ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิฮั่นเกาจู่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 30: บรรทัด 30:


== โค่นล้มราชวงศ์ฉิน ==
== โค่นล้มราชวงศ์ฉิน ==
กล่าวกันว่าพระองค์เป็นคนใจกว้าง เนื่องจากเห็นใจแรงงานที?่ถูกเกณฑ์ จึงแอบปล่อยพวกแรงงานที่ถูกเกณฑ์มาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิด ในปี 209 [[ก่อนคริสต์ศักราช]] ได้ก่อการ[[กบฏ]]ด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาได้ยกทัพบุกเข้า[[เสียนหยาง]] เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน ในที่สุด
กล่าวกันว่าพระองค์เป็นคนใจกว้างเนื่องจากเห็นใจแรงงานที่ถูกเกณฑ์จึงแอบปล่อยพวกแรงงานที่ถูกเกณฑ์มาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิดในปี 209 [[ก่อนคริสต์ศักราช]] ได้ก่อการ[[กบฏ]]ด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาได้ยกทัพบุกเข้า[[เสียนหยาง]] เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน


ในที่สุดเมื่อพระองค์ได้เข้าครองเมืองเสียนหยางเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่น ๆ ตลอดจนท้องพระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น ยังห้าม ทหารของตนปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัย[[ฉินซีฮ่องเต้]]ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหดร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสามชั่วโคตร เป็นต้นโดยให้ใช้ "กฎหมายใหม่" ของตนที่เรียกว่า "บัญญัติ 3 ประการ" แทนกล่าวคือ "ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย" ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป

เมื่อพระองค์ได้เข้าครองเมืองเสียนหยางเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่น ๆ ตลอดจนท้องพระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น ยังห้าม ทหารของตนปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัย[[ฉินซีฮ่องเต้]]ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหดร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสามชั่วโคตร เป็นต้น โดยให้ใช้ "กฎหมายใหม่" ของตนที่เรียกว่า "บัญญัติ 3 ประการ" แทนกล่าวคือ "ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย" ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป


== สงคราม ฉู่-ฮั่น ==
== สงคราม ฉู่-ฮั่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:01, 25 มิถุนายน 2561

หลิวปัง (劉邦)
จักรพรรดิจีน
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
ครองราชย์28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 3411 มิถุนายน พ.ศ. 348 (7 ปี 94 วัน)
ก่อนหน้าไม่มี, เซี่ยงอวี่ as King of Western Chu
ถัดไปฮั่นฮุ่ยตี้
ประสูติ256 BC/247 BC, เพ่ยเสี้ยน, แคว้นฉู่
สวรรคต1 June 195 BC
(aged c. 60-61/c. 51-52)
คู่อภิเษกจักรพรรดินีลิจื้อ
พระราชบุตรLiu Fei, Prince Daohui of Qi
รัชทายาทหลิวหยิง
Liu Jian, Prince Ling of Yan
Liu Ruyi, Prince Yin of Zhao
หลิวเหิง กษัตริย์แห่งไต้
Liu Hui, Prince Gong of Zhao
Liu You, Prince of Huaiyang
Liu Chang, Prince Li of Huainan
Princess Luyuan
พระมรณนาม
Short: Emperor Gao (高帝)
Full: Gao Huangdi (高皇帝)
วัดประจำรัชกาล
ไท่จู่ (高祖)
ราชวงศ์ฮั่น
ศาสนาเต๋า

สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู (Han Gao Zu, 高祖) หรือ ฮั่นเกาซู หรือ ฮั่นโกโจ (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) ปฐมจักรพรรดิผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น มีพระนามเดิมว่า หลิวปัง (Liu Bang, 劉邦) หรือ เล่าปัง (ในสำเนียงแต้จิ๋ว) โดยมีกำเนิดเป็นลูกชาวนายากจน เกิดในอำเภอเพ่ยเสี้ยน (ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของ มณฑลเจียงซู) เข้าร่วมกับทางการปราบโจรผู้ร้ายในยุควุ่นวายของบ้านเมืองในปลาย ราชวงศ์ฉิน มีตำแหน่งเป็นนายหมวดปราบโจรผู้ร้าย

โค่นล้มราชวงศ์ฉิน

กล่าวกันว่าพระองค์เป็นคนใจกว้างเนื่องจากเห็นใจแรงงานที่ถูกเกณฑ์จึงแอบปล่อยพวกแรงงานที่ถูกเกณฑ์มาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิดในปี 209 ก่อนคริสต์ศักราช ได้ก่อการกบฏด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาได้ยกทัพบุกเข้าเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน

ในที่สุดเมื่อพระองค์ได้เข้าครองเมืองเสียนหยางเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่น ๆ ตลอดจนท้องพระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น ยังห้าม ทหารของตนปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัยฉินซีฮ่องเต้ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหดร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสามชั่วโคตร เป็นต้นโดยให้ใช้ "กฎหมายใหม่" ของตนที่เรียกว่า "บัญญัติ 3 ประการ" แทนกล่าวคือ "ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย" ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป

สงคราม ฉู่-ฮั่น

ต่อมาภายหลัง หลิวปังสู้รบเป็นเวลากว่า 4 ปี กับกองทัพที่นำโดย เซี่ยงอวี่ หรือฌ้อป้าอ๋อง ซึ่งเป็นกองกำลังอีกกองหนึ่งที่ลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์ฉินเช่นกัน ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล หลิวปังได้นำกำลังทหารจำนวน 3 แสนนายปิดล้อมกองทัพของเซี่ยงอวี่ ทำให้เซี่ยงอวี่จนมุมและต้องฆ่าตัวตายริมแม่น้ำในที่สุดหลิวปังได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นที่มณฑลซานตงในปัจจุบัน เมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล

ในการต่อสู้กับเซียงอวี่ หรือ ฌ้อป้าอ๋อง นี้ ได้รับการกล่าวขานอย่างมากจนถึงปัจจุบัน ถูกเรียกว่า "สงคราม ฉู่-ฮั่น" (Chu-Han contention, 楚漢相爭) เป็นการรบกันระหว่างแคว้นฉู่กับแคว้นฮั่น ท้ายสุดแคว้นฮั่นของหลิวปังก็ชนะ ด้วยหลิวปังได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านบู๊ จาก ฮั่นสิน นายทหารที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดขุนพล ซึ่งมีการเล่าขานต่อมาในยุคหลัง เช่น สามก๊ก เป็นต้น และทางการบุ๋นการปกครองบ้านเมือง ก็ได้รับการสนับสนุนจาก เตียวเหลียง และเซี่ยวเหอ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดเสนาบดีอีกเช่นกัน

ขึ้นครองราชย์

หลิวปัง ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด กล่าวกันว่าครั้งหนึ่ง เมื่อได้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์เคยตรัสว่า

ความคิดอ่านสติปัญญาในการวางแผนข้าสู้เตียวเหลียงไม่ได้ ฝีมือในการสู้รบและนำทัพข้าก็สู้ฮั่นสินไม่ได้ ความรู้ความสามารถในการระดมพล ฝึกพล และสนับสนุนเสบียงอาหารแก่กองทัพข้าก็สู้เซียวเหอไม่ได้ แต่ความสามารถในการใช้ทั้งเตียวเหลียง ฮั่นสิน และเซียวเหอไม่มีใครสู้ข้าได้ นี่คือเหตุผลที่ทำให้กองทัพของเราได้รับชัยชนะ

ซึ่งประโยคนี้นับได้ว่า พระองค์เป็นยอดนักบริหารและรู้จักหลักการใช้คนอย่างแท้จริง

เมื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ซีฮั่น (ฮั่นตะวันตก) แล้วก็ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีจนทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลงตามที่ลู่เจี่ยทูลเสนอ หลิวปังดำเนินนโยบายนุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ปลดระวางทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงการที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณบีบบังคับกะเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน) เป็นเวลาหลายปีเพื่อจะสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงคราม กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง ภาษีรัชชูปการก็ลดลง เช่นกัน

ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น ในชั้นต้น หลิวปังใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจายอำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือหวางไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้น ศักดินาหรือเรียกว่า "ฟงกั๋ว" เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก "หวาง" ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง "หวาง" ขึ้นใหม่ 9 องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวหรือเล่าทั้งสิ้น (ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นทั้งหมด จึงเป็นแซ่เล่าทั้งหมด จนกระทั่งถึงสมัยสามก๊ก)

หลิวปังในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนักปรัชญาขงจื๊อ เมื่อตั้งตนเป็นฮ่องเต้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า จึงเห็นว่า หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื้อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า

อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้ แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้

พระองค์สั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือเพื่อสืบหาความผิดพลาดและความล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุดเพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็นอุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน

หลิวปังตั้งตนเป็นฮ่องเต้ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น "ฮั่นหวาง" ใน 206 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากจักรพรรดิหลิวปังสิ้นสวรรคตและจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า "ฮั่นเกาจู่"

หลิวปังยกทัพไปปราบปรามกลุ่มกบฏของอิงปู้ ถูกเกาทัณฑ์ยิงจน ประชวรหนักและสวรรคต ใน 195 ก่อนคริสต์ศักราช

ก่อนหน้า จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ถัดไป
จักรพรรดิจิ๋นที่ 3
(ราชวงศ์จิ๋น)
จักรพรรดิจีน
(206 ปีก่อนคริสตกาล - 195 ปีก่อนคริสตกาล)
จักรพรรดิฮั่นฮุ่ยตี้

อ้างอิง