ปัญจาละ
แคว้นปัญจาละ Panchala Kingdom | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
c. 900 BCE–c. 400 CE | |||||||||||
Panchala and other kingdoms in the Late Vedic period. | |||||||||||
Panchala and other Mahajanapadas in the Post Vedic period. | |||||||||||
เมืองหลวง | อหิฉัตระ (ทางเหนือ), กัมปิลละ (ทางใต้) | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | Vedic Sanskrit | ||||||||||
ศาสนา | Vedic Hinduism Brahmanism | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
Raja | |||||||||||
• c. 850 BCE | Keśin Dālbhya | ||||||||||
• c. 750 BCE | Pravahana Jaivali | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | Iron Age | ||||||||||
• ก่อตั้ง | c. 900 BCE | ||||||||||
• สิ้นสุด | c. 400 CE | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | India |
แคว้นปัญจาละ (อักษรโรมัน: Panchala สันสกฤต: पञ्चाल, Pañcāla) แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแคว้นกุรุ[1] และทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศล เทียบกับปัจจุบันได้แก่ จังหวัดบเรลลี บุเดาน์ และฟารุขาบาด กับบริเวณใกล้เคียง ในเขตที่รวมเรียกว่า โรหิลขัณฑ์ อันเป็นพื้นที่ตอนกลาง และค่อนไปทางเหนือของรัฐอุตตรประเทศในปัจจุบันแคว้นปัญจาละ แยกออกเป็นสองส่วน คือ อุตตรปัญจาละ หรือปัญจาละเหนือกับ ทักขิณปัญจาละ หรือปัญจาละใต้ โดยมีแม่น้ำภาคีรถี เมืองหลวงของปัญจาละเหนือ ชื่อ อหิฉัตระหรือ ฉัตรวดี ของปัญจาละใต้ ชื่อ กัมปิลละ[2] หรือ กัมปิลยะอหิฉัตระ
นักโบราณคดีลงความเห็นว่า ปัจจุบันได้แก่หมู่บ้านรามนคร ในเขตจังหวัดบเรลลี ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตร หรือ 20 ไมล์ และกัมปิลละ หรือกัมปิลยะ ได้แก่หมู่บ้าน กัมปิล ในเขตจังหวัดฟารุขาบาดห่างจากฟาเตคาร์ห ของฟารุขาบาดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 45 กิโลเมตรหรือ 28 ไมล์แคว้นปัญจาละในสมัยพุทธกาล ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากนัก แต่ในสมัยที่พระถังซัมจั๋งมาสืบศาสนาในอินเดีย ในระยะเวลาที่ได้กล่าวถึงแล้ว ปรากฏว่า อหิฉัตระเป็นที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนา มีเมืองสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์และพระพุทธศาสนาอยู่สองเมือง ซึ่งยังไม่พบหลักฐานแน่นอนว่าในสมัยพุทธกาลอยู่ในแคว้นใด แต่เมื่อดูตามที่ตั้งของเมืองและแคว้นต่าง ๆ เช่นที่ปรากฏในปัจจุบันแล้ว ก็เห็นว่าน่าจะอยู่ในแคว้นปัญจาละ เมืองทั้งสองดังกล่าวคือ สังกัสสะ กับเมืองกโนช หรือกเนาซ์ สังกัสสะ มีความสำคัญในฐานะเป็นที่เสด็จลงจากดาวดึงส์ ของพระพุทธองค์หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปทรงจำพรรษาที่ 7 ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรด พระพุทธมารดาแล้ว เมืองกโนช หรือกเนาซ์ อันมีชื่อในภาษาบาลีว่า กัณณกุชชะ[ต้องการอ้างอิง]
และในภาษาสันสกฤตว่า กานยกุพชะ นั้น มีความสำคัญในสมัยหลังพุทธกาล และในพุทธศตวรรษที่ 12 ได้เป็นเมืองหลวงของพระเจ้าหรรษวรรธนะ ผู้ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งในประวัติความเป็นมาของพระศาสนา และได้เป็นที่มั่นอัน สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในยุคนั้นสังกัสสะ ปัจจุบัน ได้แก่หมู่บ้านสังกิสสะ หรือสังกิสสา ในเขตจังหวัด ฟารุขาบาด ของรัฐอุตตรประเทศ ตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำกาลี อันเป็นแดงแบ่งเขตจังหวัดฟารุขาบาดกับจังหวัดเมนบุรี และจังหวัดเอตาห์ห่างจากฟาเตคาร์ห ในเขตจังหวัดฟารุขาบาดไปทางตะวันตก 37 กิโลเมตร หรือ 23 ไมล์ และห่างจากสถานีรถไฟปักขนา ในเส้นทางฟารุขาบาด ชิโกฮาบาด ประมาณ 11 กิโลเมตร หรือ 7 ไมล์กโนช หรือ กเนาซ์ อยู่ในเขตจังหวัดฟารุขาบาดเช่นกัน อยู่ใต้ฟาเตคาร์ลงไปประมาณ 56 กิโลเมตร หรือ 35 ไมล์ เมื่อหลวงจีนฮวนฉางมาเยี่ยมกโนช ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าหรรษวรรธนะ ท่านได้บันทึกไว้ว่า ที่กโนชมีวัดอยู่กว่าร้อยวัด มีภิกษุอยู่ประจำกว่าหมื่นรูป และมีทั้งฝ่ายเถรวาทหรือหินยาน และฝ่ายมหายาน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Witzel, Michael (1995), "Early Sanskritization: Origin and Development of the Kuru state", EJVS |volume=1 |issue=4 |date=1995
- ↑ D. C. Sircar 1985, p. 1.
- ↑ มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ vichadham.com