ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟมิลี่มาร์ท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขที่ 7598040 สร้างโดย 119.76.4.11 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
3 พฤษภาคม 2543[[ไฟล์:Family Mart.jpg|thumb|200px|right|ร้านแฟมิลี่มาร์ท ในเมือง[[โอซาก้า]] ประเทศญี่ปุ่น]]
[[ไฟล์:Family Mart.jpg|thumb|200px|right|ร้านแฟมิลี่มาร์ท ในเมือง[[โอซาก้า]] ประเทศญี่ปุ่น]]
'''แฟมิลี่มาร์ท''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]] : FamilyMart; [[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] : ファミリーマート ) เป็นกิจการค้าปลีกลักษณะ[[ร์านสะดวกซื้อ]] (Convenience Store) ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าทั้งในด้านเวลา สถานที่ และสินค้าที่มีให้เลือกอย่างครบครัน โดยในปัจจุบันในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 1,040 สาขา
'''แฟมิลี่มาร์ท''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]] : FamilyMart; [[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] : ファミリーマート ) เป็นกิจการค้าปลีกลักษณะ[[ร์านสะดวกซื้อ]] (Convenience Store) ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าทั้งในด้านเวลา สถานที่ และสินค้าที่มีให้เลือกอย่างครบครัน โดยในปัจจุบันในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 1,040 สาขา



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:11, 4 พฤษภาคม 2561

ร้านแฟมิลี่มาร์ท ในเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

แฟมิลี่มาร์ท (อังกฤษ : FamilyMart; ญี่ปุ่น : ファミリーマート ) เป็นกิจการค้าปลีกลักษณะร์านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าทั้งในด้านเวลา สถานที่ และสินค้าที่มีให้เลือกอย่างครบครัน โดยในปัจจุบันในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 1,040 สาขา

แฟมิลี่มาร์ทเป็นกิจการร้านค้า ที่มีกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นในเครือเซซันกรุ๊ป ซึ่งเป็น เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง] โดยมีบริษัทในเครือคือ

  1. ห้างสรรพสินค้าเซบุ เป็นผู้นำแห่งห้างสรรพสินค้าอันดับ 1 ของญี่ปุ่น
  2. ร้านซูปเปอร์สโตร์เซยู ซึ่งเป็นผู้นำในวงการซูปเปอร์สโตร์ และซูปเปอร์มาร์เก็ต
  3. ร้านแฟมิลี่มาร์ท หนึ่งในผู้นำแห่งวงการค้า “คอนวีเนียนสโตร์” ซึ่งมีเครือข่ายในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม รวมกว่า 15,000 สาขา
  • ในปี พ.ศ. 2516 เซยูซูปเปอร์มาร์เก็ตมีแนวคิด ที่จะลดขนาดพื้นที่ขายลงให้เหลือประมาณ 100 ตร.ม. ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “แฟมิลี่มาร์ท”
  • ในปี พ.ศ. 2518 เซยู เปิดร้านรูปแบบใหม่ ซึ่งถือเป็นรูปแบบของร้านแฟมิลี่มาร์ทในปัจจุบัน
  • ในปี พ.ศ. 2521 เริ่มแผนดำเนินธุรกิจ ในรูปของการขายแฟรนไชส์ (Franchise) และได้เปิดร้านแรกในรูปแบบของแฟรนไชส์
  • ในปี พ.ศ. 2524 เซยูได้เปลี่ยนการดำเนินการร้านทั้งหมด 86 สาขาให้อยู่ภายใต้การดูแลของ FamilyMart Co.,Ltd. และได้ขยายสาขามากขึ้นตามลำดับ
  • ในปี พ.ศ. 2531 ได้ร่วมทุนกับประเทศไต้หวัน ภายใต้ชื่อ “Taiwan FamilyMart Co.,Ltd.”
  • ในปี พ.ศ. 2533 ได้ขายสิทธิ์ในการทำธุรกิจแฟมิลี่มาร์ทให้กับ Bakwang Co.,Ltd.ในเกาหลีใต้ 2534 ขยายสาขาได้ถึง 2,000 สาขาและได้ฉลองครบรอบ 10 ปี
  • ในปี พ.ศ. 2535 ได้ร่วมลงทุนในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “Siam FamilyMart Co.,Ltd.”
  • ในปี พ.ศ. 2547 เปิดสาขาแรกในประเทศจีน “Shanghai FamilyMart Co.,Ltd.”
  • ในปี พ.ศ. 2548 เปิดสาขาแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อ “Famima Corporation”
  • ในปี พ.ศ. 2552 เปิดสาขาแรกในประเทศเวียดนาม
  • ในปี พ.ศ. 2555 เปิดสาขาในประเทศอินโดนีเซีย
  • ในปี พ.ศ. 2556 เปิดสาขาในประเทศฟิลิปปินส์

แฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย

ร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่ร่วมลงทุนระหว่างคนไทย และญี่ปุ่นโดยมีธุรกิจที่ร่วมลงทุนดังนี้

  1. บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด
  2. บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเซซัน กรุ๊ป ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
  3. บริษัท อิโตชู เป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศรายใหญ่อันดับ 1 ประเทศญี่ปุ่น บริษัทอิโตชูก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2401 ในฐานะบริษัทผู้นำเข้า ส่งออก และค้าส่งสินค้าประเภทสิ่งทอ ซึ่งปัจจุบันบริษัท อิโตชู จำกัดได้ก้าวขึ้นเป็นบริษัทการค้าสัญชาติญี่ปุ่นชั้นนำ และมีบทบาทโดดเด่นในธุรกิจการค้าโลก โดยมีสำนักงานมากกว่า 150 แห่งใน 80 ประเทศ ดำเนินธุรกิจหลัก ทั้งหมด 7 ประเภท คือ กลุ่มธุรกิจการบิน อิเล็กทรอนิกส์ และมัลติมีเดีย กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ผลิตผลป่าไม้ และสินค้าทั่วไป กลุ่มธุรกิจพลังงาน เหล็ก และแร่ธาตุ กลุ่มธุรกิจการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และประกันภัย กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจอาหาร กลุ่มธุรกิจรถยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ธุรกิจผลิตสิ่งทอ
  4. บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ทั้ง 4 พันธมิตรได้เซ็นสัญญา ซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีกจากบริษัท แฟมิลี่มาร์ทโดยใช้ชื่อว่า “บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 800,000,000 บาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2535

โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปเรชัน จำกัด บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ได้ลงนามในสัญญาเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในจำนวน 50.29% จึงทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทฯ และยังทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้บริหารร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย ซึ่งจากการลงนามในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลได้จัดวิธีการบริหารใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนชื่อ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เป็น บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด จัดรูปแบบร้านค้าต้นแบบเพื่อกำหนดรูปแบบของสาขาแฟมิลี่มาร์ทหลังจากนี้ และเริ่มนำสินค้าประเภทอาหารสดจากร้านค้าที่บริหารโดยเซ็นทรัลเรสเทอรองค์กรุ๊ปเข้ามาขาย เช่นข้าวกล่องจากร้าน เดอะเทอเรซ โดนัทจากมิสเตอร์โดนัท เป็นต้น

