วิจารณ์ พานิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิจารณ์ พานิช

ไฟล์:Vicharn panich.jpg
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (81 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งและประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช (27 พฤศจิกายน 2485 -) ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันทำหน้าที่นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์ และนายกสภาสถาบันพระบรมราชชนก

วิจารณ์ พานิช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้

ประวัติ[แก้]

วิจารณ์ พานิช เป็นหลานชายของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) บุคคลสำคัญของโลกที่เรารู้จักกันในนามท่านพุทธทาสภิกขุ (นามเดิม เงื่อม พานิช) สมรสกับ ศ.พญ.อมรา (เศวตวรรณ) พานิช มีบุตรธิดา 4 คน

การศึกษา[แก้]

จบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505-2509 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2510-2511 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 355

ประวัติการทำงาน[แก้]

ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]

ตำแหน่งในอดีต[แก้]

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด.) สาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธูวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กศ.ด.) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ. 2545)
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการจัดการสารสนเทศ) จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (พ.ศ. 2555)
  • ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2560)
  • รางวัลปาฐกถา สุด แสงวิเชียร ประจำปี พ.ศ. 2544 จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เกียรติบัตรเชิดชูพยาธิแพทย์อาวุโส ประจำปี พ.ศ. 2545 จากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์
  • รางวัลมหิดลทยากร ประจำปี พ.ศ. 2545 จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คุรุสภาประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2559
  • สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาประกาศยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ประจำปี 2566
  • รางวัลเชิดชูเกียรติครบรอบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๖๗

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]