วิชชาธรรมกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

วิชชาธรรมกาย เป็นวิธีเจริญกรรมฐานที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ค้นพบในปี พ.ศ. 2459[1] ต่อมาจึงแพร่หลายในประเทศไทยและขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย[2][3] ใช้คำบริกรรมว่า "สัมมาอะระหัง" ขณะเจริญกรรมฐาน จึงเรียกสำนักกรรมฐานสายนี้ว่าสายบริกรรม สัมมา–อรหัง ถือเป็นหนึ่งในห้าสายปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ[4]

วิธีฝึก[แก้]

วิธีฝึกคือให้ผู้ปฏิบัตินึกถึงดวงแก้วกลมใสที่ฐานแรกตรงปากช่องจมูก พร้อมกับบริกรรมว่า "สัมมาอะระหัง" จากนั้นนึกเลื่อนดวงแก้วนั้นผ่านฐานต่าง ๆ จนไปหยุดที่ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ รวมใจให้หยุดลงไปที่ศูนย์กลางนี้ แล้วจะเห็นดวงแก้วที่ละเอียดกว่าซ้อนในดวงแก้วเดิมไปเรื่อย ๆ จากเป็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ มาเห็นเป็นกายมนุษย์ละเอียด จนเป็นกายทิพย์ กายพรหม และกายธรรม (หรือธรรมกาย) ซึ่งละเอียดเป็นลำดับกระทั่งเมื่อถึงกายพระอรหัตละเอียดแล้ว เจริญภาวนาต่อไปก็จะสามารถหลุดพ้นจากกิเลสอย่างถาวรเป็นสมุจเฉทปหานได้[5]

สายธรรมกายเชื่อว่าธรรมกายพระอรหัตเป็นกายที่เที่ยงแท้ เป็นสุข และเป็นอัตตาที่แท้จริง เพราะเป็นพระนิพพานธาตุ เป็นอมตะ สถิตอยู่ในอายตนะนิพพานตลอดไป[6]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "วิชชาธรรมกาย". วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-17. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. McDaniel 2010, p. 661.
  3. Bechert 1994, p. 259.
  4. "เกณฑ์มาตรฐานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น". กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "วิธีเจริญสมถภาวนา ถึงธรรมกาย". วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระธรรมกาย". วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-10. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม