ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังกัสสะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
* [http://www.dharmazen.org/x1chinese/B34India/IndiaRPT098.htm Sankisa]
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: * [http://larndham.org/index.php?/topic/30502-%E4%BB%B9%C1%D1%CA%A1%D2%C3%CA%D1%A7%E0%C7%AA%B9%D5%C2%CA%B6%D2%B9%C1%D2/page__st__478 ไปนมัสการสังเวชนียสถา
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.oknation.net/blog/5445/2008/04/07/entry-1 น้อยคนนักจะรู้จัก สังกัสสะ]. วีระยุทธ์ สันตยานนท์ เว็บไซต์ oknation. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
* [http://www.oknation.net/blog/5445/2008/04/07/entry-1 น้อยคนนักจะรู้จัก สังกัสสะ]. วีระยุทธ์ สันตยานนท์ เว็บไซต์ oknation. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
* [http://larndham.org/index.php?/topic/30502-%E4%BB%B9%C1%D1%CA%A1%D2%C3%CA%D1%A7%E0%C7%AA%B9%D5%C2%CA%B6%D2%B9%C1%D2/page__st__478 ไปนมัสการสังเวชนียสถาน ตอนเมืองสังกัสสะ]
* [http://album.udn.com/chiyu4521/photo/2073674?o=new#photoanc Welcome to Sankisa]
* [http://album.udn.com/chiyu4521/photo/2073674?o=new#photoanc Welcome to Sankisa]
* [http://www.dharmazen.org/x1chinese/B34India/IndiaRPT098.htm Sankisa]
* [http://www.dharmazen.org/x1chinese/B34India/IndiaRPT098.htm Sankisa]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:16, 16 กันยายน 2554

สังกัสสะ (อังกฤษ: Sankassa) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์เสด็จไปทรงจำพรรษาที่ 7 หลังการตรัสรู้ ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดา[1] ปัจจุบันสังกัสสะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสังกิสสะ บะสันตะปุระ (Sankissa Basantapura) ในจังหวัดฟารุกาหบาท (Farrukhabad) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญไปจาริกเท่าใดนัก เนื่องจากการเดินทางไปยังหมู่บ้านแห่งนี้ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก

ความสำคัญ

เทโวโรหนสถูป เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันมีเทวาลัยของฮินดูตั้งอยู่ด้านบนสถูป

นอกจากเมืองแห่งนี้จะเป็นสถานที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บริเวณที่ใกล้กับสังกัสสะนั้นคือที่ตั้งของเมืองกโนช์ หรือกเนาช์ ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า "กณฺณกุช"[2] และในภาษาสันสกฤตว่า "กานฺยกุพฺช" โดยเมืองกโนช์มีความสำคัญในหลังพุทธกาล คือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของพระเจ้าหรรษวรรธนะ (Haravardhana) ผู้ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และเมืองกโนช์ได้เป็นที่มั่นสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในยุคนั้น โดยเมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งได้มาเยี่ยมเมืองแห่งนี้ ท่านได้บันทึกไว้ว่ามีวัดกว่าร้อยวัด และมีพระอยู่ประจำกว่าหมื่นรูป ทั้งสงฆ์เถรวาทและมหายาน[3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ ๘. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  3. สุนนท์ ปัทมาคม, รศ. . สมุดภาพแดนพุทธภูมิ ฉลองชนมายุ ๘๐ ปี พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

แหล่งข้อมูลอื่น