ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vagobot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: dv:ބަޣާވާތް
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
== รัฐประหารในประเทศไทย ==
== รัฐประหารในประเทศไทย ==
{{มุมมองสากล}}
{{มุมมองสากล}}
คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ [[การปฏิวัติสยาม|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]]
คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ [[การปฏิวัติสยาม|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]]

แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état กูเดตา) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ในการควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฎิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์ ทั้งที่เป็นการรัฐประหารด้วยเช่นกัน


ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่าย[[ทหารบก]]ทั้งสิ้น ส่วน[[ทหารเรือ]]ได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณี[[กบฏวังหลวง]] ใน พ.ศ. 2492 และ [[กบฎแมนฮัตตัน]]ใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป
ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่าย[[ทหารบก]]ทั้งสิ้น ส่วน[[ทหารเรือ]]ได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณี[[กบฏวังหลวง]] ใน พ.ศ. 2492 และ [[กบฎแมนฮัตตัน]]ใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:56, 12 มีนาคม 2555

รัฐประหาร หรือ การรัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état กูเดตา) ในวิชาการพัฒนาการเมืองซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จะถือว่าการรัฐประหารไม่ใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง

รัฐประหารหมายถึงการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐ และมิจำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที เยี่ยงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร

ความพยายามในการก่อรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ

นิยาม

คำว่ารัฐประหารมาจากคำภาษาฝรั่งเศส คือ coup d'état ซึ่งหากแยกพิจารณาจากการสนธิคำจะแปลตรงตัว่าว่า การล้มล้างอย่างเฉียบพลัน (coup = blow of) ต่อรัฐ (d'état = on state)

ในพจนานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britannica Concise Encyclopedia) นิยามว่า คือ การยุบเลิกรัฐโดยฉับพลัน (stroke of state) การเข้ามาเถลิงอำนาจโดยเฉียบพลัน มักจะเกิดด้วยความรุนแรง การรกระทำดังกล่าวกระทำการโดยกลุ่มก่อการ (a group of conspirators) การรัฐประหารจะเกิดในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองต่ำ หรือไม่ก็ไร้เสถียรภาพทางการเมือง ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยการรัฐประหารมักไม่ประสบความสำเร็จ[1] ส่วนพจนานุกรรมศัพท์ทางการทหารของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Companion to Military History) อธิบายว่าความพยายามในการเปลี่ยนแปลกคณะปกครอง หรือรัฐบาลด้วยกำลัง โดยมากมักเกิดจากกองทัพ[2] พจานุกรมศัพท์ทางทหารอเมริกันของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of the US Military) นิยามว่า คือการเข้ามาเถลิงอำนาจในรัฐบาลอย่างรวดเร็ว รุนแรง และผิดกฎหมาย[3] พจนานุกรมศัพท์ทางการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) การยุบเลิกรัฐบาลอย่างกระทันหันด้วยกำลังที่ผิดกฎหมาย มักกระทำการโดยกองทัพ หรือส่วนหนึ่งของกองทัพ รัฐประหารมักเกิดขึ้นโดยความไม่เห็นชอบของประชาชน หรือไม่ก็มักเป็นความจากประชาชนบางส่วน ซึ่งมักเป็นชนชั้นกลาง หรือไม่ก็ด้วยความร่วมมือของพรรคการเมือง หรือกลุ่มทางการเมือง[4]

โดยสรุปการรัฐประหารคือการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองรัฐ (head of state) หรือรัฐบาล (government) โดยเฉียบพลันด้วยกำลัง ความรุนแรง และผิดกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (regime)

รัฐประหารในประเทศไทย

คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état กูเดตา) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ในการควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฎิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์ ทั้งที่เป็นการรัฐประหารด้วยเช่นกัน

ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น ส่วนทหารเรือได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณีกบฏวังหลวง ใน พ.ศ. 2492 และ กบฎแมนฮัตตันใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป

  1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
  2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
  3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
  7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
  8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
  10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
  11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
  12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปต่างประเทศ

หมายเหตุ:

  • บางตำราถือการปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรก และไม่แยกเหตุการณ์เมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง
  • การรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ทำรัฐประหารในขณะที่ นายกรัฐมนตรีอยู่ที่ต่างประเทศ และในระหว่างที่ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร กำลังรักษาการนายกรัฐมนตรีเพื่อรอการเลือกตั้งใหม่

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • รศ.รุจิรา เตชางกูร, รศ.สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์, หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2543 หน้า 130
  • สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารในประเทศไทย", รัฐประหาร 19 กันยา รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2550, หน้า 221-228

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น