พระเผด็จ ทตฺตชีโว
พระเผด็จ ทตฺตชีโว (เผด็จ ผ่องสวัสดิ์ ) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2483 (84 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นตรี วท.บ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี |
อุปสมบท | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 |
พรรษา | 53 พรรษา |
ตำแหน่ง | รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย |
พระเผด็จ ทตฺตชีโว หรือ หลวงพ่อทตฺตชีโว เป็นพระภิกษุชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และเป็นอดีตผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ฉายา ทตฺตชีโว แปลว่า ผู้ถวายชีวิตแล้วแด่พระศาสนา
ประวัติ
[แก้]ก่อนอุปสมบท
[แก้]พระเผด็จ ทตฺตชีโว มีนามเดิมว่า เผด็จ ผ่องสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ณ ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้มีความใฝ่ฝันในการฝึกสมาธิมาตั้งแต่วัยรุ่น ขณะเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม 4 ที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เคยเที่ยวเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ลองผิดลองถูกมาแล้วหลายสำนัก
หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว ได้เข้าไปศึกษาในคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้มีโอกาสได้รู้จักกับนิสิตรุ่นน้องชื่อไชยบูลย์ สุทธิผล (ปัจจุบันคือพระไชยบูลย์ ธมฺมชโย) ด้วยความศรัทธาในภูมิธรรม ความรู้และการประพฤติปฏิบัติของรุ่นน้องคนนี้ จึงได้ติดตามไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ศึกษาวิชชาธรรมกายกับแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ตามหลักของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และได้เป็นกำลังสำคัญในการบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
อุปสมบท
[แก้]เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีฉายาว่า "ทตฺตชีโว" แปลว่า "ผู้ถวายชีวิตแล้วแด่พระศาสนา" โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพวรเวที เป็นพระอุปัชฌาย์
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ศาลจังหวัดปทุมธานี อนุมัติให้ตำรวจออกหมายเรียกพระราชภาวนาจารย์ให้เข้าพบพนักงานสอบสวน[1] และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 พระเผด็จ ทตฺตชีโว เข้ารับทราบข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2560 กรณีไม่มารายงานตัวตามหมายเรียก จากพนักงานอัยการ
พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว) มีปกติวิสัยแห่งความเป็นครูผู้เปี่ยมล้นคุณธรรม ทั้งมีจิตกอปรด้วยความเป็นกัลยาณมิตร อุทิศตัวทุ่มเทให้งานอบรมเทศน์สอนและงานเขียนหนังสือธรรมะที่เป็นผลงานอันทรงคุณค่ามากมายประมาณกว่า 136 เล่ม ทั้งนี้ได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกหลายเล่ม รวมทั้งที่จัดทำเป็นเทปและวีดีโอเทปอีกมากมาย ตัวอย่างชื่อผลงานหนังสือที่เป็นที่รู้จัก และใช้เป็นคู่มือการดำเนินชีวิต เช่น มงคลชีวิต 38 ประการ, พระแท้, หลวงพ่อตอบปัญหา, เสขิยวัตร (ต้นบัญญัติมารยาทไทย), ก่อนไปวัด, คนดีที่โลกต้องการ, แด่นักสร้างบารมี, แม่แบบคนดี, รัฐศาสตร์เชิงพุทธ, เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ, ครอบครัวอบอุ่น, บทฝึกลูกรัก, ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู และ อัตชีวประวัติของพระเผด็จ ทตฺตชีโว ในหนังสือเล่าเรื่องยาย เป็นต้น
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2496-2501 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- พ.ศ. 2501-2503 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7-8 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2503-2510 กสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พ.ศ. 2507-2509 Diploma of Dairy Technology Hawksbury College ประเทศออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2518 นักธรรมชั้นตรี
สมณศักดิ์ในอดีต
[แก้]พระทัตตชีโว ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ ดังนี้
- ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาวิริยคุณ[2]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชภาวนาจารย์ ไพศาลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โปรดเกล้าฯ ให้ถอดถอนจากสมณศักดิ์[4]
ตำแหน่ง
[แก้]- รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
- รองประธานมูลนิธิธรรมกาย
- President of Dhammakaya International Society of North America and Europe
- รองหัวหน้าพระธรรมทูต สาย 8
รางวัล
[แก้]- ได้รับพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา (เสมาธรรมจักร) สาขาการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2536
ผลงานที่สำคัญ
[แก้]- เป็นกำลังสำคัญในการบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย และพัฒนาวัดจนเจริญก้าวหน้า และสามารถขยายศูนย์สาขาออกไปอีกมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- เป็นผู้ให้การอบรมศีลธรรมและการเจริญสมาธิภาวนาแก่พุทธศาสนิกชนที่เดินทางมายังวัดพระธรรมกายเป็นประจำทุกวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ เช่น หน่วยงานราชการ สถานศึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ
- มีผลงานการเทศน์สอนที่เรียบง่ายเป็นหนังสือ เทป วีดีโอเทปมากมาย เช่น มงคลชีวิต โอวาทปาติโมกข์ พระแท้ เสขิยวัตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เจริญรอยตามบาทกษัตรา นิทานชาดก ก่อนไปวัด การทำบุญทำทานที่สมบูรณ์แบบ คนดีที่โลกต้องการ แด่นักสร้างบารมี หลักการบริหารตามแบบพุทธวิธี แม่แบบคนดี คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ รัฐศาสตร์เชิงพุทธ หลวงพ่อตอบปัญหา วิสัยบัณฑิต การบ้าน 10 ข้อ เพื่อการบรรลุธรรม เข้าไปอยู่ในใจ ความดีสากล 5 ประการ ฯลฯ
- เป็นผู้นำศาสนาพุทธไปเผยแพร่ให้กว้างไกลในนานาประเทศ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ศาลจังหวัดปทุมธานี อนุมัติให้ตำรวจออกหมายเรียกพระราชภาวนาจารย์ให้เข้าพบพนักงานสอบสวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-10. สืบค้นเมื่อ 2016-12-07.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (101 ง ฉบับพิเศษ): 12. 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (20 ข): 2. 26 กันยายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (9 ข): 17. 8 มีนาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- อาชญากรชาวไทย
- ผู้หนีคดี
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี
- บุคคลจากอำเภอคลองหลวง
- ภิกษุจากจังหวัดกาญจนบุรี
- ภิกษุจากจังหวัดปทุมธานี
- ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย