ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยโควิด-19

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยโควิด-19 เป็นวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงทั่วโลกซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเศรษฐกิจตกต่ำในหลายประเทศ นับเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกร้ายแรงที่สุดนับแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930[1] วิกฤตดังกล่าวเริ่มต้นจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อรับมือโควิด-19 และมาตรการป้องกันอื่น ๆ ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 การตั้งต้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าวประจวบกับเหตุตลาดหุ้นตกปี 2020 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์และกินเวลาจนถึงต้นเดือนเมษายน 2020[2][3][4] เหตุตลาดหุ้นตกดังกล่าวกินเวลาสั้น ๆ และดัชนีตลาดหลายแห่งทั่วโลกฟื้นตัวหรือกระทั่งทำสถิติสูงสุดใหม่เมื่อถึงปลายปี 2020 เมื่อเดือนกันยายน 2020 ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าทุกประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือตกต่ำ ส่วนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทุกประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย[5][6][7] แบบจำลองของธนาคารโลกเสนอว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ในบางภูมิภาคอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2025 หรือกว่านั้น[8][9][10][11]

การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้ประชากรโลกถึงกึ่งหนึ่งอยู่ภายใต้คำสั่งให้กักตัวที่บ้านเพื่อหยุดการระบาดของโควิด-19[12] ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก[13] ซึ่งเกิดไล่เลี่ยกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2019 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์และกิจกรรมผู้บริโภคทั่วโลกชะงัก[14][15]

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ยังก่อให้เกิดภาวะการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วในหลายประเทศ และสหรัฐไม่สามารถจัดทำระบบคอมพิวเตอร์ประกันการว่างงานที่รัฐสนับสนุน และดำเนินการเพื่อให้ทันกับคำร้องต่าง ๆ[16][17] สหประชาชาติทำนายในเดือนเมษายน 2020 ว่าภาวะการว่างงานทั่วโลกจะลบชั่วโมงทำงานร้อยละ 6.7 ทั่วโลกในไตรมาสสองของปี 2020 หรือเทียบเท่ากับแรงงานเต็มเวลา 195 ล้านคน[18] ในบางประเทศคาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบมากกว่านั้นอาจมีอัตราว่างงานสูงกว่านี้[19][20][21] ประเทศกำลังพัฒนายังได้รับผลกระทบจากการส่งเงินกลับประเทศลดลง ทำให้ทุพภิกขภัยจากโควิด-19 รุนแรงยิ่งขึ้น[22] ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ กอปรกับสงครามราคาน้ำมันรัสเซีย-ซาอุดีอาระเบีย ค.ศ. 2020 ทำให้ราคาน้ำมันลดลง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การโรงแรมและพลังงานพังทลาย และกิจกรรมผู้บริโภคลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับทศวรรษก่อน[23][24][25]

เมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนายุติลง ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์พลังงานโลก ค.ศ. 2021 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความต้องการพลังงานที่แข็งแกร่งในเอเชีย[26][27][28]

การสนองทางการเงินของชาติต่าง ๆ

[แก้]

หลายประเทศประกาศโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้านล่างนี้เป็นตารางสรุปโดยอาศัยข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น)[29]

ประเทศ การใช้จ่ายโดยตรง (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) การใช้จ่ายโดยตรง (% GDP) การประกันเงินกู้และการซื้อสินทรัพย์ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หมายเหตุ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 139 9.7 125
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย 43 9
ธงของประเทศอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน 1.9 4.1
ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน 1.49 4.2 9.8
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม 11.4 2.3 51.9
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 145 8.4 166
ธงของประเทศชิลี ชิลี 11.75 4.7
ธงของประเทศจีน จีน 376.4 2.5 770.1
ธงของประเทศไซปรัส ไซปรัส 1.000 4.3
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย 4.36 2 39.7
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก 9.0 2.5 อีก 2.5% คาดว่าจะมาจากระบบรักษาเสถียรภาพอัตโนมัติ
ธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์ 6.13 1.8
ธงของประเทศเอสโตเนีย เอสโตเนีย 2.2 7
 สหภาพยุโรป 605 4 870 ไม่รวมการดำเนินการโดยรัฐส่วนแต่ละรัฐสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม: Next Generation EU [30]
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 129 5 300
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 175 4.9 825 รัฐต่าง ๆ ได้ประกาศการใช้จ่ายเพิ่มเติม
ธงของประเทศกรีซ กรีซ 27 14
ธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง 36.69 10
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 267 9
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 55 10+
ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 14.9 4
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล 26 7.2 14
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 90 3.1 448
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1,073.30 21.1 14.68
ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน 13 9
ธงของประเทศลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 3.5 4.9
ธงของมาเก๊า มาเก๊า 6.6 12.1
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 7.5 2.1 12
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 40.9 21
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ 18.2 5.5
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน 8.790 3.8 ผู้บริหารระดับจังหวัดยังได้ประกาศมาตรการทางการคลัง
ธงของประเทศเปรู เปรู 18 8 ประกาศรายจ่าย 12% จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 21.45 5.83 [31]
ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์ 20.6 13
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 72.7 4.3 รวมแผนฟื้นฟูทั้งหมดในปี ค.ศ. 2020–2021 [32]
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย 3.35 6.5 ความช่วยเหลือเป็นจำนวนเงินประมาณ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด) [33]
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 13.730 0.6 85.8100
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ 54.5 11
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 73 10.4
 ไทย 483.13 9.6
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 17.6 2
ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 7.22 2
 สหราชอาณาจักร 357 10.6
 สหรัฐ 2,900 14.5 4,000

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zumbrun, Josh (2020-05-10). "Coronavirus Slump Is Worst Since Great Depression. Will It Be as Painful?". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
  2. Islam, Faisal (20 March 2020). "Coronavirus recession not yet a depression". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
  3. Hawkins, John. "How will the coronavirus recession compare with the worst in Australia's history?". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
  4. Stewart, Emily (21 March 2020). "The coronavirus recession is already here". Vox. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
  5. "World Economic Outlook Update, June 2020: A Crisis Like No Other, An Uncertain Recovery". IMF (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
  6. "The Great Lockdown: Worst Economic Downturn Since the Great Depression". IMF Blog. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
  7. "COVID-19 to Plunge Global Economy into Worst Recession since World War II". World Bank (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
  8. "The Great Recession Was Bad. The 'Great Lockdown' Is Worse". BloombergQuint. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  9. "IMF Says 'Great Lockdown' Worst Recession Since Depression, Far Worse Than Last Crisis". nysscpa.org. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  10. Winck, Ben (14 April 2020). "IMF economic outlook: 'Great Lockdown' will be worst recession in century". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  11. Larry Elliott Economics editor. "'Great Lockdown' to rival Great Depression with 3% hit to global economy, says IMF | Business". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  12. McFall-Johnsen, Juliana Kaplan, Lauren Frias, Morgan (14 March 2020). "A third of the global population is on coronavirus lockdown – here's our constantly updated list of countries and restrictions". Business Insider Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  13. "World Economic Outlook, April 2020 : The Great Lockdown". IMF. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  14. Elliott, Larry (8 October 2019). "Nations must unite to halt global economic slowdown, says new IMF head". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  15. Cox, Jeff (21 November 2019). "The worst of the global economic slowdown may be in the past, Goldman says". CNBC. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  16. Aratani, Lauren (15 April 2020). "'Designed for us to fail': Floridians upset as unemployment system melts down". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  17. "The coronavirus has destroyed the job market. See which states have been hit the hardest". NBC News. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  18. "ILO: COVID-19 causes devastating losses in working hours and employment". 7 April 2020. สืบค้นเมื่อ 19 April 2020.
  19. Partington, Richard (14 April 2020). "UK economy could shrink by 35% with 2m job losses, warns OBR". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  20. Sullivan, Kath (13 April 2020). "Unemployment forecast to soar to highest rate in almost 30 years". ABC News. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  21. Amaro, Silvia (15 April 2020). "Spain's jobless rate is set to surge much more than in countries like Italy". CNBC. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  22. Picheta, Rob. "Coronavirus pandemic will cause global famines of 'biblical proportions,' UN warns". CNN. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
  23. Yergin, Daniel (7 April 2020). "The Oil Collapse". Foreign Affairs : An American Quarterly Review. ISSN 0015-7120. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  24. Dan, Avi. "Consumer Attitudes And Behavior Will Change in the Recession, And Persist When It Ends". Forbes. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  25. "The $1.5 Trillion Global Tourism Industry Faces $450 Billion Collapse in Revenues, Based on Optimistic Assumptions". Wolf Street. 30 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  26. "Energy crunch: How high will oil prices climb?". Al-Jazeera. 27 September 2021.
  27. "Covid is at the center of world's energy crunch, but a cascade of problems is fueling it". NBC News. 8 October 2021.
  28. "Energy Crisis 2021: How Bad Is It, And How Long Will It Last?". Forbes. 19 October 2021.
  29. "Policy Responses to COVID19". IMF. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  30. Special European Council, 17-21 July 2020 - Main results Retrieved 15 November 2020.
  31. de Vera, Ben (26 September 2020). "Bayanihan 2 raises COVID-19 response fund to $21.45B". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 October 2020.
  32. "Putin approves Cabinet's plan as basis for economic recovery". สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
  33. "EUR 5.1 billion to support the Serbian economy". 1 April 2020.