ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:ป้ายโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.jpg|thumb|220px|left|บริเวณหน้าโรงเรียน]] เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2533 ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา บนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีความสนใจและความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องลึกซึ้ง และกว้างขวางตามศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด อันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติ อีกทั้งเพื่อศึกษาวิจัยหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไทย เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม บนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ประเพณี ความศรัทธา ค่านิยมที่ดีงามของไทย ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตกลงให้ความร่วมมือกับกรมสามัญศึกษาในการสนับสนุนทางด้านวิชาการ รวมถึงให้ใช้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด สนามกีฬา เป็นต้น
[[ไฟล์:ป้ายโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.jpg|thumb|200px|left|ป้ายทางเข้าโรงเรียน]]
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า “มหิดลวิทยานุสรณ์” ตามคำกราบบังคมทูลของกรมสามัญศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้พระราชลัญจกร “มหิดล” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้จัดตั้งขึ้นมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช]] โดยในช่วงนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความขาดแคลนบุคลากรทางด้าน[[วิทยาศาสตร์]]และ[[เทคโนโลยี]] จึงมีความคิดที่จะผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญในทางสาขาวิชานี้ เพื่อป้อนให้กับประเทศ ทั้งนี้บุคลากรเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับพื้นฐานที่ดีก่อนที่จะมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรกในปีการศึกษา 2534 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2534 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง รองเจ้าคณะจังหวัดภาคที่ 14 วัดไร่ขิง อนุญาตให้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมของวัดไร่ขิง ต.วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนกระทั่งในปี พ.ศ.2538 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จึงได้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลจวบจนปัจจุบัน

[[ไฟล์:ศูนย์วิทยบริการ.jpg|thumb|right|240px|ศูนย์วิทยบริการ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์]]เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2543 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ขึ้น เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษามีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินการบริหารจัดการให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โรงเรียนมีอิสระในการดำเนินงาน รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและสื่อที่มีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างจากโรงเรียนมัธยมศึกษาปกติโดยทั่วไป ภารกิจสำคัญของโรงเรียนคือ การวิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ในการค้นหาและการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีศักยภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษา ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบขยายผลในวงกว้างได้ ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักเรียนเหล่านั้นให้มีความสามารถระดับมาตรฐานโลก มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์คิดค้น มีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม รักการเรียนรู้ มีความเป็นไทย มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศชาติ และมีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมโลกและธรรมชาติ เป็นตัวป้อนที่มีคุณภาพสูงเยี่ยมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นนักวิชาการ นักวิจัย และนักประดิษฐ์คิดค้นระดับมาตรฐานโลกของประเทศชาติในอนาคต
ในการนี้ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อันเป็นวิชาพื้นฐานสำคัญดีอยู่แล้ว จึงได้ร่วมมือกับ[[กรมสามัญศึกษา]] กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษา และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ รูปแบบดังกล่าวนี้ หากขยายนำไปใช้ได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะผลิตกำลังคนได้สอดคล้อง กับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาในวันที่ [[28 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2533]] [[ณัฐ ภมรประวัติ|ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ [[โกวิท วรพิพัฒน์|ดร.โกวิท วรพิพัฒน์]] อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้พื้นที่ 35 ไร่ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ให้กรมสามัญศึกษาใช้เป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียน โดยทางมหาวิทยาลัยจะให้ความร่วมมือสนับสนุนทางด้านวิชาการ รูปแบบการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นไปในรูปแบบใดเพื่อให้เหมาะสมในการพัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้ และพฤติกรรมของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคต

โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ [[3 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2534]] โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก[[พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ)|พระธรรมมหาธีรานุวัตร]] เจ้าอาวาส[[วัดไร่ขิง]]ให้ใช้บริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรมของทางวัดเป็นสถานที่เรียนชั่วคราวไปจนกว่าอาคารเรียนของทางโรงเรียนในบริเวณของมหาวิทยาลัยจะเสร็จเรียบร้อยในช่วงนั้นทางวัดไร่ขิงได้ให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนมาตลอด เริ่มตั้งแต่ให้ใช้บริเวณวัดทำการเรียนการสอน บริการเรื่องสาธารณูปโภค โดยไม่คิดมูลค่าให้ใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์ของทางวัดทำการเรียนการสอน อนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ของวัดมาสอนวิชาพระพุทธศาสนา ทั้งยังมอบเงินทุนส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุกๆ ปีและยังได้รับความอุปการะจากนายแพทย์บุญ วนาสิน ในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนเรื่อยมาได้จ้างครูต่างชาติมาสอนวิชาภาษาอังกฤษปีละ 2 คนทุกปี จัดสร้างหอพักนักเรียนชาย-หญิง ณ บริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ศาลายา และมอบเงินทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุก ๆ ปี และในคราวที่อยู่ ณ วัดไร่ขิงนั้น ทางมหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้อำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เรื่อยมา

[[ไฟล์:ศูนย์วิทยบริการ.jpg|thumb|right|200px|ศูนย์วิทยบริการ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์]]
เมื่อวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2536]] ได้มีการลงนามร่วมกันอีกครั้งหนึ่งโดย [[บรรจง พงศ์ศาสตร์|นายบรรจง พงศ์ศาสตร์]] อธิบดีกรมสามัญศึกษาและ [[ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี|ศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงมาให้ใช้พื้นที่ 25 ไร่ จำนวนระยะเวลา 30 ปี และตกลงให้ความร่วมมือสนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสมปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง [[อำเภอสามพราน]] จังหวัดนครปฐม มายังที่ตั้งของโรงเรียน ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนถึงปัจจุบัน

ปี [[พ.ศ. 2542]] รัฐบาลมีนโยบายจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มอบหมายให้[[สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]] (สสวท.) พัฒนาโครงการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีลักษะพิเศษต่างจากโรงเรียนทั่วไป และได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์

ปีการศึกษา 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยอาศัยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนนำร่องเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศอีกจำนวน 8 แห่งอีกต่อไป


== สิทธิประโยชน์ที่นักเรียนได้รับและเงื่อนไข ==
== สิทธิประโยชน์ที่นักเรียนได้รับและเงื่อนไข ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:11, 28 ตุลาคม 2552

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
Mahidol Wittayanusorn School
ไฟล์:Mahidon.gif
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นม. วิทย์ / มวส. / MWIT
ประเภทโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของรัฐ องค์การมหาชนภายใต้กำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คำขวัญปญญาย ปริสุชฌติ
(คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา)
สถาปนา3 มิถุนายน พ.ศ. 2534
รหัส1573072001
ผู้อำนวยการผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์
ระดับปีที่จัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6
สี  สีน้ำเงิน -   สีเหลือง
เพลงมาร์ชมหิดลวิทยานุสรณ์
ต้นไม้ศรีตรัง
เว็บไซต์www.mwit.ac.th

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย (ณ ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2552) มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2534[1]

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บนพื้นที่ 25 ไร่ของมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ภายในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ยังมีศูนย์วิทยบริการที่ทันสมัยมาก ศูนย์กีฬามาตรฐาน 4 ชั้น และห้องฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 3 มิติ ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวในประเทศไทยที่มีห้องฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 3 มิติ[2]

ประวัติ

ไฟล์:ป้ายโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.jpg
บริเวณหน้าโรงเรียน

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2533 ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา บนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีความสนใจและความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องลึกซึ้ง และกว้างขวางตามศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด อันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติ อีกทั้งเพื่อศึกษาวิจัยหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กไทย เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม บนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ประเพณี ความศรัทธา ค่านิยมที่ดีงามของไทย ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตกลงให้ความร่วมมือกับกรมสามัญศึกษาในการสนับสนุนทางด้านวิชาการ รวมถึงให้ใช้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด สนามกีฬา เป็นต้น

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า “มหิดลวิทยานุสรณ์” ตามคำกราบบังคมทูลของกรมสามัญศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้พระราชลัญจกร “มหิดล” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรกในปีการศึกษา 2534 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2534 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง รองเจ้าคณะจังหวัดภาคที่ 14 วัดไร่ขิง อนุญาตให้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมของวัดไร่ขิง ต.วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนกระทั่งในปี พ.ศ.2538 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จึงได้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลจวบจนปัจจุบัน

ไฟล์:ศูนย์วิทยบริการ.jpg
ศูนย์วิทยบริการ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2543 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ขึ้น เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษามีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินการบริหารจัดการให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โรงเรียนมีอิสระในการดำเนินงาน รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและสื่อที่มีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างจากโรงเรียนมัธยมศึกษาปกติโดยทั่วไป ภารกิจสำคัญของโรงเรียนคือ การวิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ในการค้นหาและการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีศักยภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษา ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบขยายผลในวงกว้างได้ ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักเรียนเหล่านั้นให้มีความสามารถระดับมาตรฐานโลก มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์คิดค้น มีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม รักการเรียนรู้ มีความเป็นไทย มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศชาติ และมีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมโลกและธรรมชาติ เป็นตัวป้อนที่มีคุณภาพสูงเยี่ยมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นนักวิชาการ นักวิจัย และนักประดิษฐ์คิดค้นระดับมาตรฐานโลกของประเทศชาติในอนาคต

สิทธิประโยชน์ที่นักเรียนได้รับและเงื่อนไข

เกียรติประวัติของโรงเรียน

อุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน

  • มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักคิดค้น และนักพัฒนาที่มีคุณธรรมและจริยธรรม และรักการเรียนรู้
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จักใช้ความสามารถของตนเองเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมโดยไม่เห็นแก่ตัว
  • มีจิตสำนึกในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย มีความรักชาติบ้านเมือง และต้องการที่จะรับใช้ตอบแทนชาติบ้านเมืองตามความสามารถของตน
  • มีสุขภาพพลานามัยที่ดี รู้จักดูแลตนเองให้เข้มแข็งสมบูรณ์ ทั้งกายวาจา และใจ


ความหมายของชื่อโรงเรียน

  • มหิดลวิทยานุสรณ์ อ่านว่า มะ-หิ-ดน-วิด-ทะ-ยา-นุ-สอน
  • มหิดลวิทยานุสรณ์ หมายถึง โรงเรียนที่กอปรด้วยวิทยาการความรู้ทั้งมวลดำรงอยู่ด้วยความรำลึกถึงพระมหา กรุณาธิคุณอันล้นพ้นแห่งสมเด็จพระมหิดลธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • สัญลักษณ์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มีลักษณะเป็นวงกลม มีอักษรตอนบนว่า "ปญญาย ปริสุชฌติ คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา" ตรงกลางวงกลมประกอบด้วยอักษร "ม" อยู่ภายใต้จักรตรี และพระมหาพิชัยมงกุฏและด้านล่างภายใต้วงกลมมีข้อความว่า "โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์" ตัวอักษร ม หมายถึง พระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย โดยทางโณงเรียนได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
  • หลวงพ่อวัดไร่ขิง ประดิษฐานที่หอพระ พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
  • มาร์ชมหิดลวิทยานุสรณ์ คือเพลงประจำโรงเรียน
  • สีน้ำเงิน-เหลือง คือสีประจำโรงเรียน โดยสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์ และสีเหลืองคือนักวิทยาศาสตร์
  • ต้นศรีตรัง คือต้นไม้ประจำโรงเรียน

มาร์ชมหิดลวิทยานุสรณ์

พวกเรามหิดลวิทยานุสรณ์ บุคลากรผู้มีความสามารถ
นำเทคโนโลยีมาพัฒนาชนในชาติ เป็นนักวิทยาศาสตร์เพียบพร้อมคุณธรรม
ใต้ร่มธงน้ำเงินเหลืองเฟื่องศักดิ์ศรี ความสามัคคีน้ำใจไมตรีดีงาม
ดอกศรีตรังนั้นบานสะพรั่งทั่วเขตคาม งามสมนามมหิดลวิทยานุสรณ์

เหตุการณ์สำคัญ

  • วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติธรรมของวัดไร่ขิง
  • วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังแรก บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม
  • พ.ศ. 2538 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในสถานที่แห่งใหม่บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนกระทั่งปัจจุบัน
  • วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ประกาศพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ
  • วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  • วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารหอพัก และทรงเปิดอาคารเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 3
  • วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศูนย์วิทยบริการ ห้องฉายภาพยนตร์เสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ และอาคารศูนย์กีฬา
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานทรงเปิดงานการจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติในประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Thailand International Science Fair) ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับฟังการบรรยาย และเสด็จทอดพระเนตรการเสนอโครงงานในรูปแบบโปสเตอร์ของนักเรียน พระองค์ได้ทรงซักถามนักเรียนทุกโครงงานด้วยความสนพระทัย ยังความปลื้มปีติให้แก่นักเรียน ครู ผู้จัดงาน และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาททั้งชาวไทยและต่างประเทศโดยถ้วนหน้า เป็นกำลังใจให้นักเรียน ครู และผู้จัดงาน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะรังสรรค์ผลงานของโรงเรียนให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
  • วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอประชุมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ห้องประชุม ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ห้องประชุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ณัฐ ภมรประวัติ ห้องประชุมดร. โกวิท วรพิพัฒน์ และทรงร่วมกิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง"การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์"

ระดับชั้นที่เปิดสอน

ปัจจุบันโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4, ม.5 และ ม.6)สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์

ภาพ

คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ไฟล์:Yuwadee.jpg
ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน
ไฟล์:Dr.Thongchai.jpg
ดร.ธงชัย ชิวปรีชา อดีตผู้อำนวยการ

อ้างอิง

  1. http://www.mwit.ac.th/content_school/history.html ประวัติโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  2. http://www.mwit.ac.th/~astronomy/ MWIT astronomy

แหล่งข้อมูลอื่น