ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ควรเรียกช่อง 3 ว่าช่อง 3 เอชดี แทนที่จะเรียกว่าช่อง 3 กด 33 (ช่อง 3 เอชดี เป็นชื่อทางการ อันหลังน่าจะเป็นประโยคโปรโมทมากกว่า)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
'''ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี''' เป็นหน่วยงานย่อยของ[[ช่อง 3 เอชดี|ช่อง 3 กด 33]] ภายใต้การกำกับดูแลโดยกลุ่ม[[บีอีซีเวิลด์]] ซึ่งทำหน้าที่ผลิตข้อมูลข่าวสารทุกประเภท ในรูปของเนื้อหาข่าว และภาพเคลื่อนไหวแบบ[[วิดีโอ]] หรือภาพนิ่งในบางกรณี เพื่อสนับสนุนกับ[[รายการโทรทัศน์]] ประเภท[[ข่าว]]และ[[เหตุการณ์ปัจจุบัน]] ทั้งส่วนที่ผลิตเอง และส่วนที่ให้[[บริษัท|บริษัทเอกชน]]เช่าเวลาผลิต ภายใต้[[ตราสินค้า]] ''[[ครอบครัวข่าว 3]]'' ในช่วงเวลาต่างๆ ที่กำหนดไว้ใน[[ผังรายการ]] ทางช่อง 3 กด 33
'''ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี''' เป็นหน่วยงานย่อยของ[[ช่อง 3 เอชดี]] ภายใต้การกำกับดูแลโดยกลุ่ม[[บีอีซีเวิลด์]] ซึ่งทำหน้าที่ผลิตข้อมูลข่าวสารทุกประเภท ในรูปของเนื้อหาข่าว และภาพเคลื่อนไหวแบบ[[วิดีโอ]] หรือภาพนิ่งในบางกรณี เพื่อสนับสนุนกับ[[รายการโทรทัศน์]] ประเภท[[ข่าว]]และ[[เหตุการณ์ปัจจุบัน]] ทั้งส่วนที่ผลิตเอง และส่วนที่ให้[[บริษัท|บริษัทเอกชน]]เช่าเวลาผลิต ภายใต้[[ตราสินค้า]] ''[[ครอบครัวข่าว 3]]'' ในช่วงเวลาต่างๆ ที่กำหนดไว้ใน[[ผังรายการ]] ทางช่อง 3 เอชดี


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:46, 6 กรกฎาคม 2563

ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี เป็นหน่วยงานย่อยของช่อง 3 เอชดี ภายใต้การกำกับดูแลโดยกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตข้อมูลข่าวสารทุกประเภท ในรูปของเนื้อหาข่าว และภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ หรือภาพนิ่งในบางกรณี เพื่อสนับสนุนกับรายการโทรทัศน์ ประเภทข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ทั้งส่วนที่ผลิตเอง และส่วนที่ให้บริษัทเอกชนเช่าเวลาผลิต ภายใต้ตราสินค้า ครอบครัวข่าว 3 ในช่วงเวลาต่างๆ ที่กำหนดไว้ในผังรายการ ทางช่อง 3 เอชดี

ประวัติ

ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มดำเนินงานเป็นครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2529 หลังจากที่ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) อนุมัติให้ช่อง 3 ดำเนินการผลิตรายการข่าวได้ด้วยตนเอง โดยก่อนหน้านั้น อ.ส.ม.ท. ผลิตรายการข่าวประจำวัน เพื่อออกอากาศทาง ช่อง 9 และช่อง 3 ไปพร้อมกัน ในเวลา 20:00-20:45 น. ภายใต้ชื่อ ข่าวร่วม 3-9 อ.ส.ม.ท. ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524

ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานีฯ ได้เปิดรับสมัครบุคลากรจำนวนมาก เพื่อรองรับการเปิดแผนกใหม่ จนกระทั่งได้ทีมงานรุ่นใหม่ไฟแรงกว่า 100 คน ภายในเวลาไม่กี่เดือน สำหรับผู้ประกาศข่าวซึ่งเป็นที่รู้จักในอดีต ได้แก่ อาคม มกรานนท์, สิทธิชาติ บุญมานนท์ (ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ราวปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553), อภิญญา เจริญวงศ์ (สมรสกับ ประสาร มาลีนนท์ ผู้บริหารสถานีฯ), ชุติมา รอดอยู่สุข, รัตติยากร ริมสินธุ, อภิชาติ หาลำเจียก, จักรพันธุ์ ยมจินดา, สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล, นัจนันท์ พฤกษ์ไพบูลย์, สาธิต ยุวนันทการุณ เป็นต้น โดยกำหนดคำขวัญว่า เที่ยงตรง กระชับ ฉับไว

อนึ่ง ก่อนหน้านั้น สถานีฯ นำเสนอรายการข่าวมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยออกอากาศข่าวภาคกลางวัน และข่าวโทรพิมพ์ ในเวลา 12.00-13.00 น. ส่วนปี พ.ศ. 2518 สถานีฯ เลื่อนเวลานำเสนอรายการข่าว มาเป็น 19.00 น. พร้อมยกเลิกการออกอากาศข่าวในช่วงเที่ยงวัน และเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 สถานีฯ นำเสนอรายการ ข่าวดาวเทียม ซึ่งถ่ายทอดข่าวต่างประเทศ จากสำนักข่าวระดับโลก ผ่านระบบดาวเทียมอย่างรวดเร็ว ในเวลา 20.20 น. นับเป็นสถานีฯ แรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดลักษณะนี้[1]

วิวัฒนาการ

ฝ่ายข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มนำเสนอข่าวประจำวัน ในปี พ.ศ. 2529 ระหว่างเวลา 19.30-20.30 น. ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2533 เพิ่มช่วงนำเสนอข่าวสั้น ในเวลา 17.25 และ 21.50 น. โดยในระยะแรกที่เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้เชิญสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่นในขณะนั้น มาเป็นผู้วิเคราะห์สถานการณ์ออกอากาศ นับเป็นสถานีแรกที่นายสุทธิชัยไปออกรายการ, พ.ศ. 2536 เพิ่มเวลาข่าวประจำวันอีกวันละ 30 นาที เริ่มตั้งแต่ 19.00 น., ในเดือนมกราคม ปีถัดมา (พ.ศ. 2537) เพิ่มช่วงข่าวภาคเช้า ระหว่างเวลา 05.30-06.00 น.

จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 - 2542 ฝ่ายข่าวจึงปรับปรุงชื่อ และรูปแบบการนำเสนอข่าวครั้งใหญ่ โดยเพิ่มรายการ เหตุบ้านการเมือง ที่มีสถานะเทียบเท่าข่าวภาคเช้าของสถานีฯ (08.00-09.00 น.), เที่ยงวันทันเหตุการณ์ ซึ่งเทียบเท่าข่าวภาคเที่ยง (11.30-12.30 น.), ข่าวเด่นประจำวัน ที่มีสถานะเป็นข่าวภาคเย็นและภาคค่ำ (17.30-18.30 น.) และช่วง สถานการณ์ประจำวัน (ภายหลังเปลี่ยนเป็น ชีพจรข่าว 3 และ ระเบียงข่าว 3; ดำเนินรายการโดย สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล และ พรหมพร ยูวะเวส; มีลักษณะคล้ายกับรายการเก็บตก และข่าวนอกลู่ ในปัจจุบัน) ในเวลา 19.30-20.00 น. นอกจากนี้ ในช่วงข่าวสั้น ก็ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ 3 นาทีทั่วไทย มองโลก ทันเหตุการณ์ และ 180 วินาทีข่าว ซึ่งในระยะแรก มีการตั้งนาฬิกาจับเวลาถอยหลังบนหน้าจอ จาก 180-0 วินาทีด้วย (รูปแบบเช่นเดียวกับรายการ 60 Seconds ของช่อง BBC Three ประเทศอังกฤษ) แต่ต่อมาได้ยกเลิกการใช้นาฬิกาไป (รูปแบบดังกล่าว ได้นำมาปรับใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2560 เช่น ช่วง 190 วินาทีข่าวจริง ในรายการปรากฏการณ์ข่าวจริง 17:00 ของ ช่องสปริงนิวส์ หรือ ข่าว 28 ของ ช่อง 28 เป็นการอ่านข่าวใน 28 วินาที ต่อ 1 ข่าว) ซึ่งขณะนั้นเหลือเพียง 180 วินาทีข่าว และในปี พ.ศ. 2555 สถานีฯยังเสนอข่าวสั้นในรายการ Headline News เฮดไลน์ข่าว 3 อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าวสั้นใหม่โดยนำเสนอในชื่อว่า FLASH NEWS โดยนำเสนอ 5 ช่วง ในวันจันทร์-ศุกร์ คือในเวลา 10:35 น. , 14:20 น. , 15:20 น. , 18:45 น. และ 20:30 น. และ 7 ช่วง ในวันเสาร์- อาทิตย์ คือ 10:00 น. , 13:00 น. , 13:55 น. , 14:45 น. , 15:30 น. , 19:15 น. และ 20:15 น.

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในนาม บางกอกการละคอน เริ่มผลิตรายการข่าวให้กับไทยทีวีสีช่อง 3 โดยร่วมมือกับฝ่ายข่าวของสถานีฯ ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนด้านเนื้อหาข่าว โดยมีรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ (06.30-07.00 น.) และ โลกยามเช้า (ประมาณ 05.30-06.00 น.) ในช่วงใกล้เคียงกัน ฝ่ายข่าวของสถานีฯ ได้ผลิตรายการเองเพิ่มคือ เช้าวันใหม่ (04.00-04.30 น.)

ฝ่ายข่าว ไทยทีวีสีช่อง 3 นับเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ที่นำเทคโนโลยี "วิดีโอวอลล์" ซึ่งเป็นแผงจอโทรทัศน์ ที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้รายงานข่าวได้ เข้ามาใช้ในการรายงานข่าว โดยเริ่มใช้เป็นครั้งแรก ในการรายงานการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ในช่วง "เจาะกีฬากับบิ๊กจ๊ะ" ของรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ต่อมาจึงติดตั้งวิดีโอวอลล์จอเล็ก เพิ่มขึ้นอีก 1 ชุด ในห้องส่งอีกห้องหนึ่ง เพื่อรองรับการนำเสนอข่าว ในรายการข่าวอื่นๆ อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ครอบครัวข่าว 3

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ฝ่ายข่าวของสถานีฯ ร่วมกับ นายวิบูลย์ ลีรัตนขจร ผู้บริหารบริษัท เซิร์ช เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (ผู้ผลิตรายการ 168 ชั่วโมง ออกอากาศเวลาดึก ตั้งแต่ พ.ศ. 2538) และประธานกรรมการ บริษัท เชิร์ช ไลฟว์ จำกัด ร่วมกันเผยแพร่ตราสินค้าในชื่อ ครอบครัวข่าว 3 เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการรวบรวมกลุ่มรายการข่าวของสถานีฯ ทั้งหมดไว้ ภายใต้ตราสินค้าเดียวกัน ในปีนี้ มีรายการประเภทข่าวทางไทยทีวีสีช่อง 3 เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ประกอบด้วย เรื่องเด่นเย็นนี้ (ร่วมกับ เซิร์ช ไลฟว์; 1 กรกฎาคม; 17.00-18.00 น.), ข่าววันใหม่ (ร่วมกับ บางกอกการละคอน; 00.30-01.30 น.), ทันโลกกีฬา (1 ตุลาคม; 05.00-05.30 น.) และ ผู้หญิงถึงผู้หญิง (08.00-08.30 น.)

ส่วนในปี พ.ศ. 2549 มีรายการข่าวเพิ่มอีก ได้แก่ 30 Young แจ๋ว (09.00-09.30 น.) (ต่อมาใช้ชื่อว่า แจ๋ว และแจ๋วแฟมิลี่ ปัจจุบันได้ควบรวมกับรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง กลายมาเป็นรายการ ผู้หญิงยกกำลังแจ๋ว และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33), โต๊ะข่าวบันเทิง (10.30-11.00 น.) และ สีสันบันเทิงสด ปี พ.ศ. 2550 มีรายการ ช่วยคิดช่วยทำ (ร่วมกับ สาระศิลป์ไทยทัศน์; 1 มกราคม; 06.15-06.30 น.) และ รอบทิศทั่วไทย ส่วนปี พ.ศ. 2551 มีรายการ ข่าว 3 มิติ (ร่วมกับ บจก.ฮอตนิวส์; 7 สิงหาคม; 22.30-23.00 น.)และ ตรงจุดเกิดเหตุ (ร่วมกับ บจก.ฮอตนิวส์; 11.30-11.35 น.) ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีการออกภาพยนตร์โฆษณา เพื่อประชาสัมพันธ์ตราสินค้า ครอบครัวข่าว 3 ด้วย[2]

ในช่วงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีการออกภาพยนตร์โฆษณา Image Campaign ชุด "ข่าว 3 ไม่ต้องรอ" เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์และเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มต้นการแพร่ภาพรายการจากไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก คู่ขนานกับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูงช่อง 33 โดยภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้มีการนำเพลง "ยามรัก" ของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มาประกอบโดยมีคณะผู้ประกาศข่าวของสถานีร่วมแสดงด้วย [3]

อัตลักษณ์ประกอบการนำเสนอ

เพลงประกอบรายการข่าว

กราฟิก

กรอบล่ามภาษามือ

ปัจจุบัน ช่อง 3 ได้นำเสนอการบรรยายภาษามือที่บริเวณมุมล่างขวาของจอในรายการข่าวภาคต่างๆ โดยเริ่มนำเสนอในปี พ.ศ. 2557 โดยเริ่มจากรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ก่อนจะขยายไปยังรายการข่าวทั้งทางช่อง 3 เอชดี, ช่อง 3 เอสดี และช่อง 3 แฟมิลี ตามลำดับ โดยช่อง 3 เอชดี นำเสนอกรอบล่ามภาษามือในรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ และรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ โดยเป็นกรอบพื้นหลังสีเทา เดินเส้นขอบสีขาว

นาฬิกา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น