พูดคุย:จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระมหากษัตริย์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

น่าจะมีการทำ กล่อง template จักรพรรดิ จีนนะครับ ไม่รู้มีหรือป่าว ตอนนี้ใช้กล่องกษัตริย์ต่างด้าวไว้ก่อน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Sukoom2001 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:12, 5 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

ฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) (刘邦)

จักรพรรดิองค์ปฐมของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี206 ปีค.ศ. 220ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรพรรดิผู้มีกำเนิดจากสามัญชนและด้อยการศึกษาหนึ่งในสององค์ในประวัติศาสตร์จีน

หลิวปังเกิดในอำเภอเพ่ยเสี้ยน (ปัจจุบันอยู่ในภาคเหนือของ มณฑลเจียงซู) เป็นลูกชาวนาธรรมดาที่มีฐานะยากจนมาแต่เดิม เคยรับ ใช้ทางการบ้านเมือง มีตำแหน่งเป็นนายหมวดปราบโจรผู้ร้าย

หลิวปังเป็นคนใจกว้างเนื่องจากเห็นใจแรงงานที่ถูกเกณฑ์ จึงแอบ ปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิด ในปี209ก่อนคริสต์ศักราชหลิวปังได้ก่อการกบฏด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ชูธงก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาหลิวปังได้ยกทัพบุกเข้าเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน ในที่สุด

เมื่อหลิวปังได้เข้าครองเมืองเสียนหยางเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่นๆตลอดจนท้องพระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น เขายังห้าม ทหารของตนปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น หลิวปังยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัยฉินซีฮ่องเต้ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหดร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสาม ชั่วโคตร เป็นต้น โดยให้ใช้”กฎหมายใหม่”ของตนที่เรียกว่า“บัญญัติ สามประการ”แทนกล่าวคือ“ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย”ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับ การสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป

ต่อมาภายหลัง หลิวปังสู้รบเป็นเวลากว่า4ปี กับกองทัพที่นำโดยเซี่ยงอวี๋หรือฌ้อป้าอ๋อง ซึ่งเป็นกองกำลังอีกกองหนึ่งที่ ลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์ฉินเช่นกัน ในปี202ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังได้นำกำลัง ทหารจำนวน3แสนนายปิดล้อมกองทัพของเซี่ยงอวี่ ทำให้เซี่ยงอวี่จน มุมและต้องฆ่าตัวตายในที่สุดหลิวปังได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จและ สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นที่มณฑลซานตุงใน ปัจจุบันเมื่อปี202ก่อนคริสต์ศักราช

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีตำนานเล่าว่า กองทหารของเซี่ยงอวี่ ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองไกเซี่ย มีกำลังทหารเหลือน้อย เสบียงอาหารก็หมด ถูก่กองทหารของฮั่นโอบล้อมไว้เป็นชั้นๆ ยามค่ำคืนก็จะได้ยิน เสียงเพลงรัฐฉู่แว่วดังมาจากกองกำลังทั้ง4ด้านของกองทัพฮั่น เซี่ยงอวี่ตื่นตระหนกตกใจและกล่าวว่า“ทหารฮั่นได้ยึดครองแผ่นดิน ของรัฐฉู่ หมดสิ้นแล้วหรือ เหตุใดชาวรัฐฉู่จึงมีมากมายขนาดนี้เล่า ” นี่ก็คือเหตุการณ์ที่เรียกว่า ”ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ”หรือ”เสียงเพลงรัฐฉู่ดังทั่ว ทั้งสี่ทิศ”อันเป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน ปัจจุบันนี้ ได้ถูกนำมาใช้เป็นคำอุมาอุปมัยมีความหมายว่า “ถูกตีโอบทั้งสี่ด้าน”

หลิวปังเก่งในการใช้คน จึงสามารถพลิกสถานการณ์จากร้ายให้ กลายเป็นดีได้ ในขณะที่หลิวปังยกทัพไปถึงเมืองเสียนหยาง มีทหารหนีจากเขาไปบ่อยๆ มีนายทหารผู้น้อยคนหนึ่งชื่อหันซิ่นก็ได้ หนีไปด้วย เซียวเหอซึ่งเป็นขุนนางฝ่ายพลเรือนคนสำคัญที่หลิวปังไว้ วางใจและเชื่อถือที่สุดรู้ข่าวนี้ก็ไปไล่ตามตัวเขากลับด้วยตนเองโดยไม่ทันบอกหลิวปัง จากนั้น ก็นำตัวหันซิ่นไปถวายหลิวปังทูลว่า“หันซิ่น เป็นนักการทหารที่มีความสามารถ” แม้เวลานั้น หันซิ่นจะยังไม่มี ชื่อเสียง แต่หลิวปังก็กล้าที่จะแต่งตั้งเขาให้เป็นแม่ทัพตามข้อเสนอ ของเซียวเหอและในเวลาต่อมา หันซิ่นได้กลายเป็นแม่ทัพผู้มีความ เก่งกาจและ เป็นนักยุทธศาสตร์ผู้ยอดเยี่ยม ได้สร้างคุณงามความดี มากมายในการ สร้างราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง

หลิวปังเป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด เนื่องจากเคย เป็นลูกชาวนาผู้ต่ำต้อย หลิวปังจึงมีความเห็นอกเห็นใจและ เข้าใจในทุกข์สุขของประชาชนทั่วไป ในแง่การทหาร หลิวปังรบกับเซี่ยงอวี่ มักจะแพ้มากกว่าชนะ แต่ในแง่การเมือง หลิวปังชนะใจประชาชน รวมทั้งทหารหลวงของจักรพรรดิราชวงศ์ฉิน ด้วย และในที่สุดก็ได้รับชัยชนะโดยสมบูรณ์

เมื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ซีฮั่น (ฮั่นตะวันตก) แล้วก็ได้ใช้มาตรการต่างๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีจนทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลง ตามที่ลู่เจี่ยทูลเสนอ หลิวปังดำเนินนโยบายนุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ปลดระวาง ทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงการที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณบีบบังคับกะเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน) เป็นเวลาหลายปีเพื่อจะสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงคราม กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง ภาษีรัชชูปการก็ลดลง เช่นกัน

ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น ในชั้นต้น หลิวปังใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจาย อำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือหวางไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้น ศักดินาหรือเรียกว่า”ฟงกั๋ว”เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก”หวาง”ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง”หวาง”ขึ้นใหม่9องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวทั้งสิ้น

ภายหลังราชวงศ์ฉินสิ้นสุดลง ชนกลุ่มน้อย”ซงหนู”ที่ เก่งกาจในการรบบนหลังม้าทางภาคเหนือของจีนก็ถือโอกาส บุกรุกลงมาทางใต้ และรุกรานเมืองที่อยู่ชายแดนของราชวงศ์ฮั่น ในปี200ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังได้ยกทัพไปปราบปรามด้วยตนเอง ถูกทหารม้าจำนวน3แสนคนของพวก”ซงหนู”โอบล้อมอยู่ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนที่ไป๋เติง (ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลซานซี) หลังจากพ้นอันตราย เอาตัวรอดมาได้แล้ว หลิวปังเริ่มใช้นโยบายปรองดองกับพวก”ซงหนู” ขึ้นและเปิดตลาดชายแดนระหว่างฮั่นกับซงหนูขึ้น เพื่อผ่อนคลาย ความสัมพันธ์อันตึงเครียดของสองฝ่าย

หลิวปังในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนักปรัชญาขงจื้อ เมื่อตั้งตนเป็นจักรพรรดิแล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า จึงเห็นว่า หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื้อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า”อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้ แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้” หลิวปังจึงสั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือ เพื่อสืบหาความผิดพลาดและความ ล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็น อุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน

หลิวปังตั้งตนเป็นจักรพรรดิในปีที่202ก่อนคริสต์ศักราช และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น”ฮั่นหวาง”ในปีที่206ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากจักรพรรดิหลิวปังเสด็จสวรรคตและจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า “ฮั่นเกาจู่”

หลิวปังยกทัพไปปราบปรามกลุ่มกบฏของอิงปู้ ถูกเกาทัณฑ์ยิงจน ประชวรหนักและสวรรคต ในปี195ก่อนคริสต์ศักราช