มาลิก อิบน์ อะนัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาลิก อิบน์ อะนัส
ชื่อ มาลิก อิบน์ อะนัส ในลายวิจิตรอาหรับ
คำนำหน้าชื่อชัยคุลอิสลาม
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 711/ฮ.ศ. 93
มะดีนะฮ์
มรณภาพค.ศ. 795/ฮ.ศ. 179 (83-84 ปี)
มะดีนะฮ์
ศาสนาอิสลาม
ชาติพันธุ์อาหรับ
ยุคยุคทองของอิสลาม
ภูมิภาคมะดีนะฮ์
สำนักคิดมาลิกี
ความสนใจหลักฮะดีษ, ฟิกฮ์
แนวคิดโดดเด่นมัซฮับมาลิกี
ผลงานโดดเด่นมุวัฏเฏาะอ์, อัลมุเดาวะนะฮ์
ตำแหน่งชั้นสูง
มีอิทธิพลต่อ

มาลิก อิบน์ อะนัส (อาหรับ: مالك بن أنس, ค.ศ.711–795 / ค.ศ.93–179) ชื่อเต็มคือ มาลิก อิบน์ อะนัส อิบน์ มาลิก อิบน์ อบีอามิร อิบน์ อัมร์ อิบน์ อัลฮาริษ อิบน์ ฆ็อยมาน อิบน์ คุษัยน์ อิบน์ อัมร์ อิบน์ อัลฮาริษ อัลอัชบาฮีย์ หรือรู้จักกันในชื่อ อิหม่ามมาลิก โดยสำนักมาลิกีของซุนนี เป็นทั้งนักกฎหมาย, นักเทววิทยา และนักอนุรักษ์ฮะดีษมุสลิมชาวอาหรับ[1] โดยเกิดในมะดีนะฮ์ มาลิกกลายเป็นนักปราชญ์แห่งฮะดีษในช่วงที่ยังมีชีวิต[1] มุมมองของเขาในด้านนิติศาสตร์ถูกยกย่องทั้งชีวิตนี้และโลกหน้า และกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสี่สำนักของซุนนี คือมาลิกี[1] ซึ่งนับถือในแอฟริกาเหนือ, อัลอันดะลุส, ส่วนใหญ่ของอียิปต์ และบางส่วนของซีเรีย, เยเมน, ซูดาน, อิรัก และคุรอซาน[2] และเป็นโดดเด่นในลัทธิศูฟี โดยเฉพาะชาซิลียะฮ์กับติญานียะฮ์[3]

ผลงานของมาลิกีมีจุดมุงหมายไปยัง "เส้นทางที่ราบรื่น" หรือ มุวัตฏอ[1] โดยอัชชาฟิอียกย่องว่า "เป็นหนังสือที่ก้องกังวาลที่สุดในโลกหลังจากกุรอาน"[2] การรวบรวม มุวัตฏอ ทำให้มาลิกถูกยกย่องในฉายาต่าง ๆ เช่น ชัยค์แห่งอิสลาม, ผู้พิสูจน์แห่งสังคม, และ นักปราชญ์ผู้มีความรู้แห่งมะดีนะฮ์ โดยฝ่ายซุนนี[2]

ประวัติ[แก้]

ชื่อเต็มของเขาคือ อบูอับดุลลอฮ์ มาลิก อิบน์ อะนัส อิบน์ มาลิก อิบน์ อบีอามิร อิบน์ อัมร์ อิบนุลฮาริษ อิบน์ ฆัยมาน อิบน์ คุษัยล์ อิบน์ อัมร์ อิบนุลฮาริษ

มาลิก เป็นบุตรของอะนัส อิบน์ มาลิก (ไม่ใช่เศาะฮาบะฮ์ที่มีชื่อเดียวกัน) กับอาลิยะฮ์ บินต์ ชุรัยก์ อัลอัซดียะฮ์ ในมะดีนะฮ์ ปีค.ศ. 711. ครอบครัวของเขามาจากเผ่าอัลอัสบาฮีแห่งเยเมน แต่ อบูอะมีร ทวดของเขา ย้ายครอบครัวไปมะดีนะฮ์หลังจากเข้ารับอิสลามในปีที่ 2 ของปฏิทินฮิจเราะห์ หรือค.ศ.623 มาลิก อิบน์ อบีอะมีร ปู่ของเขา เป็นลูกศิษย์ของเคาะลีฟะฮ์อุมัร และเป็นหนึ่งในผู้รวบรวมกุรอานในสมัยของเคาะลีฟะฮ์อุษมาน[4]

สิ่งที่เขาทำ[แก้]

