ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
Mig44 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:


==ทีพีไอ และ ทีพีไอโพลีน==
==ทีพีไอ และ ทีพีไอโพลีน==
{{โครง-ส่วน}}
ประชัยก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นเมื่อวันที่ [[3 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2521]] ก่อสร้าง[[โรงกลั่นน้ำมัน]] มีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่[[จังหวัดระยอง]] ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ
ประชัยก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นเมื่อวันที่ [[3 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2521]] ก่อสร้าง[[โรงกลั่นน้ำมัน]] มีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่[[จังหวัดระยอง]] ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:21, 27 มกราคม 2550

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ไฟล์:Prachai-Leophairatana.jpg
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีตผู้บริหารบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ และบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอโพลีน ปัจจุบันเป็นเลขาธิการพรรคประชาราช

ประชัยจบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนจะได้รับทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรี่ ประเทศนิวซีแลนด์ และจบปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา

หลังจบการศึกษา ประชัยเข้ามารับช่วงธุรกิจค้าอาหารสัตว์ของครอบครัว และบริหารธุรกิจค้าข้าวจนเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 1 ใน 5 ของประเทศ และขยายเข้ามาสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลาสติก และปูนซีเมนต์ [1] [2]

ทีพีไอ และ ทีพีไอโพลีน

ประชัยก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน มีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่จังหวัดระยอง ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ

ในปี พ.ศ. 2532 ประชัยก่อตั้งบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และออกหุ้นกู้ ระดมเงินจากต่างประเทศ เพื่อมาขยายกำลังการผลิตปูนซีเมนต์อย่างต่อเนื่อง จากกำลังการผลิต 78000 ตันในปี 2533 เป็น 9.0 ล้านตันในปี 2540

ในปี พ.ศ. 2535 ทีพีไอได้ขอกู้เงินลงทุนจากสถาบันการเงินกว่า 150 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมาขยายกิจการธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจร แต่หลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และสั่งระงับการดำเนินกิจการสถาบันการเงิน 58 แห่ง ส่งผลให้ทีพีไอขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีกว่า 69,261 ล้านบาท มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นถึง 133,643.82 ล้านบาท หรือประมาณ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ทีพีไอเป็นลูกหนี้รายใหญที่สุดในประเทศไทย และต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

ทีพีไอได้เสนอขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ โดย ธนาคารกรุงเทพที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ได้รวมตัวกับเจ้าหนี้รายอื่นๆ ในนาม คณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาการปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 ศาลล้มละลายกลางประกาศแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ คือ บริษัท แอฟแฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ หรือ อีพี ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินของคณะกรรมการเจ้าหนี้

อีพี ได้มีการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักของทีพีไอ ทั้งกิจการท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า และที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมทีพีไอ ลดกำลังการผลิตน้ำมันจาก 125,000 บาร์เรลต่อวัน ให้เหลือเพียง 65,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ทีพีไอไม่มีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ รวมทั้งยังมีการแปลงหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระของทีพีไอที่มีต่อเจ้าหนี้ให้เป็นหุ้นใหม่แก่เจ้าหนี้ และเจ้าหนี้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทถึง 75%

ประชัยได้ฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางว่า ผู้บริหารแผนฟื้นฟูได้ใช้เงินของบริษัทเป็นค่าตอบแทนถึง 1,779 ล้านบาท โดยที่บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้อีพี พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2546

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ศาลล้มละลายกลางประกาศแต่งตั้งกระทรวงการคลัง เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูชุดใหม่ ประกอบด้วย พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธาน, ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, พละ สุขเวช, ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ

แนวทางการฟื้นฟูของกระทรวงการคลังคือ นำรัฐวิสาหกิจในเครือเข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุน ประกอบด้วย ปตท. เข้ามาถือหุ้น 31.5% และธนาคารออมสิน กบข. และกองทุนวายุภักษ์ 1 ถือหุ้น 10% ในขณะที่ทางฝ่ายนายประชัยได้พยายามซื้อหุ้นคืน โดยได้ความสนับสนุนจากซิติก กรุ๊ป (China International Trust & Investment Corp.) รัฐวิสาหกิจจากประเทศจีนเข้ามาซื้อหุ้น โดยฝ่ายนายประชัยเสนอที่จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทันที 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ศาลฎีกา มีคำตัดสินว่าประชัยไม่มีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนกลุ่มปตท. ส่งผลให้ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ทีพีไอ ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 และมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมมีมติให้ปลดนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ออกจากทุกตำแหน่งในบริษัท [3] ถือเป็นการสิ้นสุดของอำนาจการบริหารในทีพีไอ ที่ประชัยเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น

การสนับสนุนฝ่านต่อต้านรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร

วิทยุชุมชน FM 92.25 MHz

พรรคประชาราช

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น