วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
ชื่อย่อ | พ.ธ. (TCC) |
---|---|
คติพจน์ | ความรู้คู่ความดี ตรงต่อเวลา รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ |
ประเภท | วิทยาเขตในกำกับของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร |
ที่ตั้ง | |
สี | สีฟ้าสีขาว |
เว็บไซต์ | http://www.panitthon.ac.th |
วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี (Thonburi Commercial College) เป็นวิทยาลัยด้านพาณิชยการที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ได้รับเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นในปี พ.ศ. 2541 และ สถานศึกษามาตรฐานอาชีวศึกษาดีเด่นในปี พ.ศ. 2542 สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ประวัติ
[แก้]วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ได้ก่อตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เดิมชื่อ โรงเรียนพณิชยการธนบุรี สังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา เนื่องจากการศึกษาด้านพาณิชยการสมัยก่อนมีเพียงแห่งเดียวคือ โรงเรียนพณิชยการพระนคร (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องจัดหาที่เรียนเพิ่มเติม จึงได้แต่งตั้งขุนวิทยาวุฑฒิ (นวม ชัยรัตน์) ผู้อำนวยการกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา ดำเนินการจัดหาที่เรียน และในขณะเดียวกัน พระมหาระมัด โชติปาโล เจ้าอาวาสวัดบางแวก มีความมุ่งหมายสร้างโรงเรียนประชาบาล เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานในละแวกนี้ และได้สร้างเรือนไม้ 2 หลัง แต่เนื่องจากเกิดปัญหาขัดข้องบางประการจึงไม่สำเร็จตามมุ่งหมาย ต่อมา ขุนวิทยาวุฑฒิ จึงกราบเรียนท่านเจ้าอาวาสวัดบางแวกให้ทราบและแจ้งความประสงค์ว่าทางกระทรวงศึกษาธิการต้องการสร้างสถานศึกษาด้านพาณิชยการเพิ่มเติม ท่านเจ้าอาวาสจึงมีความยินดี และมีความตั้งใจเพื่อให้ความมุ่งหมายสำเร็จ จึงได้ขายอาคารไม้สองหลังพร้อมยกที่ดินให้กับโรงเรียนจำนวน 9 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา โดยไม่มีค่าเช่าแต่ประการใดทั้งสิ้น โดยเปิดการสอนจริงเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2500 โดยมี อาจารย์สัณห์ พรนิมิตร ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพณิชยการพระนคร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพณิชยการธนบุรีเป็นท่านแรก
ต่อมากรมอาชีวศึกษาเล็งเห็นความจำเป็น ที่จะต้องเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และเห็นว่าโรงเรียนพณิชยการธนบุรีเป็นสถาบันที่มีความพร้อม ประกอบด้วยนักเรียนที่มีระเบียบวินัยเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลภายนอก จึงมีคำสั่งให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี" ในปี พ.ศ. 2514
โดยมีการจัดการเรียนการศึกษาในหลักสูตรดังต่อไปนี้ตามลำดับ
- พ.ศ. 2500 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- พ.ศ. 2514 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- พ.ศ. 2516 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมัธยมศึกษา (ป.ม.)
- พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคขั้นสูง (ปทส.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในโครงการความร่วมมือระหว่างกรมอาชีวศึกษากับกองทัพบก สำหรับนายสิบที่สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2547 เปิดสอนหลักสูตรวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวในระดับ ปวช. และ ปวส.
สัญลักษณ์
[แก้]ตราประจำวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีเดิม
- ภาพเรือใบและปีกนก หมายความถึง การพาณิชย์โดยทางน้ำ ทางอากาศและทางบก
- ภาพธรรมจักรและเปลวเทียนส่องแสงสว่าง หมายความถึง ความมีคุณธรรม และมีทักษะเยี่ยมในการปฏิบัติงาน
- ตัวอักษร อุ อา ก. ส. เป็นคาถาหัวใจเศรษฐี อันได้แก่
- อุ ย่อมาจาก อุฏฐานสัมปทา คือ มีความขยัน
- อา ย่อมาจาก อารักขสัมปทา คือ รู้จักออมทรัพย์
- ก. ย่อมาจาก กัลป์ยาณมิตตา คือ คบคนดีเป็นมิตร
- ส. ย่อมาจาก สมชีวิตา คือ การใช้จ่ายอย่างประหยัด
สิ่งเกี่ยวเนื่อง
[แก้]- หลวงพ่อพาณิชย์ธน พระพุทธรูปประจำวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ประดิษฐานอยู่หอพระด้านหน้าทางเข้าวิทยาลัยฯ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถาบัน
- พระมหาระมัด โชติปาโล เจ้าอาวาสวัดบางแวก ผู้อุปถัมภ์วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ทางวิทยาลัยได้สร้างรูปหล่อเหมือนท่านไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกพระคุณและนึกถึงคุณงามความดี ของท่าน โดยประดิษฐานไว้ในหอพระด้านหน้าทางเข้าวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
- ต้นไม้ประจำสถาบัน ต้นโพธิ์ และต้นปาล์มทอง
เพลงสถาบัน
[แก้]- วอล์ทพณิชยการธนบุรี
- มาร์ชพณิชยการ
- โอ้พาณิชย์ธน
- สายสัมพันธ์ พ.ธ.
- สายใยบางแวก
- ถิ่นรักปาล์มทอง
- รำวง พ.ธ. รำลึก
- สมาคมศิษย์เก่าพณิชยการบุรี
การศึกษา
[แก้]ในปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2560) วิทยาลัยได้จัดการศึกษาตามหลักสูตร ดังต่อไปนี้
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- การบัญชี
- การเลขานุการ
- การตลาด
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- ธุรกิจการค้าปลีก(ทวิภาคี)
- ภาษาต่างประเทศ
- การท่องเที่ยว (ทวิภาคี)
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- การบัญชี
- การเลขานุการ
- การตลาด
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- การจัดการธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี)
- การบัญชี (ทวิภาคี)
- การตลาด (ทวิภาคี)
- การจัดการประชุมและนิทรรศการ (ทวิภาคี)
- ปริญญาตรี
- การบัญชี
- การตลาด
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
เกียรติประวัติวิทยาลัย
[แก้]- ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่น ในปี พ.ศ. 2541
- ได้รับเลือกเป็นสถานศึกษามาตรฐานอาชีวศึกษาดีเด่น และสถานศึกษานำร่องการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปี พ.ศ. 2542
- ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีได้อย่างดียิ่ง จากกรมอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2545
- ได้รับโล่จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นสถานศึกษาการประกันคุณภาพมาตรฐานอาชีวศึกษาดีเด่น ในปี พ.ศ. 2549
- ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประจำปีการศึกษา 2553
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปีพุทธศักราช 2565
- ชุดาภา จันทเขตต์ นักแสดง นางแบบ ครูสอนการแสดง ผู้กำกับการแสดง
- ทัศนีย์ คล้ายกัน นักเขียนไทยเจ้าของนามปากกา อาริตา กันยามาส และนาวิกา
- ตะวัน วนิดา นักแต่งเพลง ครูสอนร้องเพลง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี http://www.
- panitthon.ac.th