อุศูลุลฟิกฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุศูลลุลฟิกฮ์ (อาหรับ: أصول الفقه‎) หรือ หลักนิติศาสตร์อิสลาม หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยมาตาการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยบทบัญญัติทางศาสนา. ประวัติความเป็นมาของศาสตร์นี้เริ่มต้นตั้งแต่ยุคของการจากไปของศาสดามุฮัมมัด (ศ). อุศูลลุลฟิกฮ์ เป็นศาสตร์ที่จะพิจารณาและตรวจสอบหลักการต่าง ๆ, มาตรการต่าง ๆ, ที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยบทบัญญัติทางศาสนาว่าเป็นหลักการที่มีหลักบานยืยยันความน่าเชื่อถือหรือไม่ จึงจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องผ่านการศึกษา วิชาการด้านตรรกะและปรัชญามาแล้วพอสมควร

นิยามต่าง ๆ ของอุศูลหรืออัศล์[แก้]

คำว่า อุศูล ฟิกอ์ เป็นคำผสม ที่ประกอบไปด้วยคำว่า อุศูล เป็นพหูพจน์ของคำ ว่า อัศล์ ตามรากศัพท์หมายถึง พื้นฐาน, รากฐาน, แก่น หรือหลักการ ในแง่วิชาการหมายถึงหลักการพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับคำว่า อัศล์ หรือ อุศูล นักวอชาการสาย นิติศาสตร์อิสลามได้ให้ควาหมายไว้หลายประการดังนี้:

  1. อัศล์ ที่แปลว่า หลักสำคัญ, หรือ หลักใหญ่ ๆ ตรงกันข้ามกับ ข้อปลีกย่อย.
  2. อัศล์ ที่หมายถึง หลักการพื้นฐาน ที่ตรงกันข้าม กับ หลักการรอง เช่น หลักการพื้นฐานคือให้ยึดตามความหมายดั้งเดิมหรือความตามรากศัพท์ของคำศัพท์ในกรณีที่มีความคลุมเคลือในสองความหมายระหว่างความหมายรองหรือคงามหมายแรกของคำศัพท์
  3. อัศล์ ที่หมายถึง หลักฐาน หรือ ข้อพิสูจน์
  4. อัศล์ ที่แปลว่า กฎเกณฑ์
  5. อัศล์ที่หมายถึงมาตรการหรือหลักการที่ใช้ในการกำหนดหลักปฏิบัติในกรณีที่เกิดความสงสัยลังเลและไม่มีหลักฐานทางศานาบ่งชี้อย่างชัดเจน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มาตรการการวินิจฉัยหลักปฏิบัติแบบเฉพาะหน้า

คำว่า ฟิกฮ์ ตามรากศัพท์ หมายถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ต่อมาก็มีความหมายที่แคบลง หมายถึง การทำความเข้าใจหลักการทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง และในที่สุดก็ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติทางศาสนาพร้อมกับยกข้ออ้างอิงและหลักฐานของมันอย่างละเอียด

นิยามต่าง ๆ ของอุศูลุลฟิกฮ์[แก้]

สำหรับคำว่า อุศูลุลฟิกฮ์ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีประเด็นถกเถียงอื่นไอีกในหมู่นักวิชาการสายนี้. มุฮักกิก คุราซานี ได้นิยามศาสตร์นี้ไว้ว่า : (อุศูลเป็นศาสตร์ที่ว่า หลักการต่าง ๆ ที่จะทำให้ได้มาซึ่งบทบัญญัติทางศาสนา.) เจ้าของหนังสือ กิฟายะฮ์ กล่าว่า : (อุศูลคือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งหลักปฏิบัติทางศาสนา ซึ่งอาจจะนำมาวินิจฉัยบทบัญญัติทางศาสนาได้เลย หรือ อาจนำมากำหนด หน้าที่ปฏิบัติแบบเฉพาะหน้าก็ได้.) นักวิชาการอุศูลสายอะลิซซุนนะฮ์ บางท่านอาทิเช่น อบู ซฺเราะห์ให้ความหมายศาสตร์นี้ว่า:เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ ที่จะทำให้เรารับรู้ถึงบทบัญยัติทางศาสนาสและวินิจฉัยได้.[1]

ประวัติความเป็นมา[แก้]

นักวิชาการคนแรกที่ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับศาสตร์นี้ คือ อิมาม บาเก็ร (อ) (เสียชีวิต 114 ฮ.ศ.) และอิมามศอดิก(อ) (เสียชีวิต 148 ฮ.ศ.) และนักวิชาการสายอะลิซวุนะฮ์คนแรกที่เขียนตำราด้านนี้ไว้คือ ยะอฺกูบ บิน อิบรอฮีม (เสียชีวิต 182 ฮ.ศ.)

หัวข้อสำคัญ[แก้]

  • การสื่อความหมายของคำศัพท์
    • คำผสม
    • ประโยคคำสั่ง
    • ประโยคห้าม
    • ความหมายแฝง
    • คำที่สื่อแบบครอบคลุม-โดยรวม
    • คำที่สื่อแบบชี้เฉพาะ-แบบมีเงื่อไข
    • คำที่มีความหมายเดียว
    • คำที่สื้อได้มากกว่าหนึ่งความหมาย
  • หลักฐานที่ไม่เป็นรายลักอัษร
  • หลักฐานทางสติปัญญา

ตำรา[แก้]

ทั้งนิกายชีอะฮ์และซุนนะฮ์ต่างเรียบเรียบตำราต่าง ๆ มากมายหลายเล่มเกี่ยวกับศาสตร์ อุศูล

รายชื่อตำราอุศูลของชีอะฮ์[แก้]

  • التذکره อัตตัซฺกะเราะห์ ของเชคมุฟีด
  • عده الاصول อิดะตุ้ล อุศูล ของเชค ตูซี
  • مناهج الوصول الی علم الاصول มะนาฮิจุล วุศูล อิลา อิมิล อุศูล ของ มุลลา อะฮ์หมัด นะรอกี
  • معالم المجتهدین มะอาลิมุล มุจตะฮิดีน ของ อามุลี
  • قوانین الاصول กอวานีนุล อุศูล ของ มีรซฺ กุมมี
  • مبانی الاصول มะบานียุล อุศูล ของซัยยิด มุฮัมมัด ฮาชิม คอนซอรี
  • هدایةالمسترشدین ฮิดายะตุ้ล มุซตัรชิดีน ของ มุฮัมมัด ตะกี อิสฟะฮานี

รายชื่อตาระอุศูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์[แก้]

  • المستصفی فی اصول الفقه อัลมุซตัศฟา ฟี อุศูลลิลฟิกฮ์ ของ อบูฮามิด มุฮัมมัด ฆอซฺลี ชาฟิอี.
  • المنخول فی الاصول ของ อบู ฮามิด ฆอซฺลี
  • مختصر الاصول الحاجبی ของ อุษมาน อิบนิ อุมัร
  • تعلیقه ของ มัซอูด บิน อุมัร
  1. انتشارات دانشگاه تهران อลี ริฏอ, เฟซฺ, มะบานี อุศูลฟิกฮ์,หน้า26-31