ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเผด็จ ทตฺตชีโว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}



{{เรียงลำดับ|ผด็จ}}
{{เรียงลำดับ|ผด็จ}}
{{เกิดปี|2483}}
{{เกิดปี|2483}}{{alive}}
[[หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย]]
[[หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร]]
[[หมวดหมู่:อาชญากรชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักโทษของประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:ผู้หนีคดี]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:05, 29 มีนาคม 2560

พระเผด็จ ทตฺตชีโว หรือ พระทตฺตชีโว เป็นพระภิกษุชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และเป็นอดีตผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

ประวัติ

ก่อนอุปสมบท

พระเผด็จ ทตฺตชีโว มีนามเดิมว่า เผด็จ ผ่องสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ณ ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้มีความใฝ่ฝันในการฝึกสมาธิมาตั้งแต่วัยรุ่น ขณะเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม 4 ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เคยเที่ยวเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ลองผิดลองถูกมาแล้วหลายสำนัก

หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว ได้เข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้มีโอกาสได้รู้จักกับนิสิตรุ่นน้องชื่อไชยบูลย์ สุทธิผล (ปัจจุบันคือพระไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ด้วยความศรัทธาในภูมิธรรม ความรู้และการประพฤติปฏิบัติของรุ่นน้องคนนี้ จึงได้ติดตามไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ศึกษาวิชชาธรรมกายกับแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ตามหลักของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และได้เป็นกำลังสำคัญในการบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน

วันที่ 7 ธํนวาคม พ.ศ. 2559 ศาลจังหวัดปทุมธานี อนุมัติให้ตำรวจออกหมายเรียก พระราชภาวนาจารย์[1]ให้เข้าพบพนักงานสอบสวนและในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 พระเผด็จ ทตฺตชีโว เข้ารับทราบข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2560 กรณีไม่มารายงานตัวตามหมายเรียก จากพนักงานอัยการ

อุปสมบท

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีฉายาว่า "ทตฺตชีโว" แปลว่า "ผู้ถวายชีวิตแล้วแด่พระศาสนา" โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพวรเวที เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษา

สมณศักดิ์ในอดีต

พระทัตตชีโว ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ ดังนี้

ตำแหน่ง

รางวัล

ผลงานที่สำคัญ

  • เป็นกำลังสำคัญในการบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย และพัฒนาวัดจนเจริญก้าวหน้า และสามารถขยายศูนย์สาขาออกไปอีกมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • เป็นผู้ให้การอบรมศีลธรรมและการเจริญสมาธิภาวนาแก่พุทธศาสนิกชนที่เดินทางมายังวัดพระธรรมกายเป็นประจำทุกวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ เช่น หน่วยงานราชการ สถานศึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ
  • มีผลงานการเทศน์สอนที่เรียบง่ายเป็นหนังสือ เทป วีดีโอเทปมากมาย เช่น มงคลชีวิต โอวาทปาติโมกข์ พระแท้ เสขิยวัตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เจริญรอยตามบาทกษัตรา นิทานชาดก ก่อนไปวัด การทำบุญทำทานที่สมบูรณ์แบบ คนดีที่โลกต้องการ แด่นักสร้างบารมี หลักการบริหารตามแบบพุทธวิธี แม่แบบคนดี คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ รัฐศาสตร์เชิงพุทธ หลวงพ่อตอบปัญหา วิสัยบัณฑิต การบ้าน 10 ข้อ เพื่อการบรรลุธรรม เข้าไปอยู่ในใจ ความดีสากล 5 ประการ ฯลฯ
  • เป็นผู้นำศาสนาพุทธไปเผยแพร่ให้กว้างไกลในนานาประเทศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. http://deeps.tnews.co.th/contents/215948/
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (101 ง ฉบับพิเศษ): 12. 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (20 ข): 2. 26 กันยายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (9 ข): 17. 8 มีนาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)