ภูเขาฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิ | |
---|---|
富士山 (ญี่ปุ่น) | |
ภูเขาไฟฟูจิมองจากโอชิโนะฮักไก | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 3,776 เมตร (12,388 ฟุต) [1] |
พิกัด | 35°21′38″N 138°43′39″E / 35.36056°N 138.72750°E [2] |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | 100,000 ปี |
การปะทุครั้งล่าสุด | 2251 |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | พ.ศ. 1206 โดย En no Odzunu (役行者, En no gyoja, En no Odzuno) |
เส้นทางง่ายสุด | การเดิน |
ภูเขาไฟฟูจิ (Fuji Mountain) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดใน ประเทศญี่ปุ่น ราว 3,776 เมตร (12,388 ฟุต) ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดชิซูโอกะและจังหวัดยามานาชิ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของ โตเกียว พื้นที่โดยรอบประกอบด้วย ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ และน้ำตกชิราอิโตะ โดยในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นจากโตเกียวได้ ในปัจจุบันภูเขาได้ถูกจัดโดยนักวิทยาศาสตร์อยู่ในลักษณะของภูเขาไฟที่มีโอกาสปะทุต่ำ ระเบิดครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) ยุคเอโดะ
ภูเขาไฟฟูจิ มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูจิซัง" ซึ่งในหนังสือในสมัยก่อนเรียกว่า "ฟูจิยามะ" เนื่องจากตัวอักษรคันจิตัวที่ 3 (山) สามารถอ่านได้ 2 แบบทั้ง "ยามะ" และ "ซัง"[3]
ประวัติ
[แก้]เชื่อว่ามีผู้ปีนภูเขาไฟฟูจิครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1206 โดยนักบวชท่านหนึ่ง และในช่วงระหว่างนั้นจนถึงยุคเมจิ ภูเขาไฟฟูจิได้ชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้น ปัจจุบันภูเขาไฟฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่างๆ โดยเฉพาะภาพวาดของโฮกูไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมายของญี่ปุ่น ในอดีตภูเขาไฟฟูจิเป็นที่ฝึกฝนของฐานทัพซามูไร ซึ่งในปัจจุบันฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูเขาไฟฟูจิ
รูปแบบของภูเขาไฟฟูจิและกิจกรรมที่ต่อเนื่องยาวนานในการเป็นแรงบันดาลใจ ได้กลายเป็นวิถีปฏิบัติทางศาสนาที่เชื่อมโยงผู้คนที่นับถือศาสนาชินโต พุทธศาสนา และธรรมชาติเข้าด้วยกัน ภูเขาไฟฟูจิยังมีอิทธิพลต่อศิลปินในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในการผลิตภาพเขียนที่มีลักษณะทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ภูเขาไฟลูกนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทั้งนี้ภูเขาไฟฟูจิซึ่งมีความสูง 3,776 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดยะมะนะชิและชิซุโอะกะ เป็นหนึ่งในทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น จากการที่เป็นภูเขาไฟที่มีรูปร่างสมมาตรและมีหิมะปกคลุมบริเวณยอดเขาตลอดทั้งปี ทำให้กลายเป็นจุดดึงดูดผู้คนมานานหลายร้อยปี
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]ยอดเขาฟูจิมีสภาวะภูมิอากาศแบบทุนดรา (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ET) อุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ −38.0 องศาเซลเซียส (−36.4 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 17.8 องศาเซลเซียส (64.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942
ข้อมูลภูมิอากาศของภูเขาฟูจิ (ปกติ ค.ศ. 1991−2020 สูงสุด ค.ศ. 1932−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -1.7 (28.9) |
0.0 (32) |
1.0 (33.8) |
4.7 (40.5) |
12.2 (54) |
12.3 (54.1) |
17.4 (63.3) |
17.8 (64) |
16.3 (61.3) |
14.0 (57.2) |
6.9 (44.4) |
3.6 (38.5) |
17.8 (64) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | -15.3 (4.5) |
-14.3 (6.3) |
-10.9 (12.4) |
-5.9 (21.4) |
-0.6 (30.9) |
4.0 (39.2) |
8.0 (46.4) |
9.5 (49.1) |
6.5 (43.7) |
0.7 (33.3) |
-5.9 (21.4) |
-12.2 (10) |
−3.0 (26.6) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -18.2 (-0.8) |
-17.4 (0.7) |
-14.1 (6.6) |
-8.8 (16.2) |
-3.2 (26.2) |
1.4 (34.5) |
5.3 (41.5) |
6.4 (43.5) |
3.5 (38.3) |
-2.0 (28.4) |
-8.7 (16.3) |
-15.1 (4.8) |
−5.9 (21.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -21.4 (-6.5) |
-21.1 (-6) |
-17.7 (0.1) |
-12.2 (10) |
-6.3 (20.7) |
-1.4 (29.5) |
2.8 (37) |
3.8 (38.8) |
0.6 (33.1) |
-5.1 (22.8) |
-11.8 (10.8) |
-18.3 (-0.9) |
−9.0 (15.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -37.3 (-35.1) |
-38.0 (-36.4) |
-33.9 (-29) |
-27.8 (-18) |
-18.9 (-2) |
-13.1 (8.4) |
-6.9 (19.6) |
-4.3 (24.3) |
-10.8 (12.6) |
-19.5 (-3.1) |
-28.1 (-18.6) |
-33.0 (-27.4) |
−38 (−36.4) |
ความชื้นร้อยละ | 53 | 56 | 61 | 63 | 60 | 70 | 79 | 75 | 67 | 53 | 52 | 52 | 61.8 |
แหล่งที่มา: Japan Meteorological Agency[4] |
มรดกโลก
[แก้]ฟูจิซัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ภูเขาไฟฟูจิและเจดีย์แดงชูเรโตะ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 | |
ประเทศ | จังหวัดชิซูโอกะและจังหวัดยามานาชิ ญี่ปุ่น |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iii) (iv) |
อ้างอิง | 1418 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 37) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ภูเขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ภายใต้ชื่อ "ฟูจิซัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ" ทำให้ภูเขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 13 และเป็นมรดกโลกแห่งที่ 17 ของประเทศญี่ปุ่น โดยผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
- (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "富士山情報コ–ナ–". Sabo Works at Mt.Fuji. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Triangulation station is 3775.63m. "Information inspection service of the Triangulation station" (ภาษาญี่ปุ่น). Geospatial Information Authority of Japan, (甲府–富士山–富士山). สืบค้นเมื่อ February 8, 2011.
- ↑ "Value of Mt. Fuji".Fujisan World Cultural Heritage Council. สืบค้นเมื่อ November 14, 2024.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.