การอาศัยที่มะดีนะฮ์ทำให้มาลิกได้รัความรู้มาก เขาจำอัลกุรอานทั้งเล่มได้ตั้งแต่วัยเด็ก เรียนรู้การอ่านออกเสียงจากอะบูซุฮัยล์ นาฟิอ์ อิบน์ อับดุรเราะห์มาน และได้รับอิญาซะฮ์ หรือปริญญาและอนุญาตที่จะสอนผู้อื่นได้ เขาได้สอนหลายคน ซึ่งรวมไปถึง ฮิชาม อิบน์ อุรวะฮ์, อิบน์ ชิฮาบ อัซซุฮรี และ—ร่วมกับอะบูฮะนีฟะฮ์ ผู้ก่อตั้งมัซฮับฮะนะฟี—ภายใต้อิหม่ามชีอะฮ์จากญะอ์ฟัร อัศศอดิก ผู้สืบเชื้อสายจากมุฮัมมัด[5]

การกล่าวในฮะดีษ[แก้]

ศาสดามุฮัมมัดกล่าวในฮะดีษที่บันทึกโดยมุฮัมมัด อิบน์ อีซา อัตติรมีซีว่า: "ในเร็วๆ นี้ ผู้คนจะตีด้านข้างของอูฐ และพวกเขาจะไม่พบใครที่มีความรู้ไปมากกว่าผู้มีความรู้แห่งมะดีนะฮ์" อัลกอฎี อิยาฎ, อัซซะฮะบีย์ กับคนอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันจากซุฟยาน อิบน์ อุยัยนะฮ์, อับดุรร็อซซาก อัศศ็อนอานีย์, อิบน์ มะฮ์ดี, ยะฮ์ยา อิบน์ มะอีน, ซุอัยบ์ อิบน์ อิมามะฮ์, อิบน์ อัลมะดานี และคนอื่นกล่าวว่า นักปราชญ์ในฮะดีษคือมาลิก อิบน์ อะนัส[6]

รูปพรรณ[แก้]

มีคำอธิบายเกี่ยวกับรูปพรรณของเขาว่า "สูง, ร่างใหญ่, โอ่อ่า, ผิวงดงาม พร้อมกับเคราขาว ... [และ] หัวล้าน ... [พร้อมกับ] ตาสีน้ำเงิน"[7] ที่มากไปกว่านั้น ได้การกล่าวไว้ว่า "เขาใส่เสื้อที่สวยงานเสมอ โดยเฉพาะเสื้อสีขาว"[7]

เสียชีวิต[แก้]

สุสานของมาลิก

มาลิกเสียชีวิตตอนอายุ 83 หรือ 84 ปีที่มะดีนะฮ์ในปีค.ศ. 795 และถูกฝังในอัลบะกีอ์ โดยเคยมีเทวสถานที่สร้างในยุคกลาง แต่ถูกรื้อลงโดยทางราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในช่วงการทำลายสถานที่มรดกของอิสลามในซาอุดีอาระเบียหลังการก่อตั้งราชอาณาจักรในปีค.ศ.1932[8]

คำพูดสุดท้ายของมาลิกถูกบันทึกโดย อิสมาอิล อิบน์ อบีอุวัยส์ ว่า "มาลิกป่วย ดังนั้น ฉันจึงถามผู้คนว่าเขาพูดอะไรในตอนที่เขาเสียชีวิต พวกเขาตอบว่า "เขากล่าวชะฮาดะฮ์และกล่าวอีกว่า:

พระบัญชาเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ทั้งก่อนและหลัง[9]

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

ออนไลน์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

ผลงาน[แก้]

อิหม่ามมาลิกเขียนหนังสือชื่อว่า:

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Schacht, J., "Mālik b. Anas", in: Encyclopaedia of Islam, Second Edition, Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs. Brill Online.
  2. 2.0 2.1 2.2 Gibril F. Haddad, The Four Imams and Their Schools (London: Muslim Academic Trust, 2007), p. 121
  3. See "Shadiliyya" and "Tijaniyyah" in: Encyclopaedia of Islam, Second Edition, Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs. Brill Online.
  4. M M Azami, The History of the Quranic Text, page 100-101
  5. "– Topics". Muslimheritage.com. 2005-01-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-10.
  6. http://eshaykh.com/hadith/hadith-abour-imam-malik-r/
  7. 7.0 7.1 Gibril F. Haddad, The Four Imams and Their Schools (London: Muslim Academic Trust, 2007), p. 177
  8. The medieval Andalusian Muslim traveler and geographer Ibn Jubayr describes seeing a small dome erected above the tomb of Malik when he visited the cemetery in the later twelfth-century.
  9. กุรอาน 30:4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]