ข้ามไปเนื้อหา

วินโดวส์เอ็นที 3.1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Windows NT 3.1
รุ่นของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
ตระกูลระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์
รหัสต้นฉบับClosed-source
เผยแพร่สู่
กระบวนการผลิต
27 กรกฎาคม 1993; 31 ปีก่อน (1993-07-27)[1]
รุ่นล่าสุดService Pack 3 (3.1.528) / 29 ตุลาคม 1994; 30 ปีก่อน (1994-10-29)
แพลตฟอร์มIA-32, Alpha, MIPS
ชนิดเคอร์เนลผสม (วินโดวส์เอ็นที เคอร์เนล)
ยูเซอร์แลนด์
สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์
รุ่นก่อนหน้าวินโดวส์ 3.1x (1992)
รุ่นถัดไปวินโดวส์เอ็นที 3.5 (1994)
สถานะการสนับสนุน
ยุติการสนับสนุนเมื่อ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000

วินโดวส์เอ็นที 3.1 (อังกฤษ: Windows NT 3.1, วินโดวส์เอ็นทีสามจุดหนึ่ง) เป็นระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอ็นที รุ่นแรกที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรกที่มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นยังคงใช้ วินโดวส์ 3.1 ซึ่งยังพึ่งพาระบบปฏิบัติการดอสในฟังก์ชันที่จำเป็นอยู่ และมีสถาปัตยกรรมแบบ 16 บิตที่รัดกุม ขณะที่วินโดวส์เอ็นที เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิตแบบเต็มตัว และคงไว้ซึ่ง Desktop Environment ที่ผู้ใช้วินโดวส์ 3.1 คุ้นเคย[2]

วินโดวส์เอ็นที เริ่มจากการนำระบบปฏิบัติการโอเอส/2 ที่เคยพัฒนาไว้ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 มาเขียนใหม่ เนื่องจากความสำเร็จในการจำหน่ายวินโดวส์ 3.0 ในปี ค.ศ. 1990 วินโดวส์เอ็นที 3.1 ขายได้ประมาณ 300,000 ชุดก่อนที่ วินโดวส์เอ็นที 3.5 จะประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1994

วินโดวส์เอ็นที 3.1 วางจำหน่าย 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นเวิร์กสเตชัน และรุ่นแอดวานซ์เซิร์ฟเวอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ อย่างไรก็ตาม ยอดขายของรุ่นเหล่านี้ก็มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากความต้องการของระบบที่สูง

ไมโครซอฟท์ประกาศยุติการสนับสนุนวินโดวส์เอ็นที 3.1 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000

ความต้องการของระบบ

[แก้]

วินโดวส์เอ็นที 3.1 รองรับหลายแพลตฟอร์ม นอกเหนือจากสถาปัตยกรรม x86 แล้ว ยังทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผล DEC Alpha หรือ MIPS (R4000และ R4400)[3]

ความต้องการขั้นต่ำของระบบ x86 รุ่นเวิร์กสเตชัน ได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู) intel 80386 25 เมกะเฮริตซ์, แรม 12 เมกะไบต์, พื้นที่เก็บฮาร์ดดิสก์ 92 เมกะไบต์ และการ์ดแสดงผล ส่วนระบบ RISC ต้องการแรม 16 เมกะไบต์, พื้นที่เก็บฮาร์ดดิสก์ 92 เมกะไบต์ และไดรฟ์ซีดีรอม[4] ในรุ่นแอดวานซ์เซิร์ฟเวอร์ ต้องการหน่วยประมวลผล intel 80386, แรม 16 เมกะไบต์, พื้นที่เก็บฮาร์ดดิสก์ 90 เมกะไบต์ ส่วนระบบ RISC ต้องการพื้นที่เก็บฮาร์ดดิสก์ 110 เมกะไบต์[5]

วินโดวส์เอ็นที 3.1 รองรับระบบโปรเซสเซอร์คู่ (Dual core) ขณะที่ในรุ่นแอดวานซ์เซิร์ฟเวอร์ รองรับได้ถึง 4 ตัว (Quad core) นอกจากนี้วินโดวส์เอ็นที 3.1 ไม่สามารถใช้กับหน่วยประมวลผล Pentium II หรือรุ่นที่ใหม่กว่าได้เนื่องจากเกิดข้อผิดพลาดในรูทีนการตรวจหาโปรเซสเซอร์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Paul Adams (August 4, 2009). "Windows NT History".
  2. "วินโดวส์ เอ็นที(Windows NT)". ฺsites.google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
  3. "Microsoft-Werbung". InfoWorld. 15 (49): 15. 1993-12-06.
  4. 4.0 4.1 "Windows NT 3.1". Winhistory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2008. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
  5. Strom, David; Capen, Tracey; Crawford, Tim; Gallie, Rodney; Chapin, Rod (1993-11-15). "A bumper crop of network operating systems brings centralized management, application services, and more capable clients to the enterprise". InfoWorld. 15 (46): 138–150.