เหตุการณ์

  • ในปี พ.ศ. 2535 ก่อตั้งบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด
  • ในปี พ.ศ. 2536 เปิดสาขาแรก สาขาพระโขนง สาขาที่สองสาขาสีลม
  • ในปี พ.ศ. 2538 เริ่มใช้ระบบสั่งซื้อออนไลน์เป็นครั้งแรก เปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก สาขาเสนานิเวศน์
  • ในปี พ.ศ. 2540 เปิดศูนย์กระจายสินค้าแช่เย็น
  • ในปี พ.ศ. 2542 เปิดสาขาลำดับที่ 100 สาขาลาดพร้าว 35
  • ในปี พ.ศ. 2544 เปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในจังหวัดชลบุรี สาขาพัทยาวงค์อมาตย์
  • ในปี พ.ศ. 2545 เปิดสาขาคีออสสาขาแรก สาขารามคำแหง 63 และฉลองครบรอบ 10 ปี
  • ในปี พ.ศ. 2547 รวมลงทุนเปิดบริษัท สยามดีซีเอ็ม จำกัด ดำเนินการด้านโลจิสติกส์ และกระจายสินค้า และเปิดสาขาลำดับที่ 500 สาขาวัดทองธรรมนิการาม
  • ในปี พ.ศ. 2549 กันยายน เปิดสาขาที่สุวรรณภูมิ 5 สาขา
  • ในปี พ.ศ. 2551 มกราคม เปิดสาขาลำดับที่ 500 (สาขานาใน ซอย 2)
  • ในปี พ.ศ. 2553 ตุลาคม เปิดสาขาลำดับที่ 600 (สาขาสะพานสูงคลอง 6 )
  • ในปี พ.ศ. 2555 กุมภาพันธ์ เปิดศูนย์กระจายสินค้าแช่เย็น(Chilled)แห่งใหม่ที่อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ
  • ในปี พ.ศ. 2555 เมษายน เปิดสาขาลำดับที่ 700 (สาขา บ่อยาง 2)
  • ในปี พ.ศ. 2555 มิถุนายน เปิดสาขาแรก ในปั๊มน้ำมันเอสโซ่
  • ในปี พ.ศ. 2555 ในวันที่ 27 กันยายน 2555 บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ได้ลงนามในสัญญาเข้าซื้อหุ้นบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด จำนวน 50.29% ส่งผลให้กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด และดำเนินธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ ภายใต้ชื่อ แฟมิลี่มาร์ท ต่อไป ซึ่งนายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เตรียมขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น โดยเตรียมงบลงทุนเปิดสาขาใหม่ไว้แล้ว จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะเปิดร้านสาขาให้ครบ 1,500 สาขา ภายใน 5 ปี และ 3,000 สาขา ภายใน 10 ปี
  • ในปี พ.ศ. 2556 มกราคม เปิดศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ที่อำเภอ ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี
  • ในปี พ.ศ. 2556 เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชัน เปลี่ยนชื่อบริษัทที่ดูแลแฟมิลี่มาร์ทจากเดิม เป็น เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท และจัดรายการส่งเสริมการขายร่วมกันกับเซ็นทรัลฟู้ดรีเทล
  • ในปี พ.ศ. 2556 กุมภาพันธ์ เปิดสาขาลำดับที่ 800 (สาขา หน้าพระลาน)
  • ในปี พ.ศ. 2557 เข้าร่วมเป็นหนึ่งในร้านค้าพันธมิตรของเครือข่ายบัตร "เดอะ วัน การ์ด" ทำให้สมาชิกเดอะ วัน การ์ด สามารถสะสมและแลกคะแนนที่ร้านแฟมิลี่มาร์ทได้ทุกสาขา
  • ในปี พ.ศ. 2560 พฤษภาคม ปรับโฉมสาขาฮอลิเดย์ อินน์ สีลม ที่ตกแต่งด้วยบรรยากาศใหม่ เพิ่มเรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม ร้านกาแฟเซกาเฟรโด ซาเนตติในสาขา บาร์เครื่องดื่มเบียร์สดแบบเติมไม่อั้น ตู้แช่ไวน์ อาหารกล่องจากภัตตาคารสีฟ้า บริการเดลิเวอรี่ ส่งพัสดุ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายคนทำงานและนักท่องเที่ยว[1]
  • ในปี พ.ศ. 2560 กันยายน เปิดสาขาสุขุมวิท 33 สาขานี้นอกจากเพิ่มอาหารพร้อมทาน มุมกาแฟ เบเกอรี่ ยังเพิ่มพื้นที่ Open Space ให้พักผ่อน ทำงาน พบปะสังสรรค์ รองรับคนทำงาน คนรุ่นใหม่ในย่านนั้น[1]
  • ในปี พ.ศ. 2560 พฤศจิกายน เปิดสาขาเซ็นทรัล ชิดลม (ซึ่งในอดีตเคยได้มีการเปิดทำการและปิดไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง) ใช้คอนเซ็ปต์ Food Destination มาเป็นจุดขาย เพิ่มอาหารถึง 90% โดยมี “แซนด์วิช” เป็นจุดขาย และทำเป็นเรื่องเป็นราว ด้วยการร่วมมือกับ ไทยยามาซากิ และเบทาโกร ทำเมนูแซนด์วิชหลากหลายชนิดให้เลือก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนทำงานในย่านนั้น โดยสาขานี้เป็นสาขาต้นแบบที่ใช้ในการเปิดภายในศูนย์การค้าเซ๊นทรัลสาขาอื่น ๆ ทั่วประเทศ เช่น เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เซ็นทรัลพลาซา มหาชัย เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 และดิ ออฟฟิศเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นต้น[1]
  • ในปี พ.ศ. 2560 ธันวาคม เปิดสาขาป่าตองบีช ใช้คอนเซ็ปต์ Convenience Store On The Beach” สินค้าอาหารเครื่องดื่ม อาหารใต้ สินค้า สุขภาพและความงาม ของที่ระลึก ชุดว่ายน้ำ ยังเพิ่มจุดแฮงเอาต์ พร้อมอุปกรณ์ชายหาดจัดเตรียมไว้เป็นจุดถ่ายรูปให้ลูกค้าชาวไทยและชาวต่างประเทศ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 เหตุการณ์สำคัญของ Family Mart ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 : https://positioningmag.com/1149032

แหล่งข้อมูลอื่น