นตัวกระตุ้น ในบางประเทศรายการถูกสื่อต่าง ๆ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ ประเทศ รายการนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

รายการภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก

[แก้]

Legend:   ยังออกอากาศอยู่;   ยกเลิกการออกอากาศแล้ว;

ประเทศ ชื่อ ผู้ดำเนินรายการ สถานีโทรทัศน์ เงินรางวัลสูงสุด เวลาออกอากาศ
สันนิบาตอาหรับ โลกอาหรับ الحلقة الأضعف Rita Khoury Future Television US$16,000 2002
 ออสเตรเลีย Weakest Link Cornelia Frances Seven Network A$100,000 2001–2002
 อาเซอร์ไบจาน Zəif Bənd Kamila Babayeva Lider TV AZM9,000 2004–2006
Solmaz Süleymanlı 2012–2014
 เบลเยียม De Zwakste Schakel Goedele Liekens VTM 2,000,000BEF (49,578.705 ) 2001
 ชิลี El Rival Más Débil Catalina Pulido Canal 13 CL$40,000,000 2004
 จีน 汰弱留强·智者为王 Chen Lu Yu Nanjing TV CN¥200,000 Unknown
智者为王 Shen Bing
Xia Qing
 เช็กเกีย Nejslabší! Máte padáka! Zuzana Slaviková TV Nova 1,000,000 2002–2004
 โครเอเชีย Najslabija karika Nina Violić HRT1 kn 90,000 2004–2010
Daniela Trbović
 เดนมาร์ก Det Svageste Led Trine Gregorius DR1 KR200,000 2001–2002
 เอสโตเนีย Nõrgim Lüli Tuuli Roosma Kanal 2 KR500,000 2004
 ฟินแลนด์ Heikoin Lenkki Kirsi Salo MTV3 15,000 2002–2005
16,000
18,000
 ฝรั่งเศส Le Maillon Faible Laurence Boccolini TF1 150,000F (22,867.3526 ) 2001–2007
20,000
50,000
 จอร์เจีย სუსტი რგოლი Nino Burduli Rustavi 2 10,000 2005-2007
 เยอรมนี Der Schwächste fliegt! Sonja Zietlow RTL Television DM50,000 (25,564.5941) 2001–2002
50,000
 กรีซ Ο Πιο Αδύναμος Κρίκος
Elena Akrita MEGA 5,000,000 (14,763.5143) 2001–2003
15,000
 ฮ่องกง 一筆OUT消 เจิ้ง อวี้หลิง TVB Jade HK$3,000,000 2001–2002
 ฮังการี A Leggyengébb Láncszem Krisztina Máté TV2 3,000,000 Ft 2001–2004
Nincs Kegyelem 6,000,000 Ft
 อินเดีย Kamzor Kadii Kaun Neena Gupta Star Plus Rs.2,500,000 2002–2003
 ไอร์แลนด์ Weakest Link Eamon Dunphy TV3 10,000 2001–2002
 อิสราเอล החוליה החלשה Pnina Dvorin Channel 10 100,000 2002–2004
Hana Laszlo 90,000
 อิตาลี L'Anello Debole Enrico Papi Italia 1 15,000 2001
 ญี่ปุ่น ウィーケストリンク☆一人勝ちの法則 Shiro Ito Fuji Television JP¥16,000,000 2002
 มาซิโดเนียเหนือ Најслаба алка Zivkica Gjurcinovska Alfa TV 420,000 MKD 2010–2011
 เม็กซิโก El Rival Más Debil Montserrat Ontiveros TV Azteca MX$200,000 2003–2010
Lolita Cortés 2014-present
 มอลโดวา Veriga Slaba Andrei Gheorghe Kanal 1
 เนเธอร์แลนด์ De Zwakste Schakel Chazia Mourali RTL 4 10,000 2001–2004
 นิวซีแลนด์ Weakest Link Louise Wallace TV ONE NZ$20,000 2001–2002
 นอร์เวย์ Det Svakeste Ledd Anne Grosvold NRK KR200,000 2004
 ฟิลิปปินส์ Weakest Link Edu Manzano IBC PHP1,000,000 2001–2002
Allan K.
 โปแลนด์ Najsłabsze Ogniwo Kazimiera Szczuka TVN 27,000 2004-2006
 โปรตุเกส O Elo Mais Fraco Julia Pinheiro RTP1 10,000 2002–2003
Luisa Castel-Branco
Pedro Granger 2011–2012
 โรมาเนีย Lanţul Slăbiciunilor Andrei Gheorghe ProTV lei50,000 2001
 รัสเซีย Слабое Звено Mariya Kiselyova ORT 300,000
400,000
350,000
1,000,000 (celebrity editions)
2001–2005
Nikolai Fomenko Channel 5 350,000 2007–2008
Mariya Kiselyova Mir 320,000
400,000
2020–
 เซอร์เบีย Najslabija Karika Sandra Lalatovic BKTV RSD3,000,000 2002
 สิงคโปร์ 智者生存 Cui Lixin MediaCorp TV Channel 8 S$100,000 2002-2003
Weakest Link Asha Gill MediaCorp TV Channel 5 S$1,000,000
 สโลวีเนีย Najšibkejši Člen Violeta Tomič RTVSLO 2,400,000 SIT 2005
 แอฟริกาใต้ Weakest Link Fiona Coyne SABC3 R50,000 2003–2008
R100,000
 สเปน El Rival Más Débil Nuria González TVE1 7,200 2002–2004
Karmele Aranburu TVE2
 สวีเดน Svagaste Länken Kajsa Ingemarsson TV4 100,000 kr 2011–2013
 ไต้หวัน Weakest Link 智者生存 Belle Yu STAR Chinese Channel NT$400,000 2002–2003
Tseng Yang Qing
 ไทย Weakest Link กำจัดจุดอ่อน กฤษติกา คงสมพงษ์ ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. 1,000,000 บาท 2002–2003
 ตุรกี En Zayıf Halka Hülya Uğur Tanrıöver Show TV TL 0.1 trillion 2001–2002
Baybars Altuntaş TV8 54,000 2015
 สหราชอาณาจักร Weakest Link Anne Robinson BBC £10,000 (Daytime) 2000–2012 2017–
£50,000 (Primetime)
 สหรัฐ Weakest Link Anne Robinson NBC US$1,000,000 2001–2002
Jane Lynch 2020–
George Gray Syndicated US$75,000 2001–2003
US$100,000

กำจัดจุดอ่อน (ไทย)

[แก้]

รูปแบบภาษาไทย มีชื่อรายการว่า "กำจัดจุดอ่อน" เริ่มออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ในชื่อ บางกอกการละคอน) ดำเนินรายการโดย ดร. กฤษติกา คงสมพงษ์ ในเวลา 22.20 น.- 23.20 น. ทุกคืนวันพฤหัสบดี รูปแบบรายการเป็นมีลักษณะแบบเดียวกันในหลายประเทศ (กติกาจะเหมือนกับของเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา) จำนวนผู้เข้าแข่งขันมีทั้งหมด 8 ท่าน โดยมาจากการคัดเลือกจากทางบ้านเพื่อชิงเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท

รูปแบบการแข่งขัน

[แก้]
รอบที่ จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน
1 8 2 นาที 30 วินาที
2 7 2 นาที 20 วินาที
3 6 2 นาที 10 วินาที
4 5 2 นาที
5 4 1 นาที 50 วินาที
6 3 1 นาที 40 วินาที
7 2 (เงินรางวัล 2 เท่า) 1 นาที 30 วินาที

ระดับเงินรางวัล

[แก้]
จำนวนคำถามที่ตอบถูกต้องติดต่อกัน เงินรางวัลสะสม
1 1,000
2 2,500
3 5,000
4 10,000
5 25,000
6 50,000
7 75,000
8 125,000

การตอบรับและกระแสวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

รายการนี้ได้รับกระแสตอบรับในทางลบ เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยบางสำนักบางยี่ห้อ รวมไปถึงผู้ชมบางส่วนที่ไม่เข้าใจกฎกติกาการเล่นเกมของรายการ โดยการกล่าวหามีลักษณะไปในทำนองว่า "เป็นรายการที่สร้างขัดแย้ง แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่เหมาะสมต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมของไทย" จึงทำให้ถูกเฝ้าจับตาโดยสื่อของประเทศไทย เช่นเดียวกับในประเทศฮ่องกง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้เข้าแข่งขันตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังจากที่บันทึกเทปรายการเสร็จ ทางรายการก็ได้ปรับลดความดุดันลงเพื่อไม่ให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำอีก แต่การปรับเนื้อหาดังกล่าวทำให้ความนิยมของรายการลดลงไปเช่นเดียวกันอันเนื่องจากการตัดรูปแบบเอกลักษณ์และเสน่ห์ของรายการ จนกระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 รายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน ได้ทำการออกอากาศเป็นตอนสุดท้ายและยุติการออกอากาศลงในที่สุดก่อน พ.ศ. 2546 โดยหลังจากนั้น ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการเกมโชว์ใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นรายการ Magic Box กล่องวิเศษ ซึ่งออกอากาศต่อจากรายการนี้ ในวันและเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยมีสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการ

สื่อต่าง ๆ ในไทย

[แก้]

รายการกำจัดจุดอ่อนที่ฉายในประเทศไทยนั้นเป็นที่นิยม ต่อมาได้ถูกล้อเลียนในรูปแบบสื่อต่าง ๆ เช่น ตลก การ์ตูน รวมไปถึงเกมคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบัน ถูกหยิบยกนำมาล้อเลียนอีกครั้งในรูปแบบสื่อออนไลน์ เช่น Youtube

ภาคตลก

[แก้]

สำหรับตลกกำจัดจุดอ่อนนั้นจะเป็นการแสดงตลกล้อเลียนรายการ ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นชื่ออื่น ๆ เช่น

กำจัดตลกอ่อน

[แก้]

เป็นรายการที่จัดโดยทีมงานของทางรายการกำจัดจุดอ่อนเอง โดยเป็นการแก้เผ็ดผู้เข้าแข่งขันที่ล้อเลียนรายการ โดยให้ผู้เข้าแข่งขันมาแข่งขันรายการ "กำจัดจุดอ่อน" ของจริง ซึ่งมีพิธีกรคือคุณกฤติกา คงสมพงษ์ ในรอบแรกนั้นพิธีกรจะถามเฉพาะคำถามที่ยากกว่าคำถามปกติที่ใช้ในการแข่งขันจริง ทำให้ผู้เข้าขันแต่ละคนถึงกับหน้าซีด แต่เมื่อจบการแข่งขันในรอบแรก ทางทีมงานจึงมาเฉลยว่าเป็นการแก้เผ็ดกับพิธีกรที่ล้อเลียนรายการ และให้เล่นเกมกันใหม่โดยไม่ใช้บรรยากาศแบบนี้ จึงได้มีการเล่นเกมใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น The Weakest Joker กำจัดตลกอ่อน ซึ่งมีแต่คำถามตลก ๆ และคำถามประหลาด ๆ โดยผลการแข่งขันปรากฏว่าผู้ที่ชนะและไม่ถูกกำจัดออกคือธงธง มกจ๊ก และในตอนท้ายทางรายการได้บริจาคเงินทั้งหมดหนึ่งแสนบาทแก่มูลนิธิการกุศล

